พัฒนาด้วย 9 ทักษะสุขภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กวัยเรียน
advertisement
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เสริมสร้างเครือข่ายศักยภาพครูและบุคลากรสาธารณสุข เพื่อพัฒนาด้วย 9 ทักษะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตเด็กวัยเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
วันนี้ (19 มกราคม 2560) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรสาธารณสุขในการพัฒนาทักษะด้านสุขภาพเด็กวัยเรียนโรงเรียนตำรวจชายแดน ภายใต้โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ปีงบประมาณ 2560 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี ว่าจากพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสทรงเปิดการประชุมวิชาการการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6[ads]
advertisement
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 ความว่า “…สุขภาพของเด็กและเยาวชน เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆควรได้รับการดูแลทั้งด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนและมีความคิดเห็นอันเหมาะควร ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ควรจะต้องช่วยกันประคับประคองดูแล เช่น ในด้านสุขอนามัยการรักษาพยาบาล โภชนาการ เป็นที่ปรึกษาแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จะช่วยทางด้านจิตใจที่สำคัญจะต้องดูแลให้ทั่วถึงไปจนถึงเด็กและเยาวชนอีกจำนวนมากในพื้นที่ทุรกันดาร เด็กและเยาวชนเหล่านี้หากได้รับการดูแลให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ในภายภาคหน้าจะสามารถเป็นกำลังช่วยเหลือครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี…”
กรมอนามัยในฐานะหน่วยร่วมสนองงาน จึงตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริการความรู้ ทักษะสุขภาพ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องตามบริบทพื้นที่และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อาทิ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตามบริบทชายแดน ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM) เสริม IQ-EQ ทักษะการตรวจคัดกรองสุขภาพ ตรวจคอพอก ตรวจวัดสายตา สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ขยะ ส้วมน้ำบริโภค ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เป็นต้น
advertisement
นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พบว่า นักเรียนประถมเตี้ยร้อยละ 9 ฟันผุร้อยละ 53 มีเหา ร้อยละ 20 ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า น้ำดื่มไม่เพียงพอร้อยละ 16 ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพน้ำ ร้อยละ 34 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 83 รวมถึงส้วมยังขาดแคลนไม่ถูกสุขลักษณะไม่เพียงพอ ชำรุดร้อยละ 21 มีกลิ่นเหม็นร้อยละ 48 ไม่สะอาดร้อยละ 35 ส้วมไม่แยกชาย-หญิงร้อยละ 6 ไม่มีที่ปัสสาวะชาย ร้อยละ 9 และมีสภาพส้วมไม่ถูกสุขลักษณะสำหรับการใช้งานที่จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้
ดังนั้น กรมอนามัยจึงส่งเสริมให้ครูพยาบาลตำรวจตระเวนชายแดนและบุคลากรสาธารณสุขในระดับพื้นที่ที่ดูแลโรงเรียนได้นำแนวทาง และวิธีปฏิบัติทักษะสุขภาพไปใช้ในการปฏิบัติงานดูแลและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อม โดยครอบคลุมด้วย 9 ทักษะสุขภาพอาทิ คัดกรองภาวะซีด ตรวจหาไอโอดีน น้ำสะอาดโรงครัวสุขลักษณะ กิจกรรมทางกายกับทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิธีวิถีเพศศึกษาเด็ก ตชด. พัฒนา IQ-EQ เด็ก ตชด.พัฒนาการเด็กสมวัย @DSPM ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และส้วม ขยะ สิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีบริบทแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีความเป็น[ads]
“ทั้งนี้ การประชุมเสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรสาธารณสุขในการพัฒนาทักษะด้านสุขภาพเด็กวัยเรียนโรงเรียนตำรวจชายแดนในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยครูพยาบาลตำรวจตระเวนชายแดน ผู้แทนต้นสังกัดโรงเรียนจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1-4 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11-44 บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมาย 40 จังหวัด อำเภอ และตำบลที่ดูแลโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันเป็นการเสริมสร้าง ฟื้นฟูและเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสภาพปัญหา และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป พร้อมเปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกัน อันจะนำไปสู่การดำเนินงานโครงการที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีภาวะโภชนาการดีและสุขภาพแข็งแรงต่อไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข