ภูมิแพ้ขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลอย่างไร ?

advertisement
เมื่อต้องเผชิญกับโรคภูมิแพ้ มักมีอาการจามบ่อยๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ คันตา โดยเฉพาะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ร่างกายปรับไม่ทันแน่ๆ หากว่าขณะคุณตั้งครรภ์เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นมา คงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะโรคที่เกิดขึ้นจะส่งผลไม่เหมือนเมื่อครั้งก่อนตั้งครรภ์ วันนี้ Kaijeaw.com มีวิธีรับมือโรคภูมิแพ้สำหรับแม่ตั้งครรภ์มาฝากค่ะ
advertisement

อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์
โดยทั่วไปอาการของโรคภูมิแพ้ไม่ได้มีผลต่อทารกมากนัก แต่ผลข้างเคียงของยาภูมิแพ้ที่ใช้อยู่นั้นอาจมีผลกับทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลี่ยง และเนื่องจากลูกน้อยรับออกซิเจนผ่านทางสายสะดือ หากคุณแม่มีอาการภูมิแพ้ที่รุนแรง ออกซิเจนในเลือดจะลดต่ำลง ทำให้ลูกได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย อาจส่งผลให้ลูกมีการเจริญเติบโตช้า พัฒนาการของครรภ์ไม่สมบูรณ์
[ads]
advertisement

สาเหตุของโรคภูมิแพ้
1. ปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ หากว่าคนในครอบครัวมีคนเป็นโรคภูมิแพ้ เราก็มีสิทธิ์เป็นโรคภูมิแพ้ได้ อันเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของเรานั้นเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้
2. สิ่งแวดล้อมและสภาวะที่เป็นพิษ ซึ่งสารเคมีต่างๆ หากถูกผิวที่บอบบางของเราแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และในบางครั้งสภาวะแวดล้อมที่มีแต่สิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย อย่างอยู่ใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งการจราจรหนาแน่น ทุ่งดอกไม้ หรือว่าที่ที่มีเกสรดอกไม้หรือฝุ่นละอองมากๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการแพ้ของเรากำเริบขึ้นมาได้
3. สารก่อภูมิแพ้ สารที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกริยาอิมมูนทำให้ร่างกายเกิดภูมิไวต่อสารเหล่านั้นหรือที่เรียกว่าอาการภูมิแพ้ หลักๆ ได้แก่ฝุ่นละออง ไรฝุ่น มลภาวะ ขนสัตว์ กลุ่มควันพิษ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือจากสัตว์พาหะนำเชื้อโรคต่างๆ ฯลฯ
advertisement

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคภูมิแพ้
– กำจัดสารก่อภูมิแพ้ในที่อยู่อาศัย ด้วยการทำความสะอาดบ้าน ให้สะอาดปราศจากฝุ่นละออง ขยะ สิ่งสกปรกหมักหมม โดยเฉพาะห้องนอน ต้องทำความสะอาด ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ทุก 1-2 สัปดาห์
– จัดบ้านให้มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องถึง ก็ช่วยลดความเสี่ยงอาการภูมิแพ้ของคุณแม่
– หากมีสัตว์เลี้ยงต้องจัดแยกสัดส่วนที่อยู่อาศัยให้อยู่นอกบ้าน
– งดใช้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีส่วนผสมจากสารเคมี เพื่อระวังไม่ให้ส่งผลที่อันตรายต่อลูกในครรภ์ และให้เกิดการระคายเคืองระบบหายใจ และผิวคุณแม่ด้วย
– บริเวณสนามหญ้า อาจต้องตัดหญ้าและวัชพืชบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเกสร หรือละอองหญ้า
– ทำความสะอาดเครื่งปรับอากาศ แผ่นกรองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ล้างทั้งเครื่องทุก 6 เดือน เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
– กำจัดพาหะนำเชื้อโรค ไม่ว่าหนู แมลงสาบ แมลงวัน หากพบเจอต้องหาวิธีกำจัดและป้องกันทันที
– ตัวคุณแม่ควรกินให้หลากหลาย ครบหลัก 5 หมู่ ไม่กินอาหารชนิดใดมากกว่าปกติ หรือบำรุงสิ่งใดมากเกินไป จะได้ไม่เพิ่มความเสี่ยงเรื่องภูมิแพ้ของลูกน้อย เช่น แพ้โปรตีนนมวัว นมถั่วเหลือง แพ้ไข่ เป็นต้น
การดูแลตนเมื่อเป็นภูมิแพ้
– การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นวิธีที่ดี ง่ายและสะดวก ช่วยลดการสัมผัสสารกระตุ้นต่างๆ ลดอาการระคายเคือง ทำให้จมูกและการหายใจโล่งขึ้น และลดการใช้ยาภูมิแพ้ ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ค่ะ
– หากใช้ยา ยาแก้แพ้กลุ่ม anti-histamine บางชนิดสามารถใช้ได้ในขณะตั้งครรภ์ เช่น Chlorpheniramine, Claritine, Zyrtec แต่ต้องขึ้นกับอายุครรภ์สำหรับยาแต่ละตัว ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
[yengo]
advertisement

ข้อควรระวัง
– สำหรับแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง ยาลดอาการบวม ลดอาการแน่นจมูก ชนิดรับประทานที่มี Pseudoephredine เป็นส่วนประกอบ เพราะถ้าใช้ช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ อย่างผนังหน้าท้องโหว่ได้
– หากใช้ยาพ่นจมูก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเป็นชนิดที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เช่น Budesonide nasal spray จะมีความปลอดภัย
– วัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy) ทำได้ก่อนตั้งครรภ์ ควรเลี่ยงขณะตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้รุนแรง ส่งผลถึงลูกในครรภ์ได้
เพราะสุขภาพของคุณแม่มีผลต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์เช่นกัน คุณจึงต้องใส่ใจเพิ่มขึ้นอย่างพิเศษ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ และหากเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น ต้องระมัดระวังในการใช้ยา หากว่าจำเป็น ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ และหากอาการเรื้อรังควรพบแพทย์ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com