รอบรู้เรื่อง “น้ำตาล”
advertisement
“น้ำตาล” เป็นเครื่องปรุงรสที่ให้รสหวานใส่ในขนม ของหวานและอาหารต่างๆ จัดเป็นอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของผลึกสีขาว หรือสีน้ำตาลแดง นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าเป็นส่วนผสมในพืชผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้ น้ำนม ฯลฯ จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำตาลนั้นเป็นแหล่งของพลังงานซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าหากกินในปริมาณที่เกินความต้องการก็จะเป็นสาเหตุให้เป็นโรคอ้วนได้ เป็นที่น่ากังวลใจว่าในปัจจุบันมีการสำรวจพบว่าคนไทยติดรสหวาน และการจะแก้ไขให้ลดนั้นก็เป็นการยาก ดังนั้นสำหรับใครที่ชอบกินรสหวาน ห้ามพลาดค่ะ วันนี้ Kaijeaw.com มีสาระน่ารู้เรื่อง"น้ำตาล" มาบอกกันค่ะ
น้ำตาลทุกชนิดมีสารประกอบเคมีจำพวกคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ถ้าเอากรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถันชนิดเข็มข้น ใส่ลงในน้ำตาลทรายสีขาว กรดจะดูดน้ำออกไปจากน้ำตาลทรายเหลือแต่ถ่านสีดำ สารบางชนิดไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตแต่มีรสหวานจัด เช่น แซ็กคาริน และแอสพาร์แทม มีรสหวานราว 300 และ 200 เท่า ของน้ำตาลทรายตามลำดับ ใช้แทนน้ำตาลได้เฉพาะในเรื่องของความหวาน เรียกสารพวกนี้ว่า น้ำตาลเทียม ทุกวันนี้แอสปาเทม เป็นที่นิยมมากกว่า แซ็กคาริน เพราะยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อคน มีของดื่มหลายอย่างที่ใส่แอสปาเทม เช่น น้ำอัดลมบางชนิด น้ำผลไม้ผง ลูกกวาด
advertisement
น้ำตาลทรายในน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายแดงให้รสชาติหวาน และใน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีเท่ากัน หรือเทียบง่ายๆ 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 19 กิโลแคลอรี ข้อแตกต่างในเรื่องคุณค่าทางอาหาร
– น้ำตาลทรายขาว ได้มาจากอ้อยแล้วผ่านกรรมวิธีการผลิต ตกผลึกให้เป็นเกล็ดและผ่านการฟอกสี ดังนั้นวิตามินแทบจะไม่หลงเหลืออยู่เลย
– น้ำตาลทรายแดง ยังรักษาคุณค่าทางวิตามินได้ดีกว่าน้ำตาลทรายขาว เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
แต่ดัชนีน้ำตาลของน้ำตาลทรายและน้ำตาลทรายแดงอยู่ที่ 73-75 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ไม่เหมาะสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนักหรือเป็นโรคเบาหวาน เปรียบเทียบพลังงานระหว่างน้ำตาลทราย และน้ำอ้อยในปริมาณที่เท่ากัน น้ำอ้อยมีฟอสฟอรัสและให้พลังงานน้อยกว่าน้ำตาลทรายถึง 5 เท่า เพราะน้ำอ้อยมีส่วนผสมของน้ำอยู่มาก แต่มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าน้ำตาลทราย[ads][fb1]
น้ำตาลปี๊ปหรือน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บได้มาจากการเคี่ยวน้ำของยอดทลายอ่อนของมะพร้าวจนกระทั่งเหนียว ข้นและหวาน ให้ความหอมอร่อย ในน้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี ยังมีคุณค่าและวิตามินบ้าง เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
นมข้นหวาน ผลิตมาจากหางนม นำมาเติมน้ำตาลในปริมาณเข้มข้น และดึงไอระเหยจนข้นเหนียว ในนมข้นหวาน 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี ถ้าเทียบในคุณค่าทางโภชนาการ นมข้นหวานให้พลังงานสูงมาก แต่ยังพอมีโปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี และวิตามินเอ มากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น แต่ก็ไม่มีคุณค่าทางอาหารเหมือน “นม” ปกติทั่วไป ไม่ควรให้เด็กรับประทานมากๆ เพราะจะทำให้อ้วนและมีผลต่อสุขภาพฟันได้
น้ำตาลเทียม สารให้ความหวานที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสารให้ความหวานที่เป็นทางเลือก ของคนที่ควบคุมน้ำหนักหรือเป็นเบาหวาน น้ำตาลเทียมที่ขายทั่วไปคือ แซคคาริน แอสปาเทม ซูคาโลส ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติตั้งแต่ 200-600 เท่า แต่ให้พลังงานต่ำ การใช้น้ำตาลเทียมในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มที่บอกว่า “ให้แคลอรี 0” หรือ “ไม่มี น้ำตาล” แต่ยังคงรสหวานได้เหมือนปกติ
น้ำผึ้ง น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 15 กิโลแคลอรี น้ำผึ้งเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน พลังงาน วิตามินและเกลือแร่ ดัชนีน้ำตาลของน้ำผึ้งอยู่ที่ 55 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ดีต่อสุขภาพมากกว่า น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดง จึงเป็นทางเลือกที่ดีของการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มของคนที่กำลังลดน้ำหนัก แต่ก็ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 6 ช้อนชา มิฉะนั้นอาจเป็นผลร้ายต่อสุขภาพแทน
น้ำเชื่อม นำน้ำตาลมาเคี่ยวผสมกับน้ำจนกระทั่งใส น้ำเชื่อมแต่ละชนิดก็ให้รสหวานเข้มข้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ผสม (หวานมากก็ให้พลังงานมากตาม) ส่วนวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นน้ำเชื่อมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ คุณค่าทางอาหารจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ เช่น องุ่น เมเปิลหรือแอปเปิล มักจะมีการเติมสารอาหารบางชนิดลงไปเพื่อขยายผลทางการค้านั่นเอง
advertisement
เหตุผลที่ควรเลี่ยงน้ำตาลและความหวาน
– เมื่อเรากินน้ำตาลมากเกินไป น้ำตาลจะเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป ร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุล จึงมีการดึงแร่ธาตุจากส่วนต่างๆ ภายในร่างกายมาแก้ไขความไม่สมดุล
– ก่อให้เกิดไขมันสะสม น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน แต่ถ้ามีมากจนเกินไป ตับก็จะส่งไปยังกระแสเลือด และเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โดยจะสะสมไว้ในส่วนของร่างกาย ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น ขาอ่อน หน้าท้อง
– การรับประทานน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะสะสมไว้ที่อวัยวะภายในอื่นๆ เช่น หัวใจ ตับ และไต ดังนั้น อวัยวะเหล่านี้จะค่อยๆ ถูกห่อหุ้มด้วยไขมันและน้ำเมือก ร่างกายจะเริ่มผิดปกติ ความดันเลือดจะสูงขึ้น
– การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป มีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงหาวนอน
– อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นตะคริวเวลามีรอบเดือน เป็นสิว ผื่น แผลพุพอง ตกกระ แผลริดสีดวงทวาร ไมเกรน เบาหวาน วัณโรค โรคหัวใจ มะเร็งตับ เหล่านี้ล้วนสัมพันธ์ กับการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป
– น้ำตาลทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่นั้นเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เพราะเชื้อโรคทุกชนิดใช้น้ำตาลเป็นอาหาร
– น้ำตาลมีผลต่อทุกเพศทุกวัย แม้แต่เด็ก เด็กที่กินน้ำตาลในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้เด็กเป็นโรคกระดูกเปราะ และฟันผุได้ และอาจส่งผลให้เป็นคนโกรธง่าย ไม่มีสมาธิในสิ่งที่ทำอยู่ด้วย[yengo][fb2]
advertisement
ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวัน สำหรับคนในแต่ละวัย
– เด็กอายุ 6-13 ปี ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่เกิน 4 ช้อนช
– หญิงวัยทำงาน 25-60 ปี ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่เกิน 4 ช้อนชา
– ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่เกิน 4 ช้อนชา
– วัยรุ่น 14-25 ปี ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่เกิน 6 ช้อนชา
– ชายวัยทำงาน 25-60 ปี ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่เกิน 6 ช้อนชา
– ผู้ที่ใช้พลังงานมาก ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่เกิน 8 ช้อนชา
เพราะว่าการกินน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกายนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมากมาย ดังนี้แล้ว เราจึงควรใส่ใจกินปริมาณน้ำตาลให้พอดีและเหมาะสมกับตนเอง และต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วนหรือความดันโลหิตสูงด้วยนะคะ ควรต้องระวังให้มากขึ้น ลดการกินหวานให้น้อยลง เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคอ้วนค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com