รู้จัก เครื่องจับเท็จ ตัวช่วยคลี่คลายคดีทางนิติวิทยาศาสตร์
advertisement
ในหลายๆคดีดังๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องการใช้เครื่องจับเท็จ ที่เจ้าหน้าที่นำมาใช้เป็นตัวช่วยแค้นความจริงจากปากคนร้าย เพื่อให้เล่าความจริง ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเจ้า เครื่องจับเท็จนี้กัน
advertisement
เครื่องจับเท็จ คือเครื่องมือที่ช่วยให้ทีมตำรวจผู้สืบสวน ประเมินบุคคลที่เข้าข่ายผู้ต้องสงสัย ให้เข้าใกล้ความจริงได้มากขึ้น โดยใช้หลักการทางจิตวิทยาและฟิสิกส์มาประมวลผลด้วยกราฟหลายเส้น เครื่องจับเท็จจึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Polygraph ได้รับความสนใจ และพัฒนาโดยนักวิจัยชาวอเมริกันมาเป็นเวลานาน และผู้ที่จะใช้เครื่องมือนี้ได้ต้องได้รับการฝึกฝน ผ่านการรับรอง
หลายคนสงสัยว่า เครื่องจับเท็จใช้ได้จริงไหม คำตอบก็คือจริง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะมีหลายคดีทั่วโลกที่ปิดคดีได้ด้วยการใช้เครื่องจับเท็จ อุปกรณ์นี้ถือเป็นตัวช่วยทางนิติวิทยาศาสตร์มาแล้วหลายคดี แม้ว่ากฎหมายแต่ละประเทศจะให้การยอมรับเครื่องจับเท็จแตกต่างกันไป แต่ก็เป็นเครื่องมือที่มีส่วนช่วยให้ทีมสืบสวนได้คัดกรองบุคคลต้องสงสัย และตรวจสอบความจริงที่พูดออกมาได้ด้วยการถามคำถามที่เชื่อมโยงกันหลายๆ ครั้ง ตรวจจับผ่านคลื่นสัญญาณที่วัดได้จากร่างกายผู้ตอบคำถาม
advertisement
ประวัติศาสตร์ของเครื่องจับเท็จนั้นไม่ได้คิดค้นมาเพื่องานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ในอดีตยังเคยใช้กับงานด้านการเมือง ความมั่นคงของประเทศ และการรับสมัครงานเข้าองค์กรสำคัญของรัฐบาล ประสิทธิภาพของเครื่องจับเท็จเคยมีการอ้างอิงว่าแม่นยำถึง 87-90% แต่กฎหมายของหลายประเทศก็ไม่ได้นำมาใช้ในชั้นศาลตัดสินผู้ต้องสงสัย เพียงแค่ใช้ในขั้นตอนสืบสวนคดี เช่น สืบพยาน หรือผู้ต้องสงสัย
เครื่องจับเท็จ ทำงานยังไง ใช้ได้จริงไหม เครื่องจับเท็จ คือเครื่องมือที่ประกอบด้วยอุปกรณ์วัดสัญญาณ สายไฟ เครื่องอ่านผล โดยวัดสัญญาณจากการเต้นของหัวใจ, ชีพจร, การหายใจ และการนำไฟฟ้าของผิวหนัง และในอนาคตก็อาจมีการตรวจจับม่านตา ตามหลักการสบตา Eye Contact ทางจิตวิทยาอีกด้วย
advertisement
หลักการทำงานของเครื่องจับเท็จ ใช้ตรวจสอบผู้ที่กำลังพูดความจริง หรือพูดโกหก ได้จากการแสดงออกทางร่างกาย ที่สามารถตรวจสอบทางกายภาพ ได้แก่ อัตราการหายใจ ชีพจร ความดันโลหิต เหงื่อ
เหตุผลที่กราฟจากเครื่องจับเท็จไม่สามารถใช้ตัดสินในศาลได้ แม้ว่าจะมีความแม่นยำ 87-90% เพราะผู้บริสุทธิ์บางคนเมื่อถูกรัดด้วยเครื่องมือ ก็มีความประหม่า มีอัตราเต้นของหัวใจที่สูง มีเหงื่อออกมากได้เช่นกัน ดังนั้นจึงใช้ได้เพียงระดับการสืบสวนสอบสวน แต่การใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และผลทางนิติวิทยาศาสตร์ด้านอื่นชี้วัด ก็ทำให้ทีมสืบสวนเข้าใกล้ความจริงได้
หลักการทำงานของเครื่องจับเท็จ ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝน จะเลือกคำถามมาใช้กับกับผู้ทดสอบ โดยเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ 3-4 คำถาม เพื่อให้เครื่องจับเท็จบันทึกสัญญาณร่างกายของผู้ทดสอบ โดยสัญญาณทั้งหมดจะบันทึกอยู่ในกระดาษอย่างต่อเนื่อง
advertisement
กราฟจะแปลผลออกมาจากความดันโลหิต ชีพจร และค่าการเหนี่ยวนำไฟฟ้าบนผิวหนังที่สูงต่ำไม่เท่ากันตลอดการสอบสวน ดังนั้นความแม่นยำจึงอยู่ที่ความสามารถของเครื่อง และการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ
ประเทศไทยก็มีการใช้เครื่องจับเท็จกับคดีสำคัญหลายคดี และมีผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกฝน เครื่องจับเท็จจึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนึกถึงเมื่อมีข้อสงสัยที่คาดว่าไม่ตรงกับความจริงจากคำพูดของพยาน อย่างไรก็ดีคำตัดสินของศาลจะต้องดูบริบทแวดล้อมของวัตถุพยานอื่นๆ โดยเฉพาะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่น ผลตรวจ DNA ผลตรวจทางชีวเคมี และอื่นๆ
ขอขอบคุณที่มาจาก : thairath.co.th