ลูกน้อยขับถ่ายยาก..รับมืออย่างไร?
advertisement
เมื่อคลอดลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก หน้าที่ในการดูแลลูกน้อยคือพ่อแม่ นอกจากดูแลให้ลูกได้กินอิ่ม นอนหลับสบาย มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือต้องหมั่นสังเกตความปกติของลูกน้อยในทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพร่างกาย สุขอนามัย รวมถึงอื่นๆ หากพบความผิดปกติใดๆ ก็ต้องเร่งแก้ไข และหนึ่งในนั้นก็ควรหมั่นสังเกตให้ดี ในเรื่องของการขับถ่าย ถ้าลูกท้องผูกมีปัญหาขับถ่ายยาก จะแก้ไขและรับมือได้อย่างไรบ้าง Kaijeaw.com มีคำตอบค่ะ[ads]
advertisement
ข้อสังเกตง่ายๆ เมื่อลูกมีปัญหาขับถ่าย ท้องผูก
มีอุจจาระที่เป็นก้อนแข็ง มีความยากลำบากขณะขับถ่าย มากกว่าเน้นจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระ คือถ้าลูกน้อยถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่ถ่ายเป็นก้อนเล็กๆ แข็งๆ ก็ถือได้ว่าท้องผูก แต่หากถ้าถ่ายนิ่มๆ และจำนวนมากพอสมควร แต่ถ่ายแค่สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็ถือว่าไม่ใช่ท้องผูก ปกติแล้วเด็กทารก จะถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 4-5 ครั้ง ในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรก ไปจนถึงวันละ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 ปี ช่วงนี้ปริมาณอุจจาระจะเพิ่มเป็น 10 เท่า และมีน้ำประมาณร้อยละ 75
สำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกมากๆ มาเป็นเวลานานและปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดผลต่อสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ได้ คือ
ผลต่อพัฒนาการของร่างกาย : เมื่อเด็กท้องผูกมากจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก และขาดสารอาหารได้
ผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ : อาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางอารมณ์ กลายเป็นเด็กหงุดหงิด ก้าวร้าวได้ ในเด็กบางรายที่ท้องผูกมานาน อาจมีอุจจาระเล็ดออกมาภายนอก ทำให้เปื้อนติดกางเกงและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกอายเพื่อนและรู้สึกมีปมด้อย หรือในกรณีของเด็กบางรายที่มีอาการปวดท้อง แต่ไม่สามารถอธิบายอาการที่เป็นได้และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เข้าใจ
advertisement
สาเหตุของอาการท้องผูกในเด็กทารก
เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สำหรับเด็กที่ดื่มนมผง หรือ เริ่มที่จะทานอาหารเสริม
– เด็กที่ถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไป แต่ยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง จึงต่อต้านไม่ยอมถ่าย
– ไม่กินผักและผลไม้ เพราะเด็กจะถ่ายได้ดีถ้าเขาทานอาหารที่มีเส้นใย (Fiber) สูง
– การเปลี่ยนอาหาร หรือ เปลี่ยนนม เปลี่ยนยี่ห้อนมผง
– การดื่มน้ำน้อย เด็กควรได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เช่น ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรดื่มน้ำประมาณวันละ 4 ออนซ์ การผสมนมต้องเติมน้ำให้ถูกอัตราส่วน
– อาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น การเป็นหวัด
– มีการอักเสบหรือเป็นฝีแถวๆ ทวารหนัก
– เด็กบางคนห่วงเล่น จะกลั้นอุจจาระเป็นนิสัย
– ประวัติท้องผูกในครอบครัว ก็มีส่วนทำให้ลูกๆ ท้องผูกได้เช่นกัน
advertisement
วิธีแก้ปัญหาเด็กท้องผูก
1) เด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป ควรได้รับการฝึกในเรื่องการขับถ่ายให้เป็นนิสัย แต่การฝึกควรทำเมื่อลูกพร้อม ให้ลองสังเกตว่าลูกมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหรือไม่ เช่น อุจจาระแข็ง ชอบกลั้นอุจจาระ ชอบหนีไปซ่อนหรือร้องไห้เวลาขับถ่าย
2) เสริมผักและผลไม้ให้กับลูก ด้วยการทำซุปผักและน้ำผลไม้ให้ลูกรับประทาน ซึ่งจะช่วยให้ลูกขับถ่ายง่าย และยังเป็นผลดีให้การฝึกขับถ่ายทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้ลูกได้ชิมรสชาติ และคุ้นเคยกับกลิ่นรสของผักและผลไม้ ไม่ต่อต้านการรับประทานอาหารเหล่านี้เมื่อโตขึ้น
3) ปรับเปลี่ยนอาหารที่ให้ลูกรับประทาน โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อุจจาระแข็ง เช่น ข้าวกล้อง กล้วย ช็อกโกแลต ชีส เมื่อลูกถ่ายได้ดีแล้วและไม่ต่อต้าน จึงค่อยเริ่มฝึกการขับถ่ายให้กับลูกต่อไป
4) ให้ลูกได้กินนมแม่ให้ได้นานที่สุดเท่าทีจะทำได้ เพราะนมแม่ช่วยในการขับถ่าย
5) การดื่มน้ำลูกพรุนที่ผสมกับน้ำ สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนหรือมากกว่า ให้เขาจิบดื่มน้ำเล็กน้อย หรือให้ดื่มน้ำผสมน้ำลูกพรุนประมาณ 4 ออนซ์ คุณอาจใช้น้ำองุ่น แอปเปิ้ล หรือน้ำลูกแพร์แทนได้
6) การนวด เริ่มด้วยการคลึงเบาๆ ที่ท้อง วนตามเข็มนาฬิกาและกดเบาๆ ที่ท้องด้านขวา อย่าลืมสังเกตความรู้สึกเมื่อคุณจับที่ท้องลูก หากท้องลูกของคุณนิ่ม แสดงว่าเขาไม่ได้ท้องผูก ท้องที่แข็งเป็นสัญญาณบอกว่าลูกน้อยกำลังทรมาณกับอาการท้องผูก
advertisement
7) ช่วยลูกออกกำลังกาย คุณแม่ยกข้อเท้าของลูกน้อยและหมุนเช่นเดียวกับการปั่นจักรยาน การออกกำลังกายง่ายๆ และสนุกสนานเช่นนี้ สามารถช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในลำไส้ โดยการทำให้ลำไส้ของเขาคลายตัวลงได้[ads]
ข้อควรระวัง : สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน คุณยังไม่ควรให้ทานอะไรอย่างอื่นนอกจากนมแม่ หากลูกไม่ถ่ายเกินสัปดาห์ให้ไปพบแพทย์
เพราะเรื่องการขับถ่ายนั้นสำคัญต่อสุขภาพของลูก คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอย่างใส่ใจ หากพบว่าลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป มีอาการท้องผูก ลองนำวิธีการที่เราได้แนะนำไปใช้ และหากทำทุกวิธีแล้วยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ควรไปพบแพทย์ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com