วันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย
advertisement
“วันสงกรานต์” นับเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างไทย เทศกาลที่เราคนไทยได้หยุดกันยาวๆ 3 วันเลยทีเดียวเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล สาดน้ำคลายร้อน ปัจจุบันเป็นที่นิยมเล่นน้ำกันอย่างมาก โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่รู้จักและเข้ามาเที่ยวในไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้กันอย่างท่วมท้น นอกจากนั้นยังเป็นช่วงเทศกาลที่ได้กลับบ้านเกิดภูมิลำเนา เพื่อพบปะกันพร้อมหน้าพร้อมตาคนในครอบครัว ร่วมกันทำบุญตักบาตร วันสงกรานต์มีความเป็นมาที่น่าเรียนรู้มากๆ เลยค่ะ วันนี้ Kaijeaw.com จึงมีเรื่องราวของวันสงกรานต์มาบอกกันค่ะ
[ads]
advertisement
ประวัติของวันสงกรานต์
คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สํ-กรานต" มีความหมายว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ และหมายความอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง ตามที่ในสมัยโบราณ คนไทยถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูหนาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 เมษายน แต่เมื่อในยุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากล คือวันที่ 1 มกราคม แต่กระนั้น คนไทยส่วนมากก็คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทิน เกรกอรี่
นอกจากประเทศไทยได้ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว ประเทศมอญ พม่า ลาว ก็นำเอาวันดังกล่าว เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน
วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่
– วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ และเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
– วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา
– วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก
advertisement
กิจกรรมวันสงกรานต์
– ทำบุญตักบาตร เป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญในลักษณะนี้มักจะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาทำบุญก็จะนำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัดโดยจัดเป็นที่รวมสำหรับการทำบุญ ในวันเดียวกันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณีที่สำคัญในวันสงกรานต์อีกด้วย
– การรดน้ำ นับได้ว่าเป็นการอวยพรปีใหม่ให้แก่กันและกัน น้ำที่นำมาใช้รดหัวในการนี้มักเป็นน้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
– การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการจัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติมด้วย
– บังสุกุลอัฐิ สำหรับเถ้ากระดูกของญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มักทำที่เก็บเป็นลักษณะของเจดีย์ จากนั้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล
– การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือ อวยพรผู้ใหญ่ในครอบครัว ผู้ใหญ่ที่เราให้ความเคารพนับถือ อย่าง เช่นครูบา อาจารย์ หัวหน้างาน ด้วยการที่ผู้ที่รดจะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำธรรมดารดลงไปที่มือ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด หากเป็นพระก็อาจนำเอาผ้าสบงไปถวายเพื่อให้ผลัดเปลี่ยนด้วย แต่หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง หรือผ้าขาวม้าไปให้เปลี่ยน มีความหมายกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในวันปีใหม่ไทย
advertisement
– การดำหัว เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสว่า ไม่ว่าเป็น พระ ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกิน หรือเป็นการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยนำไปไหว้ และผู้ใหญ่ก็จะจุ่มเอาน้ำแปะบนศีรษะก็เป็นอันเสร็จพิธี
– ทำบุญด้วยการปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าการล้างบาปที่เราได้ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี มีแต่ความสุข ความสบายในวันขึ้นปีใหม่
– ขนททรายเข้าวัด ในทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาคให้พบแต่ความสุข ความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางพื้นที่มีความเชื่อว่า การนำทรายที่ติดเท้าออกจากวัดเป็นบาป จึงต้องขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เกิดบาป
– การเตรียมบ้านจัดบ้านให้สวย สะอาดต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ และแขกที่จะมาเยี่ยมเยียน
– การเล่นสาดน้ำกันคลายร้อน
[ads]
เทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาที่เราคนไทย ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว เพื่อสังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งเล่นสาดน้ำคลายร้อน ทำบุญ ขอพรจากผู้ใหญ่ นับเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่เราควรสืบสานให้เทศกาลนี้อยู่ให้นานเท่านาน และแม้ว่าจะเป็นเทศกาลที่มีความสุข ก็ขอให้เราคนไทยใช้ชีวิตอยู่บนความประมาท โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการเดินทางไกลเมื่อต้องกลับภูมิลำเนาด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com