10 วิธีกำจัดเชื้อราในบ้านให้หมดเกลี้ยง!!
advertisement
ปัญหาความรกรุงรัง หรือความสกปรกภายในบ้าน เป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจ และสร้างภาระให้แก่แม่บ้านมากเลยทีเดียวนะคะ ที่จะต้องมีหน้าที่รักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้านทุกระเบียบนิ้ว ยิ่งย่างเข้าสู่หน้าฝนเช่นนี้แล้ว ปัญหาหนึ่งที่พ่อบ้านแม่บ้านจะต้องพบเจอ ก็คือเรื่องของเชื้อรา เพราะย่างเข้าหน้าฝนแล้ว ฝนตกก็มาพร้อมความชื้น ความชื้นนำมาซึ่งเชื้อรา ยิ่งตรงไหนที่มีการท่วมขัง เสื้อผ้าหากซักแล้วไม่แห้งสนิทก็จะเกิดเชื้อราได้ง่าย ดังนั้นวันนี้ Kaijeaw.com จึงมี 10 วิธีกำจัดเชื้อราในบ้านให้หมดเกลี้ยง!! มาฝากพ่อบ้านแม่บ้านกัน
advertisement
อันตรายของเชื้อรา
เมื่อเชื่อราในบ้านมีปริมาณมากพอก็จะมีการสร้าง spore และทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดศีรษะ หายใจลำบาก คัดจมูก ผื่นคัน แพ้อากาศ เชื้อราที่อยู่ในบ้านมักจะไม่อันตราย แต่สปอร์ Spore ของมันจะทำให้เกิดผลเสีต่อสุขภาพเช่น
– ปฏิกิริยาของโรคภูมิแพ้ Allergic Reactions เมื่อได้รับสปอร์ได้แก่อาการ ไข้ บางคนมีอาการจาม น้ำมูกไหล หากสัมผัสบ่อยๆ ก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หนักถึงกับเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
– โรคหอบหืด
– ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ Hypersensitivity Pneumonitis
– ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน
– ก่อให้เกิดสารพิษ
– ในผู้ที่แพ้ราเมื่อได้สัมผัสเชื้อราทั้งทางสัมผัส การสูดดมอาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างๆ เช่น แพ้หญ้า Hay fever หอบหืด ผื่นแพ้ ตาอักเสบ เจ็บคอ น้ำมูกไหล [ads]
advertisement
การกำจัดเชื้อราบริเวณต่างๆ ในบ้าน
1. เชื้อราที่พื้น ให้ใช้น้ำสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาขัดห้องน้ำล้าง และขัดให้ด้วยแปรงชนิดแข็งจนเชื้อราออกจนหมดจด จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหลาย ๆ รอบจนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาด
2. วัสดุที่เป็นเนื้ออ่อน เช่น หนังสือ กระดาษมัน พลาสติก กล่อง ให้ใช้สำลีชุบฟอร์มาลีนเช็ด แล้วตามด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเท และมีแสงแดดส่องถึงเล็กน้อย แล้วปล่อยให้แห้ง
3. เชื้อราที่ยาแนวในห้องน้ำ ให้พ่นสเปรย์ส่วนผสมของน้ำส้มสายชูและน้ำลงบนบริเวณที่มีเชื้อราทิ้งไว้ 45 นาที – 1 ชม. จึงใช้แปรงขัดบริเวณที่เป็นเชื้อราโดยรอบ ทำแบบเดียวกันนี้อีกครั้งโดยใช้ผงเบกกิ้งโซดาและน้ำ ขัดซ้ำไปซ้ำมา
ห้องน้ำเป็นห้องที่มักพบการเกิดเชื้อราได้บ่อยครั้ง ดังนั้นควรแน่ใจว่าจัดห้องและทำให้ห้องมีช่องระบายอากาศได้เป็นอย่างดี
4. ผนังบ้าน กำแพง ผสมน้ำและผงซักฟอกลงในถัง จากนั้นจุ่มเศษผ้าลงในน้ำที่มีฟองและเช็ดเชื้อราบนผนังอย่างเบาๆ ใช้ผ้าแห้งเช็ดรอยเปียกออกหนึ่งครั้ง เมื่อเสร็จแล้วให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดบริเวณโดยรอบเพื่อเอาสปอร์ของเชื้อราออกไปให้หมด
5. ข้าวของเครื่องใช้ประเภทเครื่องหนังเกิดเชื้อรา ให้ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดหลายๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าสะอาด จากนั้นเช็ดครั้งสุดท้ายด้วยน้ำสะอาด น้ำส้มสายชูจะช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี
6. เฟอร์นิเจอร์ หรือของใช้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน ให้รีบล้างทำความสะอาดภายใน 1-2 วันที่พบว่าเป็นเชื้อรา หากเกิดมีเชื้อราล่วงเลยนานเป็นเดือนๆ ควรทิ้งเพราะ อาจจะฟักตัวเป็นเชื้อราที่อันตรายมากขึ้นได้
7. ผ้าม่านเกิดเชื้อรา นำไปซักโดยใช้ผงซักฟอกผสมกับน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งมและเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วย
8. เสื้อผ้า หากพบเชื้อรา สามารถฆ่าเชื้อเบื้องต้นได้โดยใช้น้ำร้อน จากนั้นขยี้แล้วซักให้สะอาดหลายๆ ครั้ง และตากในที่ที่มีแสงแดดเท่านั้น เพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกที
9. เชื้อราบนหมวก ให้ใช้แปรงสีฟันเก่าปัดเชื้อราบนหมวกออกก่อน จากนั้นโรยผงแป้งลงบนคราบเชื้อราแล้วทิ้งไว้ 2-3 นาทีจากนั้นใช้แปรงปัดฝุ่นแป้งออก จึงใช้ผ้าชื้นเช็ดหรือตบผงแป้งเบาๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ จากนั้นนำหมวกไปตากแดด
10. รองเท้าหนัง ให้ใช้ผ้าชื้นเช็ดเชื้อราออกจากรองเท้า จากนั้นปล่อยให้แห้ง ทำความสะอาดรองเท้าด้วยสบู่อ่อนๆ หรือครีมทำความสะอาดหนังโดยเฉพาะ
11. วอลเปเปอร์ ใช้กรดซาลิไซลิด ผสมกับแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:5 จากนั้นนำผ้ามาชุบไปเช็ดวอลเปเปอร์ซ้ำๆ ประมาณ 2-3 รอบ แต่ถ้าหากว่ามีเชื้อราอยู่มาก แนะนำให้รื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนวอลเปเปอร์ใหม่ เพราะอาจมีการเพาะเชื้อมากยิ่งขึ้น
advertisement
ข้อแนะนำที่น่ารู้ ในการกำจัดเชื้อราในบ้านให้หมดเกลี้ยง
1. ควรสวมหน้ากาก และถุงมือ รองเท้าบู๊ทยาง ทุกครั้งก่อนลงมือทำความสะอาด
2. ให้เปิดประตู หน้าต่าง หรือม่านให้หมด เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องถึง
3. ปิดแอร์คอนดิชั่นเนอร์ รวมทั้งพัดลม ในระหว่างการทำความสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายและอยู่ในระบบระบายอากาศ โดยอยู่ในที่ๆ อากาศถ่ายเทได้อย่างเหมาะสม
4. กำจัดสิ่งของที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราออกได้หมด วัสดุที่ไม่สามารถทำให้แห้งได้ วัสดุที่กำจัดเชื้อราได้ยากคือวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน อย่างเช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฝ้าผนังยิปซัม แผ่นฝ้าไม้ และกระดาษ ควรทิ้งวัสดุเหล่านี้ไปเสียด้วยการใส่ในถุงพลาสติกและมัดให้แน่นหน่า ทิ้งในขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันสปอร์เชื้อราแพร่กระจายสู่อากาศ
5. สำหรับการทำความสะอาด ให้ล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน จากนั้นล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCl) 0.5% หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ (สังเกตที่ฉลากจะมีโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5-6%) [ads]
6. ไม่ควรผสมน้ำยาซักผ้าขาวกับสารอื่นๆ โดยเด็ดขาด เนื่องจากการผสมกับน้ำยาอื่นที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะเกิดก๊าซที่เป็นอันตราย
7. ย้ายเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ที่มีราขึ้น (และตอนนี้ได้ทำความสะอาดแล้ว) ไปอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือที่แสงแดดส่องถึงสักระยะหนึ่ง คือประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วหมั่นคอยตรวจสอบว่า หลังจากทำความสะอาดแล้วยังมีเชื้อราขึ้นอยู่อีกหรือไม่ หากไม่มีก็แสดงว่าสามารถแน่ใจแล้วว่าเราได้ทำความสะอาดเชื้อราออกไปได้อย่างหมดจดแล้วจริง ๆ แต่หากยังพบร่องรอยของเชื้อรา ขอให้นำมาทำความสะอาดใหม่ เพราะมันจะลามได้ง่ายมากถ้าหากวันหนึ่งอากาศชื้นอีกครั้ง
8. หลังจากทำความสะอาดในบ้านแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง และเปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้สปอร์ราที่อยู่ในอากาศภายในบ้านออกไปให้มากที่สุด
9. สำหรับพื้น เก้าอี้ เครื่องมือ เตาอบ และผนังบ้านสามารถใช้น้ำยาประเภทล้างครัวเรือนทำความสะอาดได้ ส่วนจานชามให้ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ในขณะที่เสื้อผ้าควรซักแล้วลวกด้วยน้ำร้อน
10. หากยังพบเชื้อราอีก ควรตรวจสอบระบบการระบายอากาศทั้งหมด เพราะอาจมีเชื้อราเจริญเติบโตอยู่ในระบบปรับอากาศก็เป็นได้
advertisement
11. ไม่ควรทาสีหรือแลคเกอร์ทับในบริเวณที่เกิดเชื้อรา ให้ล้างออกให้สะอาดหมดจดก่อน จากนั้นค่อยเริ่มทาสีหรือแลคเกอร์
12. ล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ แกะแผ่นกรองออกมาล้างทุกสัปดาห์ และล้างโดยผู้เชี่ยวชาญทุก 6 เดือน เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราในเครื่องปรับอากาศ
13. งดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความชื้นภายในบ้าน หากตัวบ้านเพิ่งมีราขึ้นและได้รับการทำความสะอาดไปใหม่ๆ ไม่ควรต้มน้ำ ซักผ้า ตากผ้า เปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจัด แต่ควรเปิดให้อากาศภายนอกได้ระบายเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแดดจัด แม้ว่าจะทำให้คุณร้อนอบอ้าวไปบ้าง แต่แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อราได้ดีเลยทีเดียว
14. หมั่นเปิดบ้านให้อากาศถ่ายเท และแสงแดดส่องเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างทั่วถึงเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน
15. ควรสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อราอีก 2-3 วัน เพราะถ้าวัสดุยังแห้งไม่พอ เชื้อราอาจกลับมาได้อีก
หากพบว่ามีเชื้อราในบริเวณบ้าน อย่างชะล่าใจนะคะ ให้จัดการล้างทำความสะอาด จัดการให้เชื้อราหมดไปในทันทีเลยนะค่ะ เพราะเขื้อรานั้นฟักตัวได้กว้างขึ้น ก่อโรคและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของผู้อยู่อาศัยโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่คุ้มกันเลย อย่างไรก็ดี การกำจัดเชื้อรานั้นต้องทำไปควบคู่กับการรักษาความสะอาดทุกๆ จุด และสิ่งของทุกๆ อย่างภายในบ้านเป็นพิเศษ และให้มั่นใจว่าแห้งสนิทดี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนนี้นะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com