สารพัดสาเหตุ ..ทำให้ผมร่วง
advertisement
ปัญหาผมร่วงเป็นปัญหาที่สาวๆ หวาดกลัวที่จะเจอจิงๆ เลยนะคะ เพราะเส้นผมเป็นสิ่งหนึ่งช่วยเสริมเติมความสวย ด้วยเรือนผมที่ดกหนา มีน้ำหนักทิ้งตัวยาว นุ่มสลวยน่าสัมผัส แต่สาวๆ หลายคนต้องเจอกับปัญหาผมร่วง บางคนร่วงจนผมบาง หรือเกือบจะล้านเลยด้วยซ้ำ! แต่ที่น่าห่วงคือปัญหาผมร่วงนั้นไม่ใช่แค่ทำให้ความสวยลดน้อยลงเท่านั้น ยังอาจบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง เรามาค้นหาสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ผมร่วงกันค่ะ
advertisement
1. ความเครียด
ช่วงนี้คุณใช้ร่างกายหนักหนาสาหัสหรือเปล่า? นอนน้อย นอนดึก คร่ำเครียดกับเรื่องราวร้อยแปด หรือเพิ่งฟื้นจากอาการป่วยแบบหนักๆ สิ่งเหล่านี้เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ผมร่วงได้มากกว่าปกติ
2. การดึงผมเป็นประจำ
พฤติกรรมเช่นนี้ หลายคนทำเพราะความเครียด บางคนทำเพราะความเคยชิน เป็นสาเหตุให้รากผมขาดหลุดร่วง รวมทั้งรากผมข้างๆ นั้นระคายเคืองไปด้วย ก็ส่งผลเพิ่มการหลุดร่วง ร่วงเป็นหย่อมๆ ผมร่วงชนิดนี้มักเกิดบริเวณด้านหน้าและกลางกระหม่อมหลายๆ คนที่ทำดช่นนี้คงรู้ตัว และหยุดกันได้แล้วนะคะ
3. ฮอร์โมน
อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ช่วงฟื้นไข้ ช่วงหลังคลอด การใช้ยา หรือแม้แต่พันธุกรรม ร่วงได้ทั่วศีรษะ หากเป็นเรื่องของเป็นเรื่องของพันธุกรรมนั้น จะรักษาได้ยาก อาจใช้การชะลอการหลุดร่วงของเส้นผมที่พอช่วยได้บ้าง แต่สาเหตุอื่นๆ ถือว่าเป็นอาการของผมร่วงชั่วคราว สามารถรักษาให้หายได้ หรือ
หายได้เองโดยธรรมชสติ
[ads]
advertisement
4. เชื้อราบนหนังศีรษะ
อาจเกิดคู่กับรังแค และสะเก็ดอาจมีตุ่มน้ำเหลืองหรือน้ำหนองร่วมด้วย ทำให้ผมร่วงเป็นวงๆ มักเป็นบริเวณด้านหลังศีรษะ หรือท้ายทอย เมื่อมีอาการต้องพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา แนวทางอาจมีทั้งยากินและยาทาน แล้วแต่การวินิจฉัยของแพทย์ค่ะ
advertisement
5. การทำผมที่รุนแรงเกินไป
– ทำทรีทเมนต์ผมที่รุนแรงเกินไป
– การใช้สารเคมี เช่น ยาย้อมผม, ยากัดสีผม, ครีมย้อมผม, น้ำยาดัดผม, น้ำยายืดผม ที่ไม่ถูกต้อง มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป อาจไปขัดขวางการเจริญปกติของเส้นผมได้
– การใช้ยางรัดผม หรืออุปกรณ์แต่งผมที่รัดแน่นเกินไปกับผมที่ผ่านสารเคมีมาก่อน ซึ่งในช่วงนั้นรากผมจะมีการอักเสบอยู่ อาจทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายกว่าปกติ
– การถักเปียที่แน่นเกินไปก็จะทำให้ผมร่วงง่ายได้เช่นเดียวกัน และอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่บริเวณรากผม ซึ่งจะทำให้ไม่มีผมใหม่ขึ้นที่บริเวณรากผมนั้น เกิดผมร่วง ผมบางถาวรได้อีกด้วย
advertisement
6. พันธุกรรม
หรืออาการหัวล้านนี้พบได้บ่อยในผู้ชาย แต่ก็พบได้บ้างในผู้หญิง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (ซึ่งพบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง) ไปเป็นฮอร์โมน ดีเอชที (DHT – dihydrotestosterone) ที่ทำให้เกิดผลอันตรายต่อรากผม โดยปกติในผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ในภาวะใดก็ตามที่ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้ฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวนี้เด่นขึ้น และทำให้เกิดภาวะผมบางที่บริเวณส่วนบนหรือด้านข้างของศีรษะคล้ายที่พบในผู้ชายได้
advertisement
7. การตั้งครรภ์ และผมร่วงหลังคลอด
ในช่วงตั้งครรภ์ผมที่ควรจะร่วงปกติกลับยังคงอยู่ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดมีระดับที่สูงขึ้นหลังคลอด ฮอร์โมนมีการลดลงสู่ระดับปกติจึงพบว่ามีผมร่วงมากขึ้น บางครั้งร่วงเป็นกระจุก บางครั้งอาจไม่พบทันทีหลังคลอด แต่กลับพบผมร่วงมากหลังคลอดแล้วนานถึง 3 เดือน ผมที่ร่วงมากขึ้นนี้ส่วนใหญ่จะกลับขึ้นปกติได้ภายใน 3-6 เดือน
8. ภาวะความเจ็บป่วย
ได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจหรือหลังการการผ่าตัด ภาวะความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัดสามารถที่จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพัก การปรับตัวของร่างกายให้ต่อสู้กับความเครียดที่เกิดขึ้น ร่างกายอาจหยุดการทำงานที่ไม่จำเป็นเช่น การสร้างผมก็หยุดไว้ก่อน ผมร่วงที่เกิดจากภาวะนี้จะกลับเจริญขึ้นใหม่ได้เองหลังจากนี้ 6 เดือน นอกจากนี้โรคบางโรคอาจทำให้เกิดผมร่วงได้ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDs), โรคเอสแอลอี (SLE) , โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
9. การขาดอาหาร
ไม่ว่าคุณจะลดน้ำหนัก อดอาหาร หรือในผู้ป่วยโรคจิตบางชนิด เช่น อนอเรกเซีย, บูลีเมีย (anorexia, bulimia) อาจทำให้รากผมเกิดภาวะช็อค และหยุดการเจริญชั่วคราวได้ สารอาหารที่ร่างกายได้รับไม่พอเพียง ทั้งพวกโปรตีน, วิตามิน, เกลือแร่ จะถูกนำไปใช้กับร่างกายในส่วนที่สำคัญก่อน ดังนั้นผมอาจจะหยุดการเจริญชั่วคราว เมื่อได้รับสารอาหารที่เพียงพออีกครั้งผมจะเจริญขึ้นใหม่ได้อีก
advertisement
10. การใช้ยาบางประเภท
ยาบางประเภทมีผลข้างเคียงทำให้เกิดผมร่วงเช่น ยาเคมีบำบัด, ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง, ยารักษาโรคเก๊าฑ์, วิตามิน A ขนาดสูงที่ใช้ในการรักษาสิว ดังนั้นก่อนใช้ยาอะไรเป็นประจำควรปรึกษาลแพทย์หรือเภสัชกรก่อน และหากมีภาวะผมร่วงเกิดขึ้น ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และเปลี่ยนชนิดของยา ส่วนใหญ่ผมที่ร่วงไปจะกลับขึ้นใหม่ได้
advertisement
[yengo]
11. อายุ
เมื่ออายุมากขึ้น การเจริญของผมจะช้าลง การป้องกันผมร่วงจากภาวะนี้ค่อนข้างยาก แต่สิ่งที่จะพอช่วยได้คือ หลีกเลี่ยงสาเหตุอื่น ๆ ที่จะทำให้ผมร่วงมากขึ้นไปอีก เช่น ใช้แชมพูอ่อน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่ผม รับประทานอาหารให้ครบหมู่ ไม่เครียดและออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ก็เป็นการบำรุงรากผมให้เส้นผมแข็งแรงมากขึ้น
12. ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายต่ำ
โดยปกติแล้วต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญอาหาร แต่ถ้าเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายต่ำขึ้นมาละก็ จะต้องเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย แถมยังทำให้ผมร่วงอีกด้วย
>> นวดคลายเครียด ลดปัญหาผมหลุดร่วง
ตัวคุณเองก็สามารถช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาผมร่วง ได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองอย่างหนึ่งคือ การนวดผ่อนคลายความเครียด ทำได้ดังนี้ค่ะ
1. ใช้ปลายนิ้วทั้งห้ากดคลึงวนไปรอบช่วงบนกระหม่อม ไล่วนเป็นวงกลมให้ทั่วศีรษะ เลือกใช้โลชั่น หรือน้ำมันสมุนไพรร่วมในการนวดก็จะยิ่งได้ผลดีมากขึ้น
2. การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอ ทำง่ายๆ เพียงพับคอโดยก้มศีรษะลงแล้วหมุนคอไปรอบ วนจากซ้ายไปขวา และขวาไปซ้าย สลับกันทำรอบละ 3 ครั้ง
หมั่นสังเกตความผิดปกติของหนังศรีษะ และเส้นผม รวมถึงสุขภาพของตัวคุณเองด้วยเพราะมีส่วนสัมพันธ์ หากพบว่าผมหลุดร่วงด้วยสาเหตุใดควรรีบหาวิธีการแก้ไข หรือเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และอย่าลืมหมั่นดูแล บำรุงสุขภาพผมให้แข็งแรงเสมอด้วยนะคะ เพื่อเส้นผมที่แข็งแรง อยู่คู่กับคุณไปนานๆ ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com