อันตราย!!ยาฆ่าแมลงในผัก-ผลไม้ ส่งผลต่อทารก
advertisement
เปิดผลวิจัยพบกลุ่มยาฆ่าแมลง มีผลกระทบต่อหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกโดยตรง ขณะที่แม่น้ำน่านวิกฤต พบสารเคมี4 ชนิดปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน
นางสุพัตรา ปรศพัฒนา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยในงานประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปี 2559ว่า จากการทำผลวิจัยเกี่ยวกับสารตกค้างในพืชผักตามท้องตลาดพบว่า มีสารประเภทคลอร์ไพริฟอส ที่จัดอยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่เป็นสารในยากำจัดศัตรูพืช โดยสารชนิดนี้ จะมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตีนที่อยู่บนสมองซึ่งจำเป็นต่อการสื่อสารทำงานของสมอง โดยสารเคมีดังกล่าวสามารถส่งผลจากแม่สู่ลูกได้
นอกจากนี้ จากการตรวจ ติดตามเกษตรกรที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดและสายสะดือระหว่างคลอด พบว่า สารคลอร์ไพริฟอส ได้มีการส่งไปสู่ลูก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตชองเด็กโดยตรง และเมื่อติดตามเด็กที่คลอดจากแม่ที่มีสารชนิดนี้ ในช่วงอายุ 12 และ 24 เดือน พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการทางสมองในระดับที่ต่ำลงอย่างชัดเจน โดยเด็กจะมีพฤติกรรมด้านความสนใจผิดปกติ วอกแวก หลุกหลิก สมาธิสั้น และการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
“สารชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายที่สุด จากการรัปประทาน ทางระบบทางเดินหายใจ และการสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งการสัมผัสสารเคมีของเกษตกร ส่งผลโดยตรงต่อเด็กในครรภ์” นางสุพัตรากล่าว
[ads]
อย่างไร ผลวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับ ผลการศึกษาเบื้องต้น การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประมาณการผลกระทบต่อสุขภาพการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย นายชยุตม์ พินิจค้า สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการใช้ แบบจำลอง ประมาณการการใช้สารเคมี เพื่อตรวจสอบการแพร่กระจาย และการใช้สารเคมีของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรใช้สารเคมีมากกว่า ค่า Good Manufacturing Practice (GMP). กว่า 2เท่า นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มสารเคมีที่ใช้มากที่สุดคือ ไกลโฟเชต พาราควอต
โดย 5 จังหวัด ที่ใช้ไกลโฟเซตมากที่สุดคือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย กำแพงเพชร น่าน ขณะที่ สารเคมีกลุ่ม พาราควอต ใช้มากที่สุดคือ นครราชสีมา เลย เพชรบุณ์ พิษณุโลก ตาก นาย ชยุตม์ กล่าวว่า ข้อมูลการใช้สารเคมีดังกล่าวสัมพันธ์กับ ผลกระทบต่อสุขภาพ จากการนำเอาข้อมูลผู้ป่วยนอกของ สปสช. พบว่า กลุ่มผู้ป่วยจากการใช้สารเคมี อาทราซีน พาราควอต สูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น และผู้ป่วยที่ใช้สาร พาราควอตพบมากที่จังหวัดนครราชสีมา
นางพวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า จากผลวิจัยพบว่า ปัญหาสารเคมีที่ใช้ปลูกข้าวโพด กระจายเกือบทั่วทั้งจังหวัดน่าน ขณะที่ เกษตรกรได้ใช้สารเคมี ไกลโฟเชต อาทราซีน พาราควอต และคลอร์โพริฟอสและ กระจายในดิน ในผัก และ ปลา ทั่วทั้งจังหวัดน่าน โดยตะกอนดินของต้นแม่น้ำน่าน พบไกลโฟเชต เกินค่ามาตรฐานจำนวนมาก นอกจากนี้เมื่อไปตรวจปลาในตลาดปรากฏว่าพบว่าสาร ทั้ง 4ชนิดปนเปื้อนในปลาเกินค่ามาตรฐานเช่นกัน
advertisement
นางพวงรัตน์ กล่าวว่า เมื่ออาหารของจังหวัดน่าน ทั้งผัก ปลา มีสารปนเปื้อนทั้ง 4 ชนิด จึงได้ตรวจเลือดของข้าราชการ ครู และหมอ พบมีสารดังกล่าวปนเปื้อนในเลือดเช่นกัน ซึ่งกลุ่มดังกล่าวรับสารเหล่านี้ทางอ้อมจากอาหารและปลาที่มาจากแม่น้ำน่านที่มีการแพร่กระจายของสารทั้ง4 ชนิดจำนวนมาก
ด้าน นพ.ปรีชา เปรมปรี สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการทำงานเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานานกว่า 20 ปียังพบว่า เราไม่สามารถลดการใช้สารเคมีได้เลยมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น คนไทยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ขณะที่เกษตรกรเองยังพบว่า กว่า ร้อยละ 98 ใช้สารเคมีโดยไม่มีเครื่องป้องกัน บางคนใช้มือกวนสารเคมีด้วยตัวเอง ขณะฉีดพ่นไม่มีหน้ากาก และไม่รู้จักวิธีดูแลสุขภาพตัวอย่างจากการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น
นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กล่าวถึงการนำเข้าสารเคมี และการตกค้างในผลิต ว่า ในปี 2559 ผลการตรวจสอบพืชผัก ผลไม้จากทั้งในตลาดและ โมเดิร์ทเทรด พบว่า ผักที่พบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ได้แก่ พริกแดง 100% ของตัวอย่าง กะเพราและถั่วฝักยาว 66.7% คะน้า 55.6% ผักกาดขาวปลี 33.3% ผักบุ้งจีน 22.2% มะเขือเทศและแตงกวา 11.1% มะเขือเปราะพบสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่า MRL 66.7% ในขณะที่กะหล่ำปลีไม่พบสารพิษตกค้างเลย 100%
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกห้ามใช้แล้ว ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน รวม 11 ชนิด ตกค้างในผักและผลไม้ที่จำหน่ายในตลาด และมีผู้ประกอบการผักและผลไม้รายใหญ่ที่จัดส่งสินค้าไปยังโมเดิร์นเทรดกระทำความผิดซ้ำซาก ได้แก่ ผักด๊อกเตอร์ตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ติดต่อกัน 3 ปี ในการจำหน่ายผักและผลไม้ไม่ปลอดภัย และยังไม่พบว่ามีการดำเนินการลงโทษกับบริษัทดังกล่าว
advertisement
[ads]
สำหรับการสุ่มตรวจผลไม้รวม 6 ชนิด พบว่าส้มสายน้ำผึ้งและฝรั่งมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานทุกตัวอย่างหรือคิดเป็น 100% ที่มีการสุ่มตรวจ รองลงมาเป็นแก้วมังกร มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 71.4%, 66.7% และ 44.4% ตามลำดับ ในขณะที่แตงโม จากการตรวจสอบพบว่าทุกตัวอย่างที่มีการตรวจไม่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานเลย ผลการตรวจครั้งนี้ของไทยแพนสอดคล้องกับผลการตรวจในครั้งที่แล้ว เช่นเดียวกันกับผลการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี 2557 ที่พบว่าแตงโมเป็นผลไม้ที่ปลอดภัย
“การที่ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์มีความครอบคลุมมากขึ้นทำให้เราตระหนักว่าปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงยิ่งกว่าที่เคยมีการประเมินมาก่อน ซึ่งพบว่ายังมีช่องโหว่การนำเข้าสารเคมีเนื่องจากยังตรวจสอบสารเคมีที่ห้ามนำเข้ามานาน จึงเสนอให้มีการปฏิรูปการดูแลสารเคมีที่เป็นสารปราบศัตรูพืช โดยแยกออกจาก พ.ร.บ.วัตถุอันตราย”นางสาวปรกชล กล่าว
ด้าน นางภาวิณี วัตถุสินธุ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กล่าวว่า ตลอด 40 ปี ของสารไกลโฟเซต หรือยาฆ่าหญ้าเริ่มมีงานวิจัยตั้งแต่ปี 2012-2014 ออกมาหลายแห่งว่า สารดังกล่าวต่อสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้า โดยองค์กรมะเร็งนานาชาติ (TARC) มีหลักฐานชี้ขัดว่าสารดังกล่าวทำให้เกิดโรคมะเร็ง และมีผลต่อระบบสืบพันธ์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อเอ็นไซม์ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของพันธุกรรม และประกาศให้สารดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็ง
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีประเทศที่ห้ามนำเข้าสารเคมีดังกล่าว เอลซัลวาดอร์ และศรีลังกา ขณะที่สหรัฐอเมริกา พบการปนเปื้อนของสาร ไกลโฟเซต ในดิน น้ำ ทำให้อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนการห้ามการใช้
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th โดย saowalak pisitpaiboon , ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์