5 อาหารที่มีคาเฟอีนแฝงอยู่
advertisement
เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อย แต่ก็ใช่ว่าเมื่อมีประโยชน์จะบริโภคในปริมาณมาก เพราะถ้าบริโภคในปริมาณมากๆ ก็ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่านอกจากเครื่องดื่มที่เราดื่ม อย่างเช่นกาแฟที่มีคาเฟอีนแล้ว ยังมีอาหารหรือเครื่องดื่มใดที่มีคาเฟอีนอยู่ในเครื่องดื่มหรืออาหารที่เราบริโภคบ้าง วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปดูว่ามีอะไรบ้างค่ะ
5 อาหารที่มีคาเฟอีนแฝงอยู่
1. เมล็ดทานตะวัน
advertisement
แม้เมล็ดทานตะวันจะไม่มีคาเฟอีนสายตรง แต่มีกรดอะมิโนที่ให้พลังงานอย่างทอรีน (taurine) และไลซีน (lysine) ผสมอยู่ ดังนั้นเมล็ดทานตะวันประมาณ 1 ถ้วยตวงจึงมีสารช่วยกระตุ้นเทียบเท่าปริมาณคาเฟอีนประมาณ 140 กรัมเชียวล่ะ เห็นไหมคะว่าบางทีธัญพืชก็ใช่ว่าจะให้แต่ประโยชน์ดี ๆ ด้านเดียว เพราะหากกินเยอะไปไม่ดูตาม้าตาเรือรับรองงานนี้มีตาตั้งตลอดคืนนอนไม่พอส่งยังผลต่อสุขภาพอีกด้วย
2. ไอศกรีม
advertisement
ในไอศกรีมก็มีช็อกโกแลตโดยเฉพาะไอศกรีมที่มีส่วนผสมของโกโก้(ช็อกโกแลต) และไอศกรีมที่มีส่วนผสมของกาแฟ โดยปริมาณคาเฟอีนในไอศกรีมในถ้วยขนาดบรรจุ 4 ออนซ์หรือประมาณ 113.4 กรัมจะอยู่ราว ๆ 10-45 มิลลิกรัม
3. ชาร้อน
advertisement
ชาเขียวร้อนมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 25 มิลลิกรัมต่อปริมาณบรรจุ 8 ออนซ์หรือเท่ากับ 236.6 มิลลิลิตร และชาดำร้อนมีคาเฟอีน 47 มิลลิกรัมต่อปริมาณชาดำ 8 ออนซ์ ในขณะที่ชาร้อนสำเร็จรูปจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 26 มิลลิกรัมต่อ 8 ออนซ์ ดังนั้นอย่าชะล่าใจไปว่ากินชาจะรับคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ เพราะเผลอ ๆ ชาบางชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่ากาแฟสำเร็จรูปบางยี่ห้ออีกด้วย
4.ช็อกโกแลต
advertisement
ช็อกโกแลต 1 แท่งที่มีน้ำหนักประมาณ 162 กรัม ประกอบไปด้วยคาเฟอีนอยู่ที่ราวๆ 45-59 มิลลิกรัมเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของผงโกโก้ที่เป็นส่วนประกอบในช็อกโกแลตแท่งนั้นๆ ด้วย โดยทางกรมวิชาเกษตรสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้การเปิดเผยว่า โกโก้ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของช็อกโกแลตก็คือ อาหารที่ให้คาเฟอีนแก่ร่างกาย เพราะฉะนั้น ช็อกโกแลตแท่งใดก็ตามที่ผลิตขึ้นจากโกโก้แท้และหากยิ่งมีรสชาติความเข้มข้นสูง ปริมาณของคาเฟอีนก็จะสูงขึ้นตามด้วย เพราะฉะนั้น สาวๆ คนไหนที่พยายามหลีกเลี่ยงการกินคาเฟอีนมาโดยตลอด แต่หากชอบกินช็อกโกแลตเป็นชีวิตจิตใจก็ต้องระวังเหมือนกันนะคะ ทางที่ดีแนะนำให้กินแค่พอดีจะดีกว่า
5. เครื่องดื่มชูกำลัง
advertisement
แน่นอนว่าคาเฟอีนจะต้องปะปนอยู่ในเครื่องดื่มชูกำลังไม่มากก็น้อย เพราะเครื่องดื่มที่ให้พลังงานเหล่านี้
จุดเด่นในเรื่องคืนความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย ซึ่งแต่ละยี่ห้อและชนิดของเครื่องดื่มชูกำลังก็จะให้ปริมาณคาเฟอีนที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งเผลอ ๆ ในฉลากอาจไม่โชว์ส่วนประกอบของคาเฟอีนด้วย โดยเฉพาะหากเครื่องดื่มชนิดนั้นมีคาเฟอีนอยู่น้อยมากและมีปริมาณไม่ถึงเกณฑ์ที่สำนักงานอาหารและยาบังคับให้ต้องแจ้งโชว์ในฉลาก ดังนั้นบางทีเราอาจดื่มเครื่องดื่มและอาหารที่มีคาเฟอีนผสมอยู่แต่ไม่รู้ตัวก็ได้
จะเห็นได้ว่าเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่เราคุ้นเคยและบริโภคกันทั้งนั้น การบริโภคในปริมาณที่พอดีต่อร่างกายก็ย่อมส่งผลดีในประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของร่างกายให้ทำงานหนักขึ้น เป็นต้น เห็นแบบนี้แล้วก็ควรหันมาดูแลเรื่องอาหารที่บริโภคกันบ้างนะคะเพื่อสุขภาพจะได้รับอาหารที่มีประโยชน์กันค่ะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com