อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ..เกิดจากอะไร?
advertisement
เมื่อคนเราเจ็บป่วย มักจะมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วยเสมอ เมื่อหายป่วยแล้ว อาการอ่อนเพลียนั้นก็จะหายไปกลับเป็นปกติเช่นเคย แต่หลายๆ คนมีอาการอ่อนเพลียอยู่บ่อยครั้ง เป็นแล้วหาย หายแล้วเป็นอีก หรือก็เป็นอาการเรื้อรัง ทั้งที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอะไรเลย มีการตรวจอยู่หลายครั้งก็ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ สร้างความกังวลหนักใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวนะคะ สาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกตินั้นเกิดจากอะไร จะทำอย่างไรให้หายจากอาการเหล่านั้น ใครที่มักมีอาการอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ สาเหตุเกิดจากอะไร จะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไรบ้าง ตาม Kaijeaw.com มาดูกันค่ะ
advertisement
สำหรับอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าชนิดเรื้อรัง จนกระทั่งว่าไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ พักผ่อนหรือปรับปรุงวิถีชีวิตแล้วก็ยังไม่หาย จัดเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง วินิจฉัยค่อนข้างยาก ทางการแพทย์จะเรียกอาการแบบนี้ว่า โครนิกฟาทีกซินโดรม (chronic fatigue syndrome-CFS) ซึ่งมักจะอ่อนเพลียมานาน ส่วนใหญ่จะมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ เจ็บคอ มีไข้ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า เป็นต้น
สาเหตุ : ที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด อาจเป็นผลมาจากโรคติดเชื้อเรื้อรัง ภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง ขาดฮอร์โมน หรือเกิดจากภาวะความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น
แนวทางการรักษา : แพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยา โภชนบำบัด และปรับวิถีชีวิตให้สมดุล โดยผู้ป่วยควรจะหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
อาการอ่อนเพลียที่พบอยู่บ่อยๆ นั้น มักจะไม่ใช่เกิดจากโรคหรือความเจ็บป่วย หรือขาดฮอร์โมนที่จำเป็นอะไร
สาเหตุ : ส่วนใหญ่อาจจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกลักษณะ กิจกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ น้อยเกินไป ตรากตรำทำงานหนัก กินอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ความเครียด ภาวะซึมเศร้าต่างๆ เป็นต้น
แนวทางการรักษา : ควรแก้ไขที่สาเหตุ มากกว่าการพึ่งพายาหรือน้ำเกลือเพื่อบำรุงกำลัง
เหนื่อยล้า อ่อนล้า ล้า หรือ อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการ หรือความรู้สึก ไม่ใช่เป็นโรค มักพบเกิดหลังพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน ทำงานหนักต่อเนื่อง และ/หรือมีปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เหนื่อยล้าเป็นอาการพบบ่อยอาการหนึ่ง พบได้ทั้งในเด็ก (มีรายงานพบเกิดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปี) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้บ่อยขึ้นเมื่อยิ่งสูงอายุ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้ใกล้เคียงกัน
advertisement
อาการเหนื่อยล้าและสาเหตุ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1) อาการเหนื่อยล้าปกติจากการใช้ชีวิตประจำวัน (Physiologic fatigue) ได้แก่ อาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นเป็นปกติกับทุกคน จะมีอาการในช่วงระยะเวลาสั้นๆ สาเหตุมักเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน ทำงานหนัก มีปัญหาทางการควบคุมอารมณ์และจิตใจ โดยอาการจะหายไปเองหลังการพักผ่อน หรือผ่านระยะความเครียด/กังวลนั้นไปแล้ว มักมีอาการอยู่ประมาณไม่เกิน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งจัดเป็นอาการเหนื่อยล้าเฉียบพลัน
2) อาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิ (Secondary fatigue) สาเหตุเกิดจากโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง ภาวะซีด ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก หรือจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด (เช่น ยาลดน้ำตาลในเลือด ยาเคมีบำบัดในการรัก ษาโรคมะเร็ง) ซึ่งอาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิจะหายได้ภายหลังการรักษาควบคุมสาเหตุได้แล้ว ทั้งนี้อาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิเป็นได้ทั้ง อาการเหนื่อยล้าเฉียบพลัน และอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง คือ อาการเหนื่อยล้าที่เกิดจากมีสาเหตุผิดปกติของร่างกาย เช่น จากมี
3) อาการเหนื่อยล้าเฉียบพลัน (Acute fatigue) คือ อาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งคือ อาการเหนื่อยล้าตามปกติที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน
advertisement
แก้ปัญหาอาการอ่อนล้าจากสาเหตุ
1. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
การที่ร่างกายขาดน้ำมากเกินไป จะทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและมีความเข้มข้นมากขึ้น เป็นไปได้ที่คุณจะรู้สึกเหนื่อยเพลียเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดกระจายตัวได้ไม่เต็มที่ (ประสิทธิภาพ) หัวใจสูบฉีดเลือดทำงานได้ไม่เต็มร้อยนั่นเอง รวมทั้งความเร็วที่ออกซิเจนและสารอาหารจะเข้าถึงกล้ามเนื้อและอวัยวะส่วนต่างๆ ก็ลดลงไปด้วย
แนวทางการแก้ไขปัญหา : ควรดื่มน้ำให้มากพอ 8-10 แก้วต่อวัน ไม่เพียงแต่ทำให้เลือดเจือจางและไหลเวียนดีขึ้น แต่ผิวพรรณจะแลดูสุขภาพดี ดูสดใส เปล่งปลั่งขึ้นด้วย
2. ร่างกายขาดธาตุเหล็ก
ความรู้สึกขี้เกียจ โมโหง่าย อ่อนแอ ป่วยง่าย และมีอาการไม่มีสมาธิที่จะโฟกัสอะไรได้เป็นเวลานานๆ ร่วมตามไปด้วย เนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ ไม่เพียงพอ
แนวทางการแก้ไขปัญหา : ควรบริโภคธาตุเหล็กอย่างน้อย 1 ใน 4 ของอาหารที่คุณทานต่อวัน ธาตุเหล็กนั้นมักพบอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ (ไม่ติดมัน), ไข่แดง, ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช, ข้าวโอ๊ต, หน่อไม้ฝรั่ง, ถั่วฝักยาว, ผักแว่น, เห็ดฟาง, พริกหวาน, ใบแมงลัก, ใบกะเพราะ, ถั่วขนาดเล็ก, เต้าหู้, ไข่ไก่, ผักที่เต็มไปด้วยใบสีเขียวเข้ม, ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ และเนยถั่ว เป็นต้น
3. ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า
อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะเป็นพลังงานอาหารสมองและเพิ่มกำลังในการทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน การไม่กินอาหารเช้าจึงเป็นสาเหตุให้อ่อนล้าและยังเป็นสาเหตุให้หิวทั้งวันแม้จะกินในมื้อต่อไป ทั้งยังเป็นสาเหตุทำให้หิวจุบจิบ ซึ่งนั่นจะทำให้อ้วนได้ง่ายๆ เลยทีเดียว
แนวทางการแก้ไขปัญหา : มื้อเช้าห้ามอด และควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เน้นทานโปรตีนและแคลเซียม และไม่ลืมทานผักและผลไม้ด้วยนะคะ
4. นอนไม่พอ
เพราะการนอนหลับเป็นช่วงเวลาการพักผ่อนที่ดีที่สุด ทั้งสมองและร่างกาย ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายจากกิจกรรมทั้งวันอันเหน็ดเหนื่อย ให้พร้อมรับมือกับกิจกรรมต่างๆ ในวันต่อมา การนอนไม่พอก็เท่ากับร่างกายไม่ได้พักผ่อน ฟื้นฟูและซ่อมบำรุงตนเองอย่างดีพอ จึงเป็นสาเหตุให้สภาพร่างกายและสมองไม่พร้อมทำงาน รู้สึกล้าตลอดเวลา
แนวทางการแก้ไขปัญหา : แบ่งเวลาจากการทำงานมาชาร์ตพลังงานให้กับร่างกาย โดยจำไว้เสมอว่าต้องนอนในแต่ละคืนอย่างเพียงพอ 6-8 ชม. โดยควรเข้านอนก่อน 22.00 น. และตื่นในช่วงเช้า
5. เพิ่มความสดชื่นแจ่มใสให้กับชีวิต
บรรยากาศเดิมๆ งานเดิมๆ และปัญหาเดิมๆ มักจะสร้างความน่าเบื่อหน่าย อารมณ์เศร้าหมองให้แก่ชีวิต หากต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ก็มักจะทำให้ร่างกายเบื่อ อ่อนล้า ไม่กระปรี้กระเปร่า
แนวทางการแก้ไขปัญหา : หาวันว่างๆ พักผ่อนร่างกาย คลายสมอง ปล่อยใจและกายให้โล่งบ้าง ออกไปเที่ยวกับที่ๆ ชอบ บรรยากาศดีๆ อยู่กับครอบครัว คนที่รัก ให้สนุกมีความสุขสุดเหวี่ยง แล้วค่อยกลับมาทำงานต่อ และหยุดคิดเรื่องปวดหัวอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง หรือถ้างานรัดตัวจริงๆ ก็แบ่งเคลียร์งานวันนั้นให้เสร็จ แล้วกลับมาพักผ่อนต่อที่บ้าน ผ่อนคลายสบายๆ
advertisement
6. เครื่องแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางลดลงให้ผลเหมือนยาระงับประสาท และส่งผลสะท้อนกลับทำให้อะดรีนาลีนในร่างกายสูบฉีดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมหลังจากคุณดื่มไปแล้วคุณถึงรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา
แนวทางการแก้ไขปัญหา : ควรหยุดดื่มแอลกฮอล์ทั้งหมด (ทุกชนิด)
7. การเล่นอุปกรณ์/เทคโนโลยีก่อนนอน
สังเกตได้ว่าการเล่นอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีต่างๆ ก่อนนอน จะทำให้เวลาตื่นเช้าขึ้นมาคุณจะรู้สึกเพลียเหมือนนอนได้ไม่เต็มอิ่ม เพราะไฟที่สว่างจ้าออกมาจากหน้าจอแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ มีผลทำให้นาฬิกาชีวิตและระบบการทำงานในร่างกายทำงานไม่ปกติ ร่างกายไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยให้การนอนหลับเป็นปกติและตื่นอย่างเป็นระบบได้ จึงทำให้คุณรู้สึกง่วงและเพลียหลังจากตื่นขึ้นมา
แนวทางการแก้ไขปัญหา : เพื่อให้ได้นอนเต็มอิ่ม ตื่นเช้าอย่างสดใส กระปรี้กระเปร่า เพียงแค่คุณปิดเทคโนโลยีสื่อสารทั้งหมดก่อนนอนสัก 1-2 ชั่วโมง ก็ช่วยได้เยอะ
advertisement
8. อดอาหาร จนร่างกายขาดสารอาหาร
คนที่จำกัดการกินอาหารหรือพยายามลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร จะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังมีปัญหาเรื่องอารมณ์และรู้สึกหงุดหงิดอีกด้วย [ads]
แนวทางการแก้ไขปัญหา : สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน ร่างกายจะเกิดสมดุล กล้ามเนื้อแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดีขึ้น นอกจากนี้ควรกินปริมาณพอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอาหารพวกไขมันแปรรูป ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 แก้ว เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อ่อนเพลียได้เช่นกัน
9. ไม่กินผัก ผลไม้
การไม่กินผักทำให้ร่างกายขาดสารอาหารด้วยเช่นกัน วิตามินที่ดีต่อร่างกายส่วนใหญ่ได้จากผักผลไม้
แนวทางการแก้ไขปัญหา : ควรกินพืชผักให้หลากสี ซึ่งทำได้ง่ายๆ โดยเทียบสีรุ้ง "ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง" หรือสีไฟจราจร "เขียว เหลือง แดง" แถมสีขาวของแสงแดด (ผักผลไม้ที่มีสีออกไปทางขาว เช่น หอม กระเทียม กล้วย ฯลฯ) และพยายามกินให้ได้ 5 สีขึ้นไปทุกวัน
การกินพืชผักหลากสีทำให้ได้สาร คุณค่าพืชผัก หรือพฤกษเคมี (phytonutrients) ซึ่งช่วยป้องกันโรค ต้านการอักเสบ (ธาตุไฟกำเริบ) ล้างพิษ และช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมน
advertisement
10. ความเครียดทุกกรณี
เป็นตัวทำให้อ่อนเพลียหมดแรง ความเครียดนั้น มาจากสาเหตุมากมาย เช่น เป็นผู้ที่มีความไม่สบายใจ ไม่พอใจ ข้องคับใจ โกรธ หรือ โมโห ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หลายเรื่อง จะก่อให้เกิดความเครียดในคนผู้นั้นอย่างแน่นอน ความเครียด คือตัวดูดพลัง ที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหมดแรงในแต่ละวันได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา : ต้องหาทางปลดปล่อยความเครียดให้หมดไป วิธีการหนึ่งที่ได้ผลมาก คือ ให้หยุดความคิดทั้งปวงสัก 5 – 10 นาที ต่อวัน ให้จิต ปรับทัศนคติและความคิด ไม่จมอยู่กับอดีตที่ผ่านมาหรือกังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึงให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะอดีตหรืออนาคตก็ล้วนแล้วแต่มาจากสิ่งที่ทำให้ปัจจุบันทั้งสิ้น การคิดมากกับเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมบ่อนทอนความสุขในปัจจุบันให้ลดลง
เข้าใจว่าความเหนื่อยล้า อ่อนแอของร่างกาย ไม่เพียงแค่สร้างปัญหาความหงุดหงิดรำคาญกายใจในชีวิตประจำวันได้เท่านั้น ยังอาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย รวมถึงเป็นสาเหตุของโรคร้ายใดๆ ได้อีกมากมาย ดังนั้นหากพบว่าตนมีอาการอ่อนล้า เหนื่อยล้า ควรรีบรักษาให้หาย ง่ายๆ คือการรักษาจากสาเหตุ หมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหากมีอาการเรื้อรังและทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น แนะนำให้รีบพบแพทย์ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com