เยอรมัน..ชูแนวคิดพลังงานสะอาด ‘เกษตรผสมผสานใต้แผงโซลาร์เซลล์’ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 60%
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/1-54-1024x512.jpg)
advertisement
เกษตรกรรม เป็นกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง แต่การเลือกทำเพียงกิจกรรมเดียว จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะไม่ได้รับผลผลิตเมื่อต้องประสบกับภัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แต่ถ้าเลือกทำ “เกษตรผสมผสาน” คือมีตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป มีการวางแผนการผลิต ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความเสี่ยงก็ลดลง ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคง
อย่างเพจเฟสบุ๊ค เกษตรอัจฉริยะ – Smart Farm ก็ได้นำแนวคิดดีๆ จากเยอรมันที่ได้ทำเกษตรผสมผสานใต้แผงโซลาร์เซลล์ และทำเกษตรในด้านอื่นๆ อีกด้วย
advertisement
![1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/1-53-642x768.jpg)
เยอรมันชูแนวคิด "เกษตรผสมผสานใต้แผงโซลาร์เซลล์"
พบว่าในพื้นที่เท่ากัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ได้ 60% เลยครับ
กระแสของพลังงานสะอาด โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ มาแรงไปทั้งโลก และเริ่มมีปัญหากับประเทศที่ทำการเกษตรมากๆ เพราะมันไปแย่งพื้นที่ทำการเกษตรครับ .. [ads]
advertisement
![1 (4)](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/1-4-9.jpg)
ทำให้บางประเทศเช่น ญี่ปุ่น และ จีน มีนโยบายให้ใช้พื้นที่เกษตรร่วมกับโซลาร์ฟาร์ม เช่น ยกแผงโซลาร์เซลล์ให้สูง ให้สามารถใช้ร่วมกับการปลูกพืชได้ หรือ นำไปลอยน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับประเทศเยอรมัน กำลังเข้าสู่ยุคเกษตรแบ่งปัน นั่นคือ พื้นที่เกษตรผลิตได้ทั้งอาหาร และ พลังงาน ครับ โดยเริ่มมีการทดลองติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบยกสูง เพื่อให้เครื่องจักรกลเกษตรสามารถวิ่งเข้าไปทำงานได้
advertisement
![1 (1)](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/1-1-12.jpg)
เยอรมันนี่ ยกสูงกว่าอีกนะครับ โดยต่อไปนี้ เกษตรกรเยอรมันจะผลิตขายได้ทั้งไฟฟ้า และ อาหาร กันเลยทีเดียว .. โดยเกษตรกรเยอรมัน จะทำเกษตรแบบผสมผสานใต้แผงโซลาร์เซลล์ คือ ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่ปลูกพืชผลายชนิด แถมมีการเลี้ยงสัตว์ ทั้งวัว ทั้งไก่ [ads2]
advertisement
![1 (1)](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/1-1.gif)
ไฟฟ้าที่เกษตรกรผลิตได้ จะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
(1) ใช้ในฟาร์มของตัวเอง และผู้ร่วมกลุ่ม
(2) ทำสัญญาขายไฟให้กับหมู่บ้าน / ชุมชน ที่อยู่ใกล้เคียง (หลายๆ หมู่บ้านในเยอรมัน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง)
(3) ที่เหลือจึงจะขายเข้าระบบกริด
advertisement
![Agrophotovoltaik-Pilotanlage Heggelbach](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/12-Agrophotovoltaik-Pilotanlage-Heggelbach-1024x768.jpg)
. [ads3]
advertisement
![Agrophotovoltaik-Pilotanlage Heggelbach](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/10-Agrophotovoltaik-Pilotanlage-Heggelbach-1024x768.jpg)
advertisement
![Agrophotovoltaik-Pilotanlage Heggelbach](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2017/12/01-agrophotovoltaik-pilotanlage-heggelbach-en-1024x768.jpg)
.
จากการวิจัยของสถาบันฟราวน์โฮเฟอร์ (Fraunhofer ISE) พบว่า การทำเกษตรแบ่งปันระหว่างผลิตไฟฟ้า และ ผลิตอาหารนั้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ได้ 60% เลยครับ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com , ขอขอบคุณที่มาจาก : เกษตรอัจฉริยะ – Smart Farm