เตือน!!คนอยากผอม ระวังยาลดความอ้วน!!

advertisement
แม้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและยาลดความอ้วนจะได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้ไม่ต้องออกกำลังกายหรือควบคุมอาหาร
แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักยาและวัตถุเสพติดได้ทำการตรวจวิเคราะห์ของกลาง จำนวน 70 ตัวอย่าง พบตัวอย่างที่มีส่วนผสมของยาแผนปัจจุบัน เป็นยาอันตราย 43 ตัวอย่าง และยาควบคุมพิเศษ 8 ตัวอย่าง เช่น ยาในกลุ่มแอมเฟตามีน เช่น เฟนเทอร์มีน ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่ม ทำให้เกิดการเบื่ออาหาร และยารักษาโรคซึมเศร้าและอาการในกลุ่มโรควิตกกังวล ฟลูโอซีทีน ซึ่งมีผลข้างเคียงในการช่วยทำให้ไม่อยากอาหาร รวมทั้งยาระบาย บิสซาโคดิล ยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์ ที่ส่งผลให้ผู้ใช้ยาดังกล่าวรู้สึกผอมลง เนื่องจากน้ำหนักลดหลังจากใช้ยา แต่ผลข้างเคียงคือร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยล่าสุดมีผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่มีส่วนผสมของเมล็ดแมงลัก ที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคมออนไลน์ และเป็นข้อที่ถกเถียงกันอย่างมากว่า แท้จริงแล้วผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด[ads]
advertisement

เมื่อตรวจสอบส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ พบว่า มีสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต โรคต้อหิน และเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
advertisement

เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า หากผู้บริโภคต้องการลดน้ำหนักและปลอดภัยอย่างยั่งยืน ควรควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยไม่กินอาหารพร่ำเพรื่อ ไม่กินจุบกินจิบ ควรกินอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ ลดการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมทั้งควร ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่าถึงแม้การใช้ยาลดความอ้วนจะเป็นวิธีเห็นผลเร็ว น้ำหนักลดลงได้เร็ว แต่หากไม่ได้มีการควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วย เมื่อหยุดยาลดความอ้วนน้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดิมได้ อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้หาก ใช้ยาในขนาดที่สูงเกินไป
ดังนั้น หากต้องการใช้ยาลดความอ้วน ควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาได้มากที่สุด และหากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือมีข้อสงสัยในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail: [email protected] หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปรามและดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th โดย saowalak pisitpaiboon, ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน