เร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า หนุนยุทธศาสตร์จัดตั้งศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด
advertisement
กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า สนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีมาตรฐานใน “โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี”
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเยี่ยมศูนย์บริบาลสุนัขจรจัดเทศบาลเมืองแสนสุข อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ว่า รัฐบาล ได้จัดทำ “โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี” ที่ทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่รวมเอาแนวทางการปฏิบัติ สุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำสู่การมีสุขภาพที่ดี มีเป้าหมายคือ “ไม่มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า” โดยการจัดระบบศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงานกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศ ตั้งเป้าดำเนินการทุกกลุ่มจังหวัดต้องมีอย่างน้อยหนึ่งแห่ง เพื่อใช้เป็นต้นแบบศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีมาตรฐาน ขณะนี้นำร่องแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร [ads]
advertisement
สำหรับศูนย์บริบาลสุนัขจรจัดเทศบาลเมืองแสนสุข ตั้งขึ้นในปี 2555 เพื่อควบคุมปริมาณสุนัขจรจัดในเขตเทศบาลเมือง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และค้นคว้าวิจัย รองรับสุนัขได้ 500 ตัว มีมูลนิธิ The man that rescues dogs ดูแลเรื่องการเลี้ยง ทำความสะอาด ให้อาหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ดูแลเรื่องของสุขภาพ วัคซีน การทำหมัน การรักษา โดยการบริหารจัดการแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้ 1.คอกกักกันโรค ตรวจสุขภาพฉีดวัคซีนป้องกันโรคสำหรับสัตว์ที่เข้ามาใหม่ 2.คอกสุนัขทั่วไปที่ผ่านการตรวจโรคและทำวัคซีนแล้ว 3.คอกอนุบาล สำหรับสุนัขที่มีลูกอ่อน หรือสุนัขเด็ก 4.คอกสัตว์ป่วย เพื่อทำการรักษา ป้องกันโรคระบาด และ 5. คอกสัตว์พิการ ทั้งนี้ นับเป็นตัวอย่างของศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากความร่วมมือของรัฐ เอกชน องค์กรเอกชน [ads2]
advertisement
ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 6 ราย ในพื้นที่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จังหวัดละ 2ราย สมุทรปราการ บุรีรัมย์ จังหวัดละ 1ราย โดยสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากการไม่ฉีดวัคซีนหลังถูกสุนัขหรือแมวกัด ข่วน หรือฉีดไม่ครบตามนัด ซึ่งสิ่งสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์คือการฉีดวัคซีนในสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคสำคัญคือสุนัขและแมว ประมาณ 6-7 ล้านตัวทั่วประเทศ
advertisement
advertisement
การควบคุมโรค ณ จุดเกิดโรค เมื่อพบโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนการดูแลในคน เน้นรณรงค์ให้ผู้ถูกสุนัข แมวกัดข่วน เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกราย อย่างครบถ้วนตามโปรแกรมการนัด หากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ขอขอบคุณที่มาจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข