เส้นเลือดขอด..ป้องกันได้อย่างไร?

advertisement
ปัญหาเส้นเลือดขอด จะปรากฎได้ว่าหลอดเลือดดำใหญ่โป่ง มักจะเห็นโป่งนูนขึ้นมาชัดเจน สามารถคลำได้เป็นลำ มักพบในในผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น แม้ว่าจะดูเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆ และรู้สึกได้ว่าไม่ได้ทำให้สุขภาพแย่ลงหรือเกิดผลกระทบทางด้านอื่นๆ นอกจากจะทำให้สาวๆ เกิดความรำคาญในระหว่างการดำเนินชีวิต กังวลใจและไม่มั่นใจที่จะโชว์ผิวส่วนนั้น อีกทั้งมักจะมีอาการคัน รู้สึกว่าเท้าหนักๆ เพียงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วบางครั้งเส้นเลือดขอดอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้เช่นกัน เราจึงควรใส่ใจ ไม่มองข้ามปัญหาเส้นเลือดขอดกันนะคะ
หลอดเลือดดำบริเวณขาของคนเรามีหน้าที่ในการนำเลือดดำกลับสู่หัวใจ โดยต้านแรงโน้มถ่วงของโลกผ่านแรงบีบของกล้ามเนื้อ ภายในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นเล็กๆ คอยเปิดปิดในทุกๆ ระยะเพื่อให้เลือดไหลขึ้นไปถึงหัวใจ แต่เส้นเลือดดำของผู้หญิงบางคน ลิ้นเล็กๆ ภายในหลอดเลือดอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ปิดกั้นเลือดไม่ให้ไหลย้อนกลับลงมาตามแรงโน้มถ่วงไม่ได้ เลือดจึงคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำส่วนปลาย โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้ผิวหนังมากที่สุด จึงกลายเป็นหลอดเลือดที่โป่งพอง สีคล้ำๆ นั่นก็คือเส้นเลือดขอดนั่นเอง
advertisement
อาการของเส้นเลือดขอด
– ปวดน่องหลังจากนั่งหรือยืนนาน
– ปวดตุบๆ และเป็นตะคริว
– บวมที่เท้า รู้สึกเท้าหนักๆ
– ผื่นที่ขาและคัน
– ผิวหนังจะออกคล้ำ[ads]
อาการที่ควรไปพบแพทย์
– เส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแดง และเจ็บ ผิวอุ่น แสดงว่ามีการอักเสบ
– เกิดแผลและผื่นใกล้กับข้อเท้า
– ผิวหนังบริเวณข้อเท้าและน่องหนาและมีการเปลี่ยนสีผิว
– เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
– ปวดน่องมาก
advertisement
อันตรายของเส้นเลือดขอด
ในบางครั้งการเป็นเส้นเลือดขอดส่งผลให้แผลที่เกิดขึ้นบริเวณเท้าหายช้าลงเนื่องจากเลือดไม่ไหลเวียน บางครั้งก็เกิดเลือดออกง่ายเกิดแผลต่างๆ ง่ายเพราะผิวหนังบริเวณเส้นเลือดขอดจะบางกว่าผิวหนังบริเวณอื่น บางรายเมื่อเป็นเส้นเลือดขอดนานๆ ก็อาจจะเกิดเป็นลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำ ทำให้เท้ามีอาการปวด บวม ร้ายแรงมากหากลิ่มเลือดนั้นหลุดไปตามหลอดเลือดแล้วเข้าสู่ปอด เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดขอดมี ดังนี้
1) อายุ ความเสื่อมหรือการทำงานที่มีประสิทธิภาพของทุกส่วนในร่างกายลดลงไปตามอายุ หลอดเลือดดำที่บริเวณขาก็เช่นกัน อายุที่มากขึ้นทำให้ผนังหลอดเลือดดำขาดความยืดหยุ่นในการลำเลียงเลือดกลับสู่หัวใจ และลิ้นเล็กๆ ภายในหลอดเลือดไม่สามารถปิดกั้นการไหลย้อนกลับของเลือดได้ จึงทำให้ผู้ที่มีอายุมากขึ้นเกิดปัญหาเส้นเลือดขอดได้ง่าย
2) เพศ ในการแพทย์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการกระตุ้นของฮอร์โมนในผู้หญิง มีผลทำให้ผู้หญิงเกิดเส้นเลือดขอดได้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า เพราะฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะก่อนมีประจำเดือน หรือหลังวัยหมดประจำเดือน ล้วนส่งผลต่อหลอดเลือดดำบริเวณขาด้วยกันทั้งสิ้น
3) การกินยาเม็ดคุมกำเนิด ด้วยการกินยาคุมมีผลเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศหญิง อันเป็นปัจจัยที่เสี่ยงให้เกิดเส้นเลือดขอดมากขึ้น
4) การตั้งครรภ์ นอกจากการฮอร์โมนร่างกายในระหว่างที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ขนาดของมดลูกที่ขยายขึ้นยังส่งผลให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดโดยเฉพาะที่บริเวณขาสูงขึ้น หญิงตั้งครรภ์จึงมักเกิดเส้นเลือดขอดที่ขา และหายได้เองภายใน 3 เดือนหลังคลอด
5) การรับน้ำหนักตัวเกิน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทที่ต้องนั่งหรือยืนนานๆ หรือผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงตลอดเวลา จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ประกอบกับน้ำหนักตัวที่มากทำให้แรงดันภายในหลอดเลือดที่ขาสูงขึ้นตามไปด้วย จึงส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอดได้
6) กรรมพันธุ์ มีญาติหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้
advertisement
การป้องกันปัญหาเส้นเลือดขอด
1) หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เลือดมีการไหลเวียนได้ดีขึ้น และควรเดินบ่อยๆ ไม่ควรนั่งหรือยืนนานๆ หากทำงานในออฟฟิศควรหาเวลาเดินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ่อยๆ นอกจากนั่งหน้าจอคอมอย่างเดียว[ads]
2) ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนมากจนเกินไป เพื่อดภาระไม่ให้ร่างกายแบกน้ำหนักมากเสมอ ควารับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มที่ทำให้เกิดอาการบวมได้
3) สวมรองเท้าที่ถูกสุขลักษณะ ส้นเตี้ย และสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงที่สบาย ไม่ฟิตจนเกินไป เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
4) หมั่นยกขาสูงครั้งละ10-15 นาที เวลานานควรนำผ้ามารองบริเวณขาให้สูงกว่าหัวใจ
5) พยายามลดการนั่งไขว่ห้าง เพราะการไขว่ห้างมีผลทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร
6) หมั่นบริหารข้อเท้า ในขณะที่นั่งอยู่ให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เหยียดเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกัน
วิธีการรักษาเมื่อมีปัญหาเส้นเลือดขอด
1) การฉีดน้ำเกลือสลายเส้นเลือดขอด โดยฉีดน้ำเกลือเข้าไปบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด เพื่อให้น้ำเกลือไปสลายการอุดตัน หรือการคั่งของเลือดให้หลุดออกไป ทำให้เส้นเลือดขอดขดตัวลง ซึ่งอาจต้องฉีดมากว่า 1 ครั้ง เหมาะกับเส้นเลือดขอดขนาดไม่ใหญ่มากนัก
2) การฉีด Sclerosing Agent ลักษณะการฉีดจะเหมือนกับการฉีดน้ำเกลือ แต่เป็นสารที่มีประสิทธิภาพมากกว่า จะใช้ในกรณีที่ฉีดน้ำเกลือแล้วไม่ได้ผล เหมาะกับการฉีดเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่
3) การใช้เลเซอร์ อีกวิธีได้รับความนิยม หลักการคือส่งพลังงานเข้าไปทำลายเส้นเลือดขอด ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและไม่เจ็บตัวมาก แต่มักใช้กับเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก
4) การเจาะด้วยเข็มเอาเลือดที่คั่งออก โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมาก เจาะเข้าไปบริเวณเส้นเลือดขอด แล้วดูดเอาเลือดที่คั่งออกมา เพื่อให้เส้นเลือดดำบริเวณนั้นไหลเวียนสะดวกมากขึ้น เหมาะกับเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่ และมักใช้ร่วมกับการรักษาเส้นเลือดขอดวิธีอื่นๆ
5) ใส่ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด เป็นวิธีเสริม ที่ใช้ป้องกันเส้นเลือดขอดโดยเฉพาะ โดยตัวถุงน่องจะช่วยพยุงกล้ามเนื้อตรงที่เป็นเส้นเลือดขอด มักจะให้ใส่หลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นกระชับ ป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดซ้ำ
6) การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก ใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น โดยต้องเป็นเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ และมีผลต่อการใช้ชีวิต โอกาสการหายขาดนั้นมีสูงกว่าวิธีอื่น แต่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากด้วยเช่นกัน
ปัญหาเส้นเลือดขอดเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามไปได้เลยนะคะ เพราะเส้นเลือดขอดไม่เพียงแต่ทำให้เรียวขาของผู้หญิงเราไม่เรียบเนียนสวยงามได้ดั่งใจแล้วนั้น หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เส้นเลือดขอดอาจกลายเป็นอ้นตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้น สาวๆ ไม่ลืมที่จะใส่ใจสุขภาพ ป้องกันตนเองให้ห่างไกลปัญหาเส้นเลือดขอดนะคะ เพื่อเรียวขาที่สวยงามและสุขภาพที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com