เคล็ดไม่ลับ!!แก้พิษเบื้องต้น..จากสารพัดพิษ!!

advertisement
การเกิดพิษมักเกิดจาก อุบัติเหตุ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และเจตนาที่จะทำลายชีวิต การแก้พิษควรแก้ที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเป็นพิษ เมื่อมีผู้ได้รับสารพิษ ควรดำเนินการแก้ไขดังนี้
ชนิดของวัตถุมีพิษที่ได้รับ
1. กรด(Acids)
การแก้พิษเบื้องต้น
– ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ควรให้ผู้ป่วยกินยาลดกรดหรือน้ำด่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น น้ำปูนใสผสมน้ำมากๆ แล้วให้ผู้ป่วยดื่มน้ำนมหรือน้ำข้าว
[ads]
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
– ล้างท้องด้วย มิลค์ ออฟ แมกนีเซีย (Milk of magnesia) ผสมน้ำจำนวน 2-4 ลิตร ให้ยาระงับปวดและยาประเภทคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids)ให้การรักษาอาการช็อค (Shock)
2. ด่าง (Alkalines)
การแก้พิษเบื้องต้น
– ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ให้ดื่มน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 2 ถ้วยแก้ว หรือให้ดื่มน้ำมะนาว หรือน้ำส้มคั้นจำนวนมาก อย่างใดอย่างหนึ่ง
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
– ควรส่องหลอดอาหารด้วยเครื่องส่อง (Esophagoscope) ทันที เพื่อหาส่วนที่เป็นแผล ให้กรดน้ำส้ม 1 เปอร์เซ็นต์ ตรงบริเวณแผล จนเป็นกลางให้ยาระงับปวดเพื่อรักษาอาการช็อคให้ยาประเภทคอร์ติโคสเตอรอยด์ เพื่อช่วยป้องกันหลอดอาหารตีบ
3.แอลกอฮอล์ชนิดจุดไฟ (Methyl alcohol)
การแก้พิษเบื้องต้น
1.ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน โดยใช้นิ้วที่สะอาดล้วงคอ หรือดื่มน้ำแป้งมันละลายน้ำมากๆ หรือกินมัสตาด 1 ช้อนชา ผสมน้ำครึ่งแก้ว
2. ให้กินผงฟู (โซดาทำขนม) 1 ช้อนชา ในน้ำอุ่น 1 ถ้วยแก้ว
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
– ล้างท้องด้วยสารละลาย โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 % แล้วให้กินโซเดียมไบคาร์บอเนต 5-15 กรัม ทุก 2-3 ชั่วโมง จน Plasma-carbondioxide-combinning power ของคนไข้ ปกติจึงให้กินเอธิลแอลกอฮอล์ 50 % (ให้ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) หลังจากนั้นให้กินหรือฉีดเข้าเส้นโลหิต0.5-1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 2 ชั่วโมงเป็นเวลา 4 วัน
4.ไซยาไนด์ (Cyanide)
การแก้พิษเบื้องต้น
– ให้สูดดมเอมิลไนไตรท์ (Amyl nitrite) 0.2 มิลลิลิตร ทุกๆ 5 นาที
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
– ให้ใช้ยาแก้พิษทันที โดยให้โซเดียมไนไตรท์ 3 % จำนวน 10 มิลลิลิตร ฉีดเข้าเส้นโลหิต ใช้เวลาเดินยา 2.5-5 มิลลิลิตรต่อนาที หยุดให้เมื่อความดันโลหิต (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท แล้วจึงฉีดโซเเดียม ไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) 25 % จำนวนที่เหมาะสมกับระดับฮีโมโกลบิล ใช้เวลาเดินยา 2.5 –5 มิลลิลิตรต่อนาที
5.ยาเบื่อหนู (Zinc phosphide)
การแก้พิษเบื้องต้น
1.ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน (วิธีเดียวกันกับที่กล่าวแล้วข้างต้น)
2.ให้ดื่มน้ำนม อาจเป็นน้ำสด นมผง หรือนมข้นผสมน้ำ หรือให้ดื่มน้ำข้าวจำนวนมาก หรือให้กินผงถ่านบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำครึ่งแก้ว
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
– ล้างท้องด้วยสารละลายด่างทับทิม (Potassium permanganate) 1 : 5000 แล้วให้มิเนอราลออยล์(Mineral oil) จำนวน 100-200 ลิตร
6.สารหนู (Arsenic)
การแก้พิษเบื้องต้น
– เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับยาเบื่อหนู
การบำบัดรักษาทางการแพทย์
– ทำให้อาเจียนหรือล้างท้องด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต 5 % แล้วฉีดไดเมอร์คาปรอล (Dimercaprol) 10% ในน้ำมัน เข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น ถ้าความเป็นพิษรุนแรง ฉีดไดเมอร์คาปรอล 3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม วันที่ 1 และ 2 ฉีดทุก 4 ชั่วโมง และวันที่ 3 ฉีดทุก 6 ชั่วโมง และวันที่ 4 ฉีดวันละ 2 ครั้ง จนคนไข้มีอาการปกติ ถ้าความเป็นพิษอย่างอ่อน ฉีดไดเมอร์คาปรอล 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม วันที่ 1 และ 2 ฉีดทุก 4 ชั่วโมง 4 ครั้ง วันที่ 3 ฉีด 2 ครั้ง วันที่ 4 และวันต่อๆไป ฉีดวันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน จนคนไข้มีอาการปกติ
7.สารเคมีกำจัดแมลงที่มีสารฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ (Organophosphate insecticides)
การแก้พิษเบื้องต้น
1.รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีวัตถุมีพิษนั้นพักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากหายใจขัดให้ใช้เครื่องช่วยหายใจทันที
2.หากเข้าปาก รีบทำให้อาเจียน
3.หากสัมผัสผิวหนัง รีบล้างออกด้วยสบู่ และน้ำจำนวนมากๆ ถ้าเข้าตาต้องล้างด้วยน้ำมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้า รีบเปลี่ยนใหม่ทันที
4.หากมีอาการรุนแรง รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะบรรจุและฉลากวัตถุมีพิษนั้น
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
1.ให้อะโทรปีน ซัลเฟต (Atropine sulfate) ครั้งแรก 2-4 มิลลิกรัมเข้ากล้ามเนื้อ หรือเส้นโลหิต และให้อีก 2 มิลลิกรัม ทุกๆ 30-60 นาที จนกว่าคนไข้มีอาการดีขึ้น
2.ให้ 2-แพม (2-PAM) ควบคู่ไปกับอะโทรปีน ซัลเฟต โดยให้ 1 กรัม ฉีดเข้าเส้นโลหิตโดยผสมน้ำเกลือ (Normal saline) และใช้ระยะเวลาเดินยาช้ามาก ขนาดของ 2-แพม อาจให้มากกว่านี้ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น
3.หากมีน้ำมูก และเสมหะ ให้ใช้เครื่องดูด
4.หากได้รับทางปากให้กินถ่านดูด (Activated charcoal) และให้ยาถ่ายพวก Saline cathartic (ห้ามให้ Fat หรือ Oil) ล้างทางเดินอาหารด้วยแมนมิทอล (Manital) 20 % จำนวน 200 มิลลิลิตร
8.สารเคมีกำจัดแมลงที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ (Chlorinated hydrocarbon insectides)
การแก้พิษเบื้องต้น
– การแก้พิษเช่นเดียวกับในผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีกำจัดแมลงที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
1.หากได้รับทางปากให้กินถ่านดูด (Activated charcoal) แล้วให้ยาถ่ายพวก Saline cathartic (ห้ามให้ Fat หรือ Oil)
2.ล้างทางเดินอาหารด้วยแมนนิทอล 20 % จำนวน 200 มิลลิลิตร
3.ให้การักษาตามอาการพิษ
9.สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคาร์บาเมท (Carbamates)
การแก้พิษเบื้องต้น
– การแก้พิษเช่นเดียวกับในผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีกำจัดแมลงที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
– ให้อะโทรปีน ซัลเฟต 1-4 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อหรือเส้นโลหิตแล้วให้อีกทุกๆ 15-60 นาที หลายๆชั่วโมง และสังเกตว่า ถ้ามีน้ำลายและเสมหะมาก ห้ามให้ 2-แพม ในรายที่ไดัรับคาร์บาเมท
10.สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดพาราควอท (Paraquat)
การแก้พิษเบื้องต้น
1.หากเข้าทางปาก ให้กินผงถ่านบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำครึ่งแก้ว
2.หากสัมผัสทางผิวหนังรีบล้างออกด้วยน้ำสบู่และน้ำจำนวนมากๆ ถ้าเข้าตาต้องล้างด้วยน้ำจำนวนมาก หากเปื้อนเสื้อผ้า รีบเปลี่ยนใหม่ทันที
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
1.ให้กิน Fuller’s earth solution 15% จำนวน 1 ลิตร หรือให้กิน Bentonite 7% ในน้ำเกลือ 200-500 มิลลิลิตร ทุกๆ 2 ชั่วโมง ในวันแรกและทุก 4 ชั่วโมง ในวันที่ 2
2.ให้ Saturated magnesium salt เป็นยาระบาย (ไม่ผสมใน Bentonite)
11.ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ซาลิซิเลท (Salicylates)
การแก้พิษเบื้องต้น
1.ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำนมหรือน้ำข้าว แล้วทำให้อาเจียน
2.กินผงฟู (โซดาทำขนมปัง) 1 ช้อนชา ในน้ำอุ่น 1 ถ้วยแก้ว
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
1.ล้างท้องด้วยน้ำอุ่นซึ่งประกอบด้วยถ่านดูดจำนวน 2-4 ลิตร ตามด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนท 5 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 500 มิลลิลิตร แล้วให้ Saline cathartic
2.ให้สารละลายเด็กซ์โตรส 5% ฉีดเข้าเส้นโลหิต
3.แก้การขาดไบคาร์บอเนท (Bicarbonate) และโปแตสเซียม ด้วยการกินสารละลายโซเดียมไบคสร์บอเนต 7.5% 3-5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือฉีดเข้าเส้นโลหิตโดยทำให้เจือจางด้วยเด็กซ์โตรส 5% ระยะเวลาให้ยาประมาณ 2-4 ชั่วโมง
4.รักษาอาการช็อค ด้วยการให้เลือด หรือ พลาสมา
12.สารสตริคนิน (Strychnine)
การแก้พิษเบื้องต้น
1.ให้กินน้ำนมหรือน้ำข้าว 1 แก้ว หรือผงถ่านผสมน้ำ
2.ทำให้อาเจียน ในคนไข้ที่ไม่ชัก
3.รีบนำส่งแพทย์ทันที
[yengo]
การบำบัดรักษาด้านการแพทย์
1.ล้างท้องด้วยน้ำ ซึ่งประกอบด้วยถ่านดูดจำนวน 2-4 ลิตร
2.ให้ เอโมบาร์บิทาล โซเดียม 0.5 กรัม ละลายน้ำ 10-20 มิลลิลิตร เข้าเส้นโลหิตอย่างช้าๆ ถ้าให้กินยาให้ขนาดสูงถึง 5 เท่า ของขนาดยาที่ทำให้หลับ ถ้าจำเป็นอาจให้ยาซ้ำใน 30 นาที
3.ควบคุมการชักด้วย ซัคซินิลโคลีน (Succinyl choline)โดยให้ 10-50 มิลลิกรัม ฉีดเข้าเส้นโลหิตอย่างช้าๆ ให้ออกซิเจน หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
4.ฉีดไดอะซีแพม (Diazepam) เข้าเส้นโลหิต และให้ฉีดซ้ำทุก 30 นาที จะได้ผลดี
ที่มา: หนังสือความรู้สิ่งเป็นพิษ ตอนที่1และ2 พ.ศ.2535 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้าที่ 29-36. ,webdb.dmsc.moph.go.th