แชร์ข้อมูล!! ผู้ว่างงานที่จะไปขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางาน มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร ควรอ่านก่อนไปทำ
advertisement
ผู้ที่ว่างงานแล้วจะไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานไว้ที่สำนักงานจัดหางานนั้น จะต้องศึกษาข้อมูลเกณฑ์ในการทำ ใช้เอกสารอะไรบ้าง มีรายละเอียดอย่างไร อย่างสมาชิกพันทิป มือทอง ที่เป็นผู้ที่ว่างงานและได้ไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางาน แล้วได้มีข้อมูลมาแชร์ได้ทราบกัน โดยได้โพสต์กระทู้โดยระบุว่า "เพิ่งไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานมา จึงนำข้อมูลมาแชร์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติค่ะ" จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้นตามไปดูกันเลยครับ
advertisement
สวัสดีค่ะ วันนี้เราเพิ่งไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานมาค่ะ มีข้อมูลหลายอย่างที่อยากจะนำมาแชร์กับชาวพันทิป
เริ่มเรื่องคือ เราเพิ่งลาออกจากงานมาเมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาค่ะ ทางฝ่ายบุคคลแจ้งว่าจะยื่นเรื่องของลาออกจากประกันสังคมของบริษัทให้เราในวันที่ 31 มกราคม เลย และให้เรารีบไปยื่นเรื่องเป็นผู้ว่างงาน เพื่อให้ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงาน
หลังจากหาข้อมูลแล้ว เราก็ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร เพราะเห็นว่าสามารถยื่นเรื่องได้ภายใน 30 วันหลังว่างงาน
แต่แม่เรากังวลเรื่องการยื่นเป็นผู้ประกันตนเองมากกว่า
อันดับแรก มาทำความเข้าใจเรื่องเงินประกันสังคมกันก่อน ว่าเงิน 750 บาทที่เขาหักเราไปทุกเดือนเนี่ย เอาไปทำอะไรบ้าง
เงินประกันสังคม 750 บาท (เฉพาะส่วนของผู้ประกันตน) แบ่งเป็น
– ส่วนที่ 1 – 225 บาท
ในส่วนของการดูแลสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร รวมถึงเสียชีวิต ซึ่งเงินส่วนนี้ถ้าหากเราไม่ใช้สิทธิ ก็จะหายไปเฉย ๆ ไม่ได้คืน
– ส่วนที่ 2 – 75 บาท
เป็นเงินที่ใช้ประกันการว่างงาน หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นเงินที่เราสามารถนำออกมาใช้ได้ในระหว่างที่ว่างงานอยู่ ซึ่งถ้าหากเราไม่มีช่วงว่างงาน หรือไม่ได้เบิกเงินส่วนนี้ออกมาใช้ ก็จะไม่ได้คืนเช่นเดียวกัน
– ส่วนที่ 3 – 450 บาท
ส่วนของเงินออม ซึ่งจะได้รับเมื่ออายุครบ 55 ปี รายละเอียดอื่นๆ ลองหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้ค่ะ ส่วนข้อมูลที่เรานำมายกตัวอย่างนี้ มาจาก news.mthai.com
ซึ่งในกระทู้นี้ เราจะมานำเสนอข้อมูลของเงินประกันสังคมในส่วนที่ 2 – เงินประกันการว่างงาน จำนวน 75 บาท
หมายเหตุ
– สำหรับผู้ที่ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนการว่างงาน อัตราร้อยละ 30 ของเงินเดือน ปีละไม่เกิน 90 วัน
– สำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนการว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือน ปีละไม่เกิน 180 วัน
***คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
สำหรับผู้จะขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานนั้น
1. ต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน พูดง่ายๆ ก็คือ จ่ายเงินประกันสังคมมาไม่น้อยกว่าหกเดือน จากระยะเวลา 15 เดือน หลังสุด ไม่ได้เน้นว่าต่อเนื่องนะคะ
2. ต้องแจ้งขอขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันหลังจากลาออกหรือถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญาจัาง
3. ต้องไปรายงานตัวกับสำนักงานจัดหางานตามกำหนด
***ประเด็นอยู่ที่ข้อ 2 นี่แหละค่ะ (ขอยกตัวอย่างกรณีว่างงานจากการลาออกนะคะ)
– เราสามารถแจ้งขอขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานได้ หลังจากลาออกไปแล้ว 7 วัน (ข้อนี้เราถามทาง HR มาว่าทำไมต้อง 7 วัน เขาบอกว่าเพื่อให้เราเกิดสภาพว่างงานแล้วค่ะ คือไม่มีงานทำมา 7 วันแล้ว)
ยกตัวอย่างกรณีของเรานะคะ เราลาออกจากบริษัท สิ้นสุดสภาพพนักงานในวันที่ 31 มกราคม 2558 เพราะฉะนั้น เราจะเริ่มว่างงานตั้งแต่วันที่ 31 เลยค่ะ ดังนั้น เราสามารถแจ้งเป็นผู้ว่างงานได้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยไม่ต้องรอให้ทางบริษัทแจ้งลาออกจากประกันสังคมให้เราค่ะ
แต่อย่างของเรา ฝ่ายบุคคลบอกเราว่าเขาจะแจ้งลาออกจากประกันสังคมของบริษัทในวันที่ 31 มกราคม 2558 ดังนั้น หากเราไปแจ้งเป็นผู้ว่างงานตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เราจะได้รับเงินทดแทนงวดแรกไปแล้วค่ะ
จนท ที่สำนักงานจัดหางานบอกว่า ทางผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลการลาออกของพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปค่ะ ส่วนนี้เราไม่ค่อยแน่ใจว่าฟังถูกหรือเปล่า เพราะกำลังเบลอๆ แต่ที่แน่ๆ คือ เงินทดแทนจะไม่เข้า จนกว่าทางประกันสังคมจะได้รับแจ้งการลาออกจากผู้ประกอบการค่ะ ซึ่งปกติเงินทดแทนจะโอนเข้าบัญชี ภายหลังการรายงานตัว 7 วัน
**อีกตัวอย่างคือ สมมติ เราได้งานทำในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ แล้วเราไม่ได้มาแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานไว้ เราก็จะไม่ได้รับเงินทดแทนที่เราควรได้รับ ระหว่างวันที่ 7-24 กุมภาพันธ์ ค่ะ (หากคิดวันละ 150 บาท เราก็ไม่ได้รับเงิน 18 วัน x 150 บาท = 2,700 บาท)
– หากแจ้งหลังจาก 30 วัน จะได้รับเงินทดแทนตามจำนวนวันที่เหลือ
อย่างของเรา ลาออกตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558 นับไปอีก 30 วัน จะตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งดันไปตรงกับวันอาทิตย์ (สำนักงานจัดหางานเปิดทำการ จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) เราไปรายงานตัววันที่ 27 กุมภาพันธ์ (วันที่ 28 นับจากวันที่ลาออก) เราจึงยังได้สิทธิ์ได้รับเงินทดแทนการว่างงาน 90 วันอยู่ แต่หากเราไปรายงานตัววันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ (วันที่ 31 นับจากวันที่ลาออก) เราจะมีสิทธิ์รับเงินทดแทนเพียง 60 วัน
สำหรับเอกสารประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและขอรับเงินทดแทน
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 2 ฉบับ และ บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีที่จะรับเงินทดแทน
เราไปยื่นขอขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ เขต 8 ค่ะ เดินเข้าซอยบางนา-ตราด 34 ตรงข้ามเซ็นทรัลบางนา เดินเข้าไปประมาณร้อยเมตร ฝ่ายลงทะเบียนผู้ว่างงานอยู่ชั้น 5 ส่วนของเขตอื่นๆ ดูได้ที่ www.jobdoe.com
เข้าไปถึงแล้วติดต่อกับฝ่ายประชาสัมพันธ์ จะได้รับแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและฟอร์มขอรับเงินทดแทน หลังจากกรอกเอกสารเรียบร้อยแล้วให้เอาไปยื่นที่โต๊ะฝ่ายชี้แจ้งข้อมูล ได้เอกสารนี้มา
advertisement
ประเด็นที่น่าสนใจคือ หลังจากยื่นเป็นผู้ว่างงานแล้ว 90 วัน และยังไม่สามารถหางานทำได้ หรือต้องการประกอบอาชีพอิสระ เราสามารถยื่นเป็นผู้ประกันตนเองตามมาตรา 39 ได้ค่ะ โดยจ่ายเงินประกันสังคมเดือน 432 บาท สามารถจ่ายได้ทั้งที่ธนาคาร/หักจากบัญชี/จ่ายที่สำนักงานประกันสังคม แต่การยื่นเป็นผู้ประกันตนเองนั้นต้องยื่นภายใน 6 เดือน หลังจากลาออกนะคะ
หลังจากฟังชี้แจงแล้วก็ไปยังฝ่ายทะเบียนเพื่อรับใบนัดรายงานตัวครั้งต่อไป ซึ่งในครั้งต่อไปที่เราจะมารายงานตัวนั้น ต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแบบรายงานผลหารหางานทำของผู้ประกันตนกรณีว่างงานด้วย ซึ่งหากไม่ได้หางานทำ หรืออยู่บ้านเฉยๆ ก็ให้กรอกข้อมูลอื่นๆ ลงไป เช่น ค้าขาย รายได้ xxx บาท เพราะการระบุข้อมูลว่าเป็นแม่บ้าน หรือพักผ่อน จะไม่ได้รับพิจารณารับเงินทดแทน แต่หากได้งานก่อนวันนัด ก็ไม่จำเป็นต้องมารายงานตัวค่ะ เพราะทางนายจ้างต้องแจ้งเรื่องประกันสังคมของเราเข้ามาอยู่แล้ว แนวทางปฏิบัติมีที่ท้ายเอกสารค่ะ
advertisement
*** เรื่องสถานที่ไปยื่นขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน ต้องเอาตามความสะดวกในการเดินทางของผู้ประกันตนนะคะ เพราะเราต้องไปรายงานตัวทุกเดือนเป็นเวลา 3 เดือน หากต้องกลับไปอยู่ต่างจังหวัด และตั้งใจจะหางานทำที่ต่างจังหวัด ก็ควรไปยื่นเรื่องที่ต่างจังหวัดเลย นี่ตัวอย่างใบนัดรายงานตัวของเราค่ะ
พอดีตอนที่เราไปขึ้นทะเบียนมีสองคนผัวเมียมาขึ้นทะเบียนเหมือนกัน แต่เขาจะกลับไปอยู่ ตจว ค่ะ ทางเจ้าหน้าที่เลยแนะนำให้ไปยื่นว่างงานที่บ้านต่างจังหวัดเลย จหากไม่คิดจะกลับมาทำงานที่กรุงเทพแล้ว จะะได้สะดวกในการเดินทาง
advertisement
สำหรับข้อมูลอื่นๆ สามารถเข้าไปอ่านได้ใน เว็บของประกันสังคม http://www.sso.go.th/wpr/home.jsp
นี่เป็นข้อมูลที่เราหามาและได้รับจากการไปยื่นขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถแชร์กันได้นะคะ เพราะเราคิดว่าคงมีคนงงกับการไปยื่นเอกสารเหมือนกัน จึงนำมาแชร์เพื่อเป็นข้อมูลค่ะออ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิป มือทอง