แนะ 7 วิธีขับขี่ช่วงฝนตกหนักและมีน้ำท่วมขัง ป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

advertisement
กรมควบคุมโรค ให้คำแนะนำประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะช่วงฝนตก โดยเฉพาะการสัญจรในภาคใต้ช่วงนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ พร้อมแนะประชาชนที่เดินลุยน้ำควรใส่รองเท้าบู๊ท จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขังได้ ประชาชนสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
advertisement

นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน การขับขี่ยานพาหนะในสภาวะที่ฝนตกและถนนมีน้ำท่วมขังเป็นระยะต้องมีการเตรียมพร้อมและระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งการขับขี่ในช่วงดังกล่าวผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 7 วิธีดังนี้
advertisement

2.เปิดใบปัดน้ำฝน โดยปรับระดับความเร็วของใบปัดน้ำฝนให้สัมพันธ์กับความแรงและปริมาณฝนตก
3.ลดความเร็ว เพื่อเพิ่มความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ
4.ให้ทิ้งระยะห่างจากคันหน้า เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น ต้องใช้ระยะทางในการหยุดรถเพิ่มขึ้น
5.หลีกเลี่ยงการแซง แต่หากจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์ ระยะทางข้างหน้า ความเร็วและระยะห่างของรถที่กำลังวิ่งตามกันในช่องจราจรซ้ายขวา
6.รถลื่นไถลหรือเหินน้ำ ห้ามเหยียบเบรกจนล้อหยุดหมุนในทันที เพราะอาจทำให้รถพลิกคว่ำได้ ให้แก้ไขโดยลดความเร็ว ใช้เกียร์ต่ำ จนกว่ารถจะทรงตัวได้ แล้วจึงค่อยเหยียบเบรกเพื่อหยุดรถ
advertisement

นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ และเมื่อเกิดน้ำท่วม ประชาชนที่เดินลุยน้ำอาจเกิดอุบัติเหตุจากการเดินไปชนหรือเหยียบของมีคมต่างๆ ทำให้เกิดบาดแผลและเกิดโรคตามมา เช่น แผลติดเชื้อ น้ำกัดเท้า เป็นต้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำท่วม แต่ในกรณีที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ แต่ไม่ควรใส่รองเท้าที่อบทั้งวัน และไม่ใส่รองเท้าที่เปียกชื้น[ads]
ทั้งนี้ หากน้ำล้นเข้าไปในรองเท้าบู๊ท ให้ถอดแล้วเทน้ำในรองเท้าออกเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้มีน้ำแช่ขังในรองเท้า ที่สำคัญ หลังการเดินย่ำน้ำทุกครั้ง ต้องล้างเท้าให้สะอาด ฟอกสบู่ให้ทั่ว และใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า หากมีบาดแผล ให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบบาดแผล แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ
อย่างไรก็ตาม หากหารองเท้าบู๊ทไม่ได้ ให้ใช้ถุงพลาสติกดำมาประยุกต์ใช้ทำรองเท้ากันน้ำชั่วคราว หากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค