แฝดคนละฝา มะปราง มะยงชิด มีความแตกต่างกันยังไง
advertisement
ในชวงนี้ นอกจากทุเรียนแล้วผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่คนไทยนิยมรับประทานกันมากก็คือ 'มะปราง' ที่นำมารับประทานสดๆ นำไปเชื่อม หรือเป็นส่วนผสมของขนมต่างๆ ที่เห็นตามท้องตลาด ความหวานและความรู้สึกสดชื่นของมะปรางได้กลายเป็นขวัญใจของใครหลายคน แต่ทั้งนี้ก็มีหลายคนมักเข้าใจผิด กับผลไม้ไทยหลายชนิดเลยที่รูปร่างหน้าตาเหมือนกันยังกับฝาแฝด
advertisement
ยกตัวอย่างเช่น 'มะปราง' มีฝาแฝดคือ 'มะยงชิด' ด้วยรูปร่างหน้าตาคล้ายกันจนยากจะแยกออก บางคนชอบกิน 'มะยงชิด' ก็มักจะสับสนและอาจซื้อผิดไปคว้า 'มะปราง' กลับบ้านมาซะอย่างนั้น
มะปรางและมะยงชิด หากมองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็นความแตกต่าง เพราะเป็นพืชในกลุ่มเดียวกัน และยังเป็นผลไม้หน้าร้อนที่ได้รับความนิยมมากๆ ทั้งคู่ แต่ความแตกต่างจะดูได้ที่ขนาดเป็นหลัก ถ้าลองดูสังเกตให้ดีจะพบว่าส่วนใหญ่ มะปรางจะลูกเล็กกว่ามะยงชิด อีกทั้งสังเกตได้จากสีหลังจากที่ผลสุกเต็มที่ หากเป็นมะปรางหวานสีจะออกเหลืองนวลมากกว่ามะยงชิดที่ออกสีเหลืองอมส้ม
ตอนผลดิบมะปรางหวานจะมีรสมันสีออกเขียวซีดผลใส ขณะที่มะยงชิดจะมีรสเปรี้ยวและสีเขียวจัดในตอนผลดิบ เมื่อสุกแล้วมะปรางหวานจะให้รสชาติหวานหรือหวานจืด ด้านมะยงชิดจะออกรสหวานอมเปรี้ยว
ที่สำคัญ.. มะปรางหวานบางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะระคายเคืองในคอเพราะมียาง แต่มะยงชิดไม่มียาง จึงทานได้อร่อยไม่รู้สึกระคายเคืองคอ
advertisement
และยังมีผู้กล่าวถึง มะปราง-มะยงไว้อีกว่า มะปรางกับมะยงมีทรวดทรงคล้ายคลึงกันเหมือนมะไฟกับละไม สละกับระกำ ลองกองกับลางสาด มะพร้าวกับมะแพร้ว หรือมะพลับกับตะโก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คลี่คลายเหล่ากอของลูกไม้สีเหลืองเนื้อหนาชุ่มน้ำนี้ว่า
มะปรางพันธุ์รสเปรี้ยวจัดเรียก กาวาง
พันธุ์รสเปรี้ยวๆ หวานๆ เรียก มะยง
พันธุ์รสหวานแหลมเรียก มะยงชิด
บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อธิบายคำว่า “ชิด” ใน “มะยงชิด” ว่าหมายถึง ใกล้ สนิท และยกตัวอย่างจากไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ที่ใช้คำว่า "ชิด" ขยายคำว่า "หวาน" ดังข้อความว่า
“…ผลมะม่วงนั้นสีเหลืองเป็นสีทอง ส่งกลิ่นหอมอยู่รวยรื่น ทั้งรสก็หวานชิดหวานสนิท…”
นอกจากไตรภูมิฯ ฉบับดังกล่าวแล้ว ยังพบคำว่า “หวานชิด” และ “หวานสนิท” ในวรรณคดีอีกบางเรื่อง ดังตัวอย่าง
“…บ้างก็ว่าของฉันนี้หวานชิด สุกสนิทรสชาติประหลาดหวาน…” (ลักษณวงศ์)
“…มูลมีต้นสีฟันควาย มะเดื่อเชียงราย หวานชิดสนิธโอชา…” (พรรณพฤกษา)
อักราภิธานศรับท์ (๒๔๑๖) ไขคำ "หวานชิด, หวานสนิท" ว่า
“คือรศหวานไม่เจือเปรี้ยว, เช่นผลไม้ที่รศเปรี้ยวๆ หวานๆ, มีกล้วยเป็นต้น”
อาศัยนิยามและคำอธิบายทั้งหลายทั้งปวงจึงอาจรวมความได้ว่า
“มะยง” เป็นชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง
และ “มะยงชิด” หมายถึง มะยงรสหวานสนิท
มะยงชิดควรจะมีรส “หวานสนิท” ต่อไป หากเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ไม่เขียนเรื่อง “ทำสวน” ไว้ในวชิรญาณวิเศษ (๒๔๓๑) แล้วว่ามะปรางแต่ละพันธุ์นั้นแผกกันที่รส
“…มะปรางนั้นเราแบ่งประเภทไปตามรสมีสองอย่าง คือเปรี้ยวกับหวาน
แต่คำที่ชำนาญพูดกันนั้นปณีตออกไปอีกถึง ๕ อย่างตามรสนั้น คือมะปรางที่มีรสหวานชืดๆ ไม่มีเปรี้ยวแกม เรียกว่ามะปรางหวานที่มีรสเปรี้ยวแกมแต่น้อย มีหวานเข้าประสมเป็นรสปลาดมาก เรียกว่ามะยงชิดที่มีรสเปรี้ยวมากกว่าหวาน เรียกว่ามะยงห่างและที่เปรี้ยวมีรสหวานรู้สึกแต่เล็กน้อยเปนมะปรางเปรี้ยวตามธรรมดายังเปรี้ยวแจ๊ดอีกพันธุ์หนึ่งผลใหญ่งาม ลางแห่งก็เท่าฟองไก่ตะเภา เรียกว่ากาวาง เพราะเปรี้ยวเหลือที่จะประมาณ จนนกกาไม่อาจจิกกินได้แล้ว…”
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ก็พูดไว้แบบเดียวกันใน “ตำราแม่ครัวหัวป่าก์” (๒๔๕๑) เล่ม ๑ บริจเฉท ๗ ว่าด้วยเรื่องผลไม้ ตอนจะแนะนำวิธีทำมะปรางริ้วนอกจากนี้ท่านผู้หญิงยังสรรเสริญสรรพคุณมะปรางพันธุ์ดีไว้ว่า
“…มะปรางที่เลื่องลือกันว่าดีมาแต่เดิม คือมะปรางสวนที่ท่าอิฐทางปากเกร็จ เนื้อแน่นหวานแหลมสนิท ผลที่งามก็มีมากนับถือกันว่าดีกว่าตำบลอื่น…” ดังนี้ คำอธิบายเรื่อง "มะยงชิด" ของอดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการและภริยาจึงดูเหมือนไม่ค่อยลงรอยกันกับคำอธิบายของราชบัณฑิตยสภานัก
แต่ก่อนพวกบ้านผมที่สุพรรณกินกันแต่มะปราง ถึงหน้าร้อนมีมะปรางดกดื่น กองขายในงานคัดเลือกทหารหรืองานประจำปีกินไม่หวาดไม่ไหว มะปรางหวานปอกเปลือกฝานชิ้นกินชื่นใจ แต่บางต้นมียางกินแล้วคันระคายคอต้องกระแอมกระไอให้โล่งอยู่เรื่อยๆ
มะปรางเปรี้ยวกินเป็นมะปรางดอง มะปรางแช่อิ่ม มากกว่ากินสด
มีคำเรียกมะปรางเปรี้ยวมากว่า กาวาง บางบ้านเรียก มะปรางแจ
มะปรางที่มีเนื้อน้อยเรียก มะปรางกระดูก
มะปรางลูกเล็กที่เป็นเดนคัดเดนเลือกเรียก มะปรางก้นตะกรน[ads]
และเรียกสีม่วงแกมแดงสดใสอย่างสีเม็ดในมะปรางว่า สีเม็ดมะปราง หรือสีม่วงเม็ดมะปราง
จนเมื่อคาราวานรถเร่ถ่ายเทยักย้ายมะยงจากสวนแถบถิ่นปราจีนบุรี นครนายก สุโขทัยไปยังดินแดนอื่น เราจึงเริ่มรู้จักกิน มะยงมี ๒ อย่าง คือมะยงห่าง กับมะยงชิด ชาวสวนคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตเทียมเล่นเทียมจริงว่าการเรียกมะยง "ชิด-ห่าง" นี้มาจากระยะใกล้ไกลกับรสชาติของมะปราง
"มะยงห่าง" มีเค้าว่า “ห่าง” จากมะปรางที่มีรสหวาน จึงมีรสเปรี้ยวนำหวาน
"มะยงชิด" มีเค้าว่า “ชิด” กับมะปรางที่มีรสหวาน จึงมีรสหวานนำเปรี้ยว
advertisement
มะปรางและมะยงชิด หากมองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็นความแตกต่าง เพราะเป็นพืชในกลุ่มเดียวกัน และยังเป็นผลไม้หน้าร้อนที่ได้รับความนิยมมากๆ ทั้งคู่ มะปรางหวานจะให้รสชาติหวานหรือหวานจืด ด้านมะยงชิดจะออกรสหวานอมเปรี้ยว และมะยงชิดไม่มียาง
เรียบเรียงโดย: kaijeaw