เลี้ยงแมลงหางหนีบ กำจัดแมลงศัตรู โรยใส่แปลงผักจัดการเพลี้ยได้
advertisement
แมลงหางหนีบ เป็นอีกหนึ่งแมลงที่มีประโยชน์ของชาวเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากแมลงหางหนีบ สามารถกำจัด-ควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธี ตัวห้ำตัดวงจรชีวิตแมลงศัตรูพืช
advertisement
โดยบัญชีผู้ใช้ Tiktok ที่ใช้ชื่อ chaiyo_herbal_smartfarm ได้ออกมาโพสต์แชร์คลิปพาไปทำความรู้จักแมลงหางหนีบ ที่เจ้าตัวเลี้ยงไว้เพื่อใช้กำจัดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ในแปลงผักที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์
advertisement
“มารู้จักกับ #แมลงหางหนีบ ศัตรูของ#เพลี้ยแป้ง #เพลี้ยอ่อน สามารถขอได้ที่ อารักษ์ขาพืช นำมาโรยใส่แปลงปลูกผัก แมลงหางหนีบจะมาจัดการเพลี้ยในตอนกลางคืนคะ”
advertisement
แมลงหางหนีบมีลักษณะเด่น คือ มีแพนหางรูปคีมใช้ในการจับเหยื่อ ป้องกันตัว สร้างรัง และช่วยในการผสมพันธุ์ ลำตัวเล็กยาวรีค่อนข้างแบน จากหัวจรดแพนหางยาวเฉลี่ย 4-18 มิลลิเมตร แมลงหางหนีบทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช ชอบอยู่ในที่มืดอับชื้น พบได้ทั่วไปในแปลงปลูกพืช เช่น อ้อย ข้าวโพด และพืชไร่พืชผักต่างๆ
advertisement
จะพบออกหากินในเวลากลางคืน เคลื่อนไหวรวดเร็ว หาเหยื่อตามซอกมุมได้ดี และเป็นตัวห้ำที่มีพฤติกรรมดุร้าย จะเข้าทำลายหนอนที่เป็นเหยื่อโดยใช้แพนหางคล้ายคีมหนีบลำตัวของเหยื่อกินเป็นอาหาร ถ้าเป็นไข่หรือแมลงขนาดเล็กที่มีลำตัวอ่อนนุ่มจะกัดกินโดยตรง อีกทั้งสามารถจับกินแมลงศัตรูพืชได้ตั้งแต่ระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย แมลงหางหนีบเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ง่าย สามารถนำไปปล่อยในแปลงเพาะปลูกพืชเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
advertisement
ซึ่งจากในคลิปนี้ก็มีหลายท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย ดังนี้ “เพิ่งรู้ประโยชน์ของมัน” “ถ้าเค้ากินเพลี้ยหมดแล้ว เค้าจะกินอะไรต่อคะ หรือไปอยุ่ไหนคะ” “อาศัยกินแมลงหรือมดตัวเล็กๆค่ะ บางครั้งก็เจาะพืชเพื่อกินน้ำค่ะ ลองหาดูในสารคดีนะคะจะได้ความรู้มากขึ้นค่ะ”
advertisement
“เข้าหูทีแทบร้อง ผมเคยมาแล้ว” “เยี่ยมเลยครับสำหรับความรู้ใหม่” “ขอบคุณค่ะมีประโยชน์มาก”
advertisement
“มันมีประโยชน์เยอะมากเอามาใส่ในพืชไร่พืชสวนแต่คนมักเข้าใจผิดว่ามันอันตราย” “เอามาจากไหน เพาะเลี้ยงยังไงครับ” “ไปขอรับที่อารักขาพืชค่ะ”
>>คลิป<<
ท่านที่สนใจเพาะเลี้ยงแมลงหางหนีบเพื่อใช้ในการกำจัด-ควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธี สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ 0-2579-4580 หรือที่เว็บไซต์ www.doa.go.th/plprotect/
ขอขอบคุณที่มาจาก : chaiyo_herbal_smartfarm