8 ปัจจัยที่ทำให้คุณเสี่ยง! ..ต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
advertisement
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เคยเกิดขึ้นได้สูงโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยภาวะกระดูกพรุนในวัยที่น้อยลงเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม หากเป็นโรคกระดูกพรุน ย่อมส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ปวดร้าวกระดูกไม่ว่าจะลุก จะเดิน จะนั่ง สร้างความทรมานไม่น้อย และปัจจัยอะไรบ้างนั้นทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน Kaijeaw.com มีคำตอบ
advertisement
1. ขาดแคลเซียม
แคลเซียมนอกจากเป็นส่วนประกอบของกระดูกแล้ว ยังทำหน้าที่ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนอื่น ๆ ที่ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก ภาวะขาดแคลเซียมหรือไม่เพียงพอ ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน
advertisement
2. อายุ
ภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางมักจะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนวัยทองและช่วงวัยทอง ซึ่งมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลงตามปริมาณของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งหากไม่มีการดูแลป้องกันอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาภาวะกระดูกพรุนอย่างมากในช่วงอายุประมาณ 60 ปี
[ads]
advertisement
3. ออกกำลังกายน้อย
การออกกำลังที่ไม่เพียงพอทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เนื้อกระดูกเสื่อมสลายเร็ว กระดูกไม่มีการพัฒนาการใช้งาน ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะมีส่วนทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบหัวใจ ปอด หลอดเลือด และทุกระบบมีศักยภาพสูงขึ้น ร่างกายแข็งแรงขึ้น เนื้อกระดูกเสื่อมสลายไปช้ากว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลัง
advertisement
4. การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีส่วนให้ร่างกายขาดน้ำและสารอาหารที่บำรุงกระดูก
advertisement
5. โรคประจำตัว
โรคร้ายต่างๆ ส่งผลถึงสุขภาพซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วยเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง จึงควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ
advertisement
6. ภาวะขาดสารอาหาร
อาหารสำคัญของการสร้างกระดูกคือ โปรตีน แคลเซียม และวิตามิน ดี ซึ่งผู้สูงอายุมักขาดอาหารทั้งสามชนิดนี้ การขาดอาหารจะลดการสร้างมวลกระดูกและกระตุ้นให้เซลล์ทำลายกระดูกทำงานสูงขึ้น
[yengo]
advertisement
7. พันธุกรรม
เพราะพบโรคกระดูกพรุนได้สูงขึ้น ในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ หากคุณเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงนี้จึงต้องดูแลรักษากระดูก ด้วยอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. ยาบางชนิด
การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาในกลุ่ม steroid จะทำให้เนื้อกระดูกลดลง ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงและเกิดกระดูกหักได้ง่าย หลังจากหยุดการใช้ยาความแข็งแรงของกระดูกก็จะดีขึ้นอย่างช้าๆ ก่อนใช้ยาจึงควรต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ห่างไกลโรคกระดูกพรุนกันได้ง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน พักผ่อนให้เพียงพอ และอย่าลืมการตรวจสุขภาพที่มีการตรวจมวลกระดูกด้วย เพื่อหากเกิดสัญญาณของโรคกระดูกพรุน จะได้รับการดูแลรักษาแต่เนิ่น
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com