5 ภัยเงียบ..ในน้ำตาลเทียม!!
advertisement
แอสปาร์แตม (Aspartame) หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ถูกใช้ในอาหารชนิดต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก เป็นสารเคมีที่เป็นที่ถกเถียงในประเด็นของความปลอดภัยมาอย่างยาวนานตั้งแต่มันถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1965
หลายๆ คนอาจมองว่าแอสปาร์แตมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยในการบริโภค เนื่องจากมันได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐบาลอย่างถูกต้อง ทว่า 5 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแอสปาร์แตมต่อไปนี้อาจทำให้เราต้องหันกลับมาคำนึงถึงความเสี่ยงในการบริโภคของมันอีกครั้ง
advertisement
1. สารประกอบในแอสปาร์แตมสามารถเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง
แอสปาร์แตมเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นจากการรวมสารเคมี 3 ชนิดเข้าด้วยกัน นั่นคือกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) และเมธานอล (Methanol) แม้ว่าสารทั้งสามจะสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ตามปกติ แต่หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะก่ออันตรายต่อร่างกาย
โดยเฉพาะเมธานอล ที่สามารถแตกตัวให้กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และกรดฟอร์มิก (Formic Acid) ได้ ซึ่งเมธานอลที่อยู่ในแอสปาร์แตมมีความแตกต่างกับเมธานอลที่พบในอาหารตามธรรมชาติทั่วๆ ไปเช่นในผักและผลไม้ เนื่องจากการผลิตเมธานอลไม่ได้มีการเติมเอธานอล (Ethanol) ลงไปเพื่อป้องกันความเป็นพิษของเมธานอล ดังนั้นหากได้รับในปริมาณที่มากเกินจนร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมด อาจจะไปทำลายเนื้อเยื้อที่มีชีวิตและทำให้ DNA ในเซลล์ได้รับความเสียหาย จนอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้
advertisement
2. แอสปาร์แตมก่อให้เกิดโรคอ้วนและความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ
ก่อนหน้านี้น้ำตาลเทียมเคยถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยในการบริโภคแทนน้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไป ผู้บริโภคเริ่มรับรู้ว่าหากรับประทานน้ำตาลเทียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดเบาหวานได้[ads]
อย่างไรก็ตาม รายงานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นได้ทำการศึกษาและพบว่า แอสปาร์แตมทำให้น้ำหนักตัวของผู้รับประทานเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณที่รับประทานเข้าไปแต่อย่างใด
เมื่อเปรียบเทียบแอสปาร์แตมกับน้ำตาลซูโครสซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่ได้จากธรรมชาติ พบว่าแอสปาร์แตมมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า และจากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านชีววิทยาและการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเยล รายงานว่า แอสปาร์แตมทำให้ระดับการผลิตฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้อยากอาหารและต้องการน้ำตาลในปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม
advertisement
3. ได้รับอนุญาตให้ใช้แม้จะมีรายงานเกี่ยวกับอันตราย
แอสปาร์แตมเป็นสารเคมีที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญระหว่างการพัฒนายาเพื่อรักษาแผลเปื่อยของบริษัท G.D. Searle & Company (ต่อมาถูกซื้อกิจการโดยบริษัท Monsanto ในปี 1985) เมื่อค้นพบว่าสารดังกล่าวให้รสชาติหวานที่ใช้ทดแทนน้ำตาลได้ บริษัทจึงเข้ายื่นขอรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ทันที
นักวิทยาศาสตร์ที่ FDA ทำการตรวจสอบสารเคมีดังกล่าวกับสัตว์ทดลองและพบว่า เมื่อให้ลิงบริโภคเข้าไปทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงและเสียชีวิต การทดลองดังกล่าวจึงถูกระงับโดย FDA ขณะที่บริษัท G.D. Searle & Company ใช้วิธีการรอจนกว่าคณะกรรมการ FDA ชุดใหม่ที่แต่งตั้งโดย โรนัลด์ เรแกน จะเข้าทำงาน และส่งแอสปาร์แตมเข้ากระบวนการอนุมัติอีกครั้ง
ด้วยกระบวนการในการคอรัปชั่นและเล่ห์เหลี่ยมของบริษัทเหล่านี้ ทำให้แอสปาร์แตมกลายเป็นสารเคมีที่แม้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถใช้ผสมในอาหารได้อย่างถูกกฎหมายกว่า 9,000 ชนิด
advertisement
4. วัตถุดิบได้จากของเสียที่เกิดจากแบคทีเรีย E.coli ตัดต่อพันธุกรรม
ในการผลิตแอสปาร์แตม องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลยคือฟีนิลอะลานีน ฟีนิลอะลานีนที่ใช้ในการผลิตแท้จริงแล้วมาจากของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของแบคทีเรีย E.coli ที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมด้วยยีนชนิดพิเศษซึ่งทำให้ตัวมันสร้างเอนไซม์ในปริมาณสูงกว่าปกติเพื่อให้ได้ฟีนิลอะลานีนมาใช้ผลิตต่อไป
การเปิดเผยที่มาของฟีนิลอะลานีน เกิดจากการรับรองสิทธิบัตรแอสปาร์แตมที่ได้รับการรับรองในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในหลายสื่อเมื่อปลายปี 2013 ที่ผ่านมา[ads]
advertisement
5. สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมองและก่อให้เกิดอันตรายได้
เนื่องจากแอสปาร์แตมประกอบด้วยสารเคมี 3 ชนิดในปริมาณแตกต่างกัน โดยมีกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) มากที่สุดคือร้อยละ 40 ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นกรดอะมิโนที่สามารถเดินทางผ่านตัวกรองที่กั้นระหว่างเลือดและสมอง (Blood-Brain Barrier) หากได้รับกรดแอสปาร์ติกเข้าสู่เซลล์สมองในปริมาณมากๆ จากการบริโภคน้ำตาลเทียม จะส่งผลให้เซลล์สมองได้รับความเสียหายจากปริมาณแคลเซียมที่สูงเกินไป และอาจทำให้เซลล์ประสาทเสียหายจนเกิดความผิดปกติกับสมองได้
advertisement
ในกรณีร้ายแรงที่สุด การได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคทางระบบประสาทอย่างลมบ้าหมูหรืออัลไซเมอร์ ยังรวมไปถึงโรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis: MS – โรคที่เกิดจากปลอกไมอีลินรอบเซลล์ประสาทได้รับความเสียหาย ทำให้การเดินทางของกระแสประสาทไม่ดีเท่าเดิม) ภาวะสมองเสื่อม และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติอีกด้วย
ขอขอบคุณที่มาจาก : waymagazine.org, naturalnews.com