ไขข้อสงสัย ทำไมปลั๊กไฟที่มีฟิวส์ถึงผิดกฎหมาย ห้ามซื้อ-ขาย

advertisement
อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ถ้าใช้แบบที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ก็มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายขึ้นสูงมาก
ล่าสุด ทางด้านเพจเฟสบุ๊ก ปลั๊กไทย by มหาชะนี ได้โพสต์เผยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับปลั๊กไฟที่มีฟิวส์ เป็นแบบที่ผิดกฎหมายจริงหรือไม่ เพราะอะไร โดยได้โพสต์ระบุว่า….
advertisement
ปลั๊กที่มีฟิวส์ผิดกฎหมายจริงหรือ ? ต้องบอกว่าเป็นเรื่อง "จริง" ครับ #อธิบายง่ายๆภาษาเข้าใจแบบบ้านๆ
advertisement
– ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ต้องบอกว่ามันเพิ่งมีกฎหมาย มอก. ปลั๊กพ่วงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 นี้เองครับ ซึ่งเป็น มอก. บังคับ ฉบับที่ 2432-2555 นั่นหมายความว่าหลังจากนี้ปลั๊กพ่วงที่จำหน่ายในราชอาณาจักรจะต้องมี มอก. ทั้งหมด ถ้าไม่มี มอก. ถือว่าผิดกฎหมาย ถ้าใครพบเห็นร้านไหนขายปลั๊กพ่วงไม่มี มอก. สามารถแจ้ง สมอ.หรือตำรวจ ปคบ. จะได้รางวัลนำจับ 10% จากยอดค่าปรับทั้งหมดครับผม ซึ่งกฎหมายนี้มีมา 3 ปี ก็ยังถือว่าใหม่สำหรับบางคนที่จะต้องมาอัพเดทข้อกฎหมายเรื่องปลั๊กพ่วงกันครับ
advertisement
– การตีความของ สมอ.
ทาง สมอ. ตีความว่า "ฟิวส์ไม่ถือเป็นตัวตัดไฟ" ซึ่งในความเป็นจริง ฟิวส์มันตัดไฟได้ครับ แต่ทาง สมอ. จะไม่อนุญาตให้ใช้ฟิวส์ในปลั๊กพ่วง มอก.
– ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ในอดีตทาง สมอ. ได้รับข้อมูลและทราบบทเรียนเรียนปลั๊กพ่วงด้อยมาตรฐานที่ใช้ฟิวส์ เนื่องจากฟิวส์และกระบอกฟิวส์เป็นชิ้นส่วนที่ราคาถูก ปลั๊กด้อยคุณภาพจึงมักนำฟิวส์มาใส่ แทนการใช้เบรกเกอร์ แต่ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ เมื่อฟิวส์ขาดและปลั๊กใช้การไม่ได้ จะตีความว่าปลั๊กนั้นเสียง่าย ไม่น่าซื้อใช้ ไม่ทน ซึ่งในความเป็นจริง ฟิวส์ตัด ฟิวส์ขาดนั่นคือสิ่งดีมาก ๆ ทำให้ผู้ประกอบการ มักนำฟิวส์ที่มีค่าเกินสเปกของปลั๊กมาใส่แทน เช่น ปลั๊กสเปก 10A รับไฟได้ 2300W แต่เพื่อไม่ให้ฟิวส์ขาด ผู้ประกอบการก็ใส่ฟิวส์มา 20A ไปเลย ทำให้ฟิวส์ไม่ตัด และเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ เพราะรับไฟเกินกำลังสเปกโดยรวม
advertisement
– อีก 1 เหตุผล
ยังมีอีกเหตุผลนั่นก็คือ หลังจากที่ฟิวส์ขาดแล้ว ทางผู้ใช้งานมักจะนำเส้นลวดหรือสายไฟมาต่อตรงด้วยตัวเองเพื่อใช้งานต่อ ทำให้เกิดความร้อน อันตรายและไฟไม่ตัด ทาง สมอ. จึงไม่อนุญาตให้ปลั๊กพ่วงสามารถดัดแปลงเองได้จากผู้ใช้งาน ข้อกำหนดนี้รวมไปถึง การให้ผู้ประกอบการใช้น็อตที่แปลกจากทั่วไป ให้ผู้บริโภคไม่สามารถไขออกมาได้เองได้ (แต่ก็หาซื้อไขควงตามตลาดได้อยู่ดี)
– และอีก 1 เหตุผล
นั่นก็คือ การใช้เบรกเกอร์ทดแทนฟิวส์ ทำให้ปลั๊กยังสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ โดยการรีเซ็ตเบรกเกอร์ ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคลงไปได้
– แล้วความคิดเห็นของผมระหว่างฟิวส์กับเบรกเกอร์แบบไหนดีกว่ากัน
เชื่อไหมครับ ผมจะตอบเลยว่า "ฟิวส์ตัดไฟดีกว่าเบรกเกอร์" ในกรณีที่ใส่มาตรงสเปก เพราะค่าความต้านทานของฟิวส์นั้นถ้าตรงสเปกและวัสดุมาตรฐาน เมื่อมีไฟเกิน จะตัดไฟเร็วมาก ๆ ต่างจากเบรกเกอร์ที่จะต้องรอให้อุณหภูมิถึงที่กำหนดตามสเปก ถึงจะตัดไฟ (Thermal Breaker) แต่ก็อย่างที่ว่า เราเองก็ไม่สามารถตรวจสอบสเปกฟิวส์ที่ใส่ได้ รวมไปถึงการดัดแปลงของผู้ใช้งานในอนาคต ดังนั้น การใช้งานเบรกเกอร์ ก็ตอบโจทย์การใช้งานปลั๊กพ่วงของเราแล้วครับผม
advertisement
สุดท้ายถ้ามาดูสินค้าที่ร้านเรา เราเลือกคัดสรรของดีมาให้ท่านแล้ว ตามราคา ของเรามีหลายราคา หลากหลายการใช้งาน โดยสามารถซื้อได้ทุกช่องทางที่
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก ปลั๊กไทย by มหาชะนี