จริงหรือ? หากไม่ได้ดื่มกาแฟแล้วจะปวดหัว เป็นอาการหรือคิดไปเอง มาดูคำตอบกันเลยจ้า!
advertisement
อาการติดกาแฟ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับคนจำนวนไม่น้อย อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะเป็นมากหรือเป็นน้อย ซึ่งคนที่ติดกาแฟ เมื่อเลิกดื่มกาแฟมักจะมีอาการปวดหัวตามมา ซึ่งตรงนี้ล่ะค่ะ ที่ทำให้เลิกกาแฟไม่ได้เสียที เพราะพอปวดหัวก็จะไปหากาแฟมาดื่ม ซึ่งหลายคนก็สงสัยว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการไม่ได้ดื่มกาแฟ หรือเป็นอาหารคิดไปเอง มาดูคำตอบกันค่ะ
คนไหนที่เลิกกาแฟ แล้ววันไหนที่ไม่ได้กินแล้วจะมีอาการปวดหัวเป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำคาเฟอีนจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัวลงร่างกายจะสร้างสารขยายหลอดเลือดเพิ่มเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ เมื่อวันหนึ่งหยุดดื่มกาแฟไปทันที ในขณะที่ร่างกายเรายังสร้างสารขยายหลอดเลือดตามเดิม ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดขยายตัวเหมือนคนที่เป็นไมเกรน ใช้เวลาอีก 1-2 วันร่างกายเราก็จะปรับตัวเขาภาวะปกติ ซึ่งบางคนเรียกเหตุการณ์แบบนี้ว่าอาการติดกาแฟ[ads]
การติดคาเฟอีน
การติดคาเฟอีนไม่จัดเป็นยาเสพติดตามเกณฑ์ PSM-IV ของสมาคมจิตแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และนิยมเรียกพฤติกรรมบริโภคคาเฟอีนว่า บริโภคจนเป็นนิสัยหรือติดมากกว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนติดต่อกันนานๆ ในขนาดสูงกว่าวันละ 350 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดการติดคาเฟอีนได้ ขนาดดังกล่าวเทียบเท่ากับกาแฟ 4-5 ถ้วย กาแฟกระป๋องพร้อมดื่ม 2-4 กระป๋อง ชา 10 ถ้วย เครื่องดื่มชูกำลัง7 ขวด หรือน้ำอัดลมประเภทโคล่า 8-9 กระป๋อง ถ้าดื่มจนติดเป็นนิสัยและไม่ได้รับคาเฟอีนจะเกิดอาการปวดศีรษะภายใน 6 ชั่วโมง ตามมาด้วยอาการอ่อนเพลีย น้ำมูกไหล เหงื่อออกมาก ปวดกล้ามเนื้อ วิตกกังวล กระวนกระวาย อาการเหล่านี้จะคงอยู่ไม่ต่ำกว่า 72 ชั่งโมง
องค์ประกอบที่ทำให้ติดคาเฟอีน คือ ปริมาณของคาเฟอีนที่ได้รับต่อวัน ระยะเวลาการบริโภค ผลที่พึงประสงค์ที่เกิดจากคาเฟอีน สภาวะแวดล้อมและสังคม รสชาติของผลิตภัณฑ์ที่บริโภค พฤติกรรมในการรับรองแขกทางสังคม สภาวะทางเศรษฐกิจและแรงจูงใจ พื้นฐานความรู้ของประชาชน[ads]
จะเห็นได้ว่าคาเฟอีนมีผลต่อร่างกายเรามากมายซึ่งให้ทั้งประโยชน์และโทษกับร่างกายถ้าหากเราดื่มในปริมาณที่เหมาะสมก็ก่อให้ประโยชน์กับร่างกายได้แต่ในทางตรงกันข้ามหากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดโทษมหันต์ได้เช่นกัน ถึงแม้ในงานวิจัยยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการทดลองที่ผ่านมาเมื่อเราได้ทราบผลกระทบต่อร่างกายแล้วก็สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายเราได้
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก : การจัดการความรู้