10 นิสัยในการทำงานที่ทำให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ

advertisement
คนเราทุกคนเกิดมาก็ย่อมต้องมีหน้าที่ๆ ต้องรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม และเมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ต้องทำงาน ก็ต้องทำออกมาให้ดี ซึ่งการทำงานในทุกวันนี้ คนทำงานทุกคนย่อมที่จะต้องการให้ตนเองนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลรอบข้าง ทั้งเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกค้า หรือลูกน้อง เพื่อความสำเร็จในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านั้น แล้วอะไรบ้างล่ะ ที่แสดงให้เห็นได้ว่า เราเป็นคนน่าเชื่อถือ วันนี้ Kaijeaw.com จึงมี 10 นิสัยในการทำงานที่ทำให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ มาฝากคนทำงานกันค่ะ
1. ตรงต่อเวลา / รักษาเวลา
เรื่องของเวลานั้นสำคัญ การขาดงาน การเข้าประชุมสาย การไม่ไปตามนัด การส่งงานช้า ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ล้วนทำให้ตัวเราขาดความน่าเชื่อถือ ยิ่งบ่อยเท่าไหร่ ยิ่งมากเท่านั้น การที่คุณไปช้ากว่าคนอื่นที่ได้นัดหมายกันแล้วนั้น (ไม่ว่าด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่) นั่นหมายถึงการที่เราทำให้อีกฝั่งต้องรอ และทำให้อีกฝั่งรู้สึกว่าคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับพวกเขาเลย แต่ในทางกลับกัน การที่เราไปตรงต่อเวลา หรือรักษาเวลาได้ดีก็จะทำให้ใครๆ อยากทำงานร่วมกับเรา เพราะอย่างน้อยในเรื่องพื้นฐานที่สำคัญอย่างเวลานั้น พวกเขาก็สามารถเชื่อใจคุณได้
advertisement

2. รักษาคำพูด
สิ่งที่คนเรามักจะทำก็คือ รับปากไปก่อน แล้วค่อยมาแก้ตัวทีหลังว่าทำไมถึงทำไม่ได้อย่างที่รับปากไว้ พฤติกรรมลักษณะนี้มีแต่จะทำให้ตัวเราหมดความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ การไม่รักษาคำพูด พูดอย่างแล้วทำอีกอย่าง ทำไม่ได้อย่างที่พูด สิ่งนั้นมันก็เหมือนกับการหักหลัง แทงข้างหลัง และทำลายความคาดหวังของอีกฝ่าย ดังนั้นคุณต้องคิดให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะพูดอะไรออกไป การได้พูดออกไปก็เหมือนเช่นการสัญญา ถ้าทำได้ก็บอกว่าทำได้ และถ้าอะไรทำไม่ได้ก็บอกว่าทำไม่ได้ อย่าเพียงแต่ทำให้อีกฝั่งพอใจชั่วคราว แล้วมาผิดหวังในภายหลัง ข้อนี้ขอให้ยึดหลักความเป็นจริงเข้าไว้
3. ไม่นินทาผู้อื่น
การนินทาผู้อื่น พูดไม่ดีลับหลัง นินทาก็คือ การพูดถึงคนอื่นในทางที่ไม่ดี โดยที่คนที่เราพูดถึงนั้นไม่อยู่ตรงนั้นด้วย การทำพฤติกรรมแบบนี้ คนที่ฟังเราอาจจะรับฟังอย่างดี แต่ในใจเขาอาจรู้ธาตุแท้และคิดว่า “ขนาดคนอื่นยังโดยนินทา แสดงว่าเราเองก็คงจะต้องถูกคนนี้นินทากับคนอื่นเช่นกัน” เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ความเชื่อถือที่มีต่อคนคนนี้ก็จะลดลง
advertisement

4. กล้ารับผิดชอบ
คนบางประเภทที่คิดว่าตัวเองถูกเสมอ และมองว่าความผิดพลาดไม่ใช่สาเหตุมาจากตัวเอง พยายามหาเหตุผลโยนความผิดให้ผู้อื่น กระทำเช่นนี้ทำให้หลายๆ คนไม่อยากทำงานด้วย เพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะโดนปัดความรับผิดชอบใส่เมื่อไร แต่ถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา แล้วเราไม่ได้เอาแต่หาข้ออ้างหรือข้อแก้ตัว แต่ยอมรับ ยืดอกรับผิดชอบและฟังคำวิจารณ์ต่างๆ อย่างน้อยมันก็ทำให้คนที่ทำงานร่วมกันมองเห็นว่า คุณไม่ได้หนีปัญหาแต่อย่างใด
5. ไม่เลือกปฏิบัติ
บางคนที่ชอบประจบประแจงเลียแข้งเลียขาเจ้านาย พูดคำหวานๆ กับคนที่มีประโยชน์ จะทำให้ผู้อื่น รวมถึงคนที่คนกำลังประจบด้วยนั้น มองว่าคุณไม่จริงใจ ไม่น่าเชื่อถือ คิดแต่เรื่องผลประโยชน์เท่านั้น ดังนั้นควรทำแต่พองาม และจงทำดีต่อทุกคนอย่างเสมอกันอย่าเลือกปฏิบัติ เป็นเพื่อนกับทุกคนด้วยความจริงใจ
advertisement

6. ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวเรื่องงาน
หลายๆ ครั้งที่เรามักจะเจอกับปัญหาเรื่องอคติระหว่างกัน จนทำให้หลายๆ คนไม่เป็นอันทำงาน ประเภทคนนี้ไม่ชอบกับคนนั้น การใช้อคติในการทำงาน ใช้หน้าที่ตัวเองในการกลั่นแกล้งหรือกดดันคนอื่น ซึ่งนั่นจะทำให้ถูกมองว่าไม่ได้ทำงานจริงๆ แต่อย่างใด การพยายามทำร้ายคนอื่นในที่ทำงานผ่านการทำงานจึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเลย
7. ช่วยเหลือคนอื่น
นอกจากการทำงานตามหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่แล้ว การมีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่นในที่ทำงานด้วยกัน นอกจากจะทำให้ผู้อื่นมองคุณในด้านบวกแล้ว เขายังเชื่อถือในความรักงาน และน้ำใจที่ดีของคุณอีกด้วย
advertisement

8. มีกาลเทศะและสัมมาคารวะ
เป็นคนที่รู้อะไรควร อะไรไม่ควร และมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสกว่าทั้งด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ เข้าใจและปฏิบัติมารยาทแบบไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณละทิ้งความคิด และตัวตนของตนเมื่อเจอข้อขัดแย้งต่างๆ แต่ขอให้คุณแสดงความคิดเห็นของคุณอย่างตรงไปตรงมา แบบมีมารยาทและถูกกาลเทศะ
9. สร้างบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ
บุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ ทั้งเรื่องภายนอก อย่างเรื่องการแต่งตัว ที่ควรเป็นไปตามระเบียบของงาน สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ภายในคือไม่ควรมีกิริยาวอกแวก พูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด และไม่ทำตัวตามสบายมากจนเกินไป[ads]
advertisement

10. อย่าเอาเปรียบคนอื่น
คนเราควรทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเสียก่อน จะได้ชื่อว่าน่านับถือ ก่อนที่จะไปขอให้คนอื่นทำอะไรก็ต้องคิดเรื่องนี้ให้ดีๆ เพราะการขอความช่วยเหลือบางครั้ง (หรือหลายๆ ครั้ง) คือการเพิ่มงานให้กับอีกฝ่าย ซึ่งถ้าเขาไม่อยู่ในภาวะที่พร้อมแล้วล่ะก็ เขาก็จะเริ่มรู้สึกว่าการขอร้องนั้นคือการเอาเปรียบพวกเขาได้ง่ายๆ
เราเองก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือของตัวเราเอง ให้เกิดขึ้นกับบุคคลรอบข้างได้ไม่ยากค่ะ ลองนำเอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันดูนะคะ แล้วชีวิตของคุณก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com