ยาที่คุณแม่ให้นมลูก..ควรงด!!
advertisement
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องคอยใส่ใจดูแลสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของครรภ์นะคะ จนกระทั่งครบอายุครรภ์และลูกน้อยคลอดออกมาลืมตาดูโลก ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะต้องดูแลลูก และหน้าที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการมอบอาหารที่ดีที่สุดแก่ลูก นั่นก็คือการให้นมแม่นั่นเองค่ะ ซึ่งนอกจากแม่จะต้องคอยดูแลลูกน้อยแล้ว ยังต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อจะได้ผลิตน้ำนมที่ดีมีคุณค่าอย่างเพียงพอต่อลูกน้อย ดังนั้นเวลาจะทานอะไรคุณแม่จำเป็นต้องระวัง เพราะบางอย่างสามารถผ่านนมแม่ไปยังลูกด้วย โดยเฉพาะยา เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องระวังให้มาก แต่ไม่จำเป็นถึงกับต้องกลัวและไม่กล้ากินยาใดๆ หรอกนะคะ อะไรอย่างไรบ้างนั้น ตาม Kaijeaw.com มาดูกันค่ะ[ads]
advertisement
ยาที่คุณแม่ให้นมควรงด
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) สารกัมมันตรังสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฉายแสงหรือฉีดก็ตาม และยาคลายเครียดหรือยานอนหลับ (ยารายการสุดท้ายนี้จะทำให้ลูกมีอาการง่วงซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เชื่องช้าและสติปัญญาด้อยลงได้ค่ะ) รวมทั้ง ยาลดกรดและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งสะสมในน้ำนมได้และไม่ควรใช้คือ ไซเมทีดีน (Cimetidine) และรานิทิดีน (Ranitidine) เพราะอาจก่อพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางลูกได้
1. Amiodarone ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ยาชนิดนี้ถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณมาก อาจทำให้ทารกได้รับยาผ่านทางน้ำนมซึ่งยานี้มีไอโอดีน(iodine) เป็นส่วนประกอบทำให้ทารกเกิด ภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) นั่นคือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
2. ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง เช่น Cyclophosphamide, Cyclosporine, Doxorubicin, Methotrexate
ยาอาจกดระบบภูมิคุ้มกัน กดไขกระดูกในทารกได้
3. ยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine + Caffeine
ยาขับออกทางน้ำนมได้ ผลของ Ergotamine ทำให้ทารกเกิด Ergotism (อาเจียน ท้องเสีย และชัก) รวมทั้งกดการหลั่งของน้ำนม ในขณะที่ Caffeineในขนาดที่ใช้ไม่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่หากใช้ติดต่อกันจนเกิดการสะสมจะมีผลกระทบต่อการนอนของทารก จึงห้ามให้นมบุตรในระหว่างที่ใช้ยาดังกล่าว
4. ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosupressants)
ยาอาจกดระบบภูมิคุ้มกันของทารกได้
5. ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ชนิด รับประทาน เช่น Isotretinoin เป็นยารักษาสิวที่มีอาการรุนแรง ที่ไม่สามารถควบคุมอาการจากการรักษาอื่นๆ
ยาถูกขับออกทางน้ำนมได้ อาจทำให้ทารกที่ได้รับนมจากแม่ได้รับยานี้แล้ว เกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น ปวดหลัง เป็นพิษต่อตับ เป็นต้น
advertisement
ยาที่คุณแม่ให้นมสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ในปริมาณที่พอเหมาะ ได้แก่ ยาทั่วไปที่ใช้รักษาอาการต่างๆ และโรคทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นขณะที่คุณแม่ยังต้องให้นมลูกอยู่ ยาที่ใช้บ่อยๆ มีดังนี้
1. ยาแก้หวัด ยกเว้นยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ซีสตามีน เช่น บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) เพราะจะทำให้ลูกร้องกวน นอนไม่หลับ ถ้าคัดจมูกควรใช้ยาทาหรือเช็ดจมูกให้โล่งดีกว่ายารับประทาน ควรหลีกเลี่ยงยาผสมที่มีตัวยาหลายๆ อย่างในเม็ดเดียวกัน หรือที่ออกฤทธิ์นานๆ เพราะจะส่งผลต่อลูกเป็นเวลานานด้วย
2. ยาแก้ปวด ยาที่ใช้แก้ปวดได้ในคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมคือ พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofon) กรดมีเฟนามิก (Mefenamic Acid) ไดโคลฟิแนก (Diclofenec)
3. ยาฆ่าเชื้อ (จำพวกยาปฏิชีวนะ) กลุ่มที่ใช้ได้คือ กลุ่มเพนนิลซิลลิน (Penicillin) ยารักษาวัณโรค กลุ่มยารักษามาเลเรีย ที่ไม่ควรใช้คือ ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
4. ยาระบาย ที่ใช้ได้โดยไม่มีอันตรายต่อลูก คือยาที่มีคุณสมบัติพองตัวในน้ำ เพิ่มกากอาหารและยาระบายมิลค์ออฟแมกนีเซีย (M.O.M.) ส่วนที่ไม่ควรใช้คือยาระบายมะขามแขก
5. ยาลดกรด รักษาแผลในกระเพาะ ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม เพราะซึมผ่านน้ำนมได้น้อย คุณแม่จึงใช้ได้อย่างสบายใจ ส่วนยารักษาแผลในกระเพาะแนะนำให้ใช้ซูคราลเฟต (Sucrafate) ซึ่งซึมผ่านไปยังน้ำนมได้น้อย
6. ยาคุมกำเนิด หากจำเป็นต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ควรเลือกสูตรที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำ โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เนื่องจากฮอร์โมนนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างน้ำนม ดังนั้นหากจะคุมกำเนิดในช่วงที่ให้นมลูก ขอแนะนำให้ใช้วิธีธรรมชาติหรือสวมถุงยางอนามัยค่ะ[ads2]
หลักง่ายๆ ที่คุณแม่มือใหม่พิจารณาการใช้ยาในระหว่างให้นมลูกคือ
– หลีกเลี่ยงการใช้ยา หากไม่จำเป็น หรือถ้าเป็นไปได้ให้เลื่อนการใช้ยาไปจนกว่าจะถึงเวลาที่ทารกหย่านม
– หลีกเลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์เนิ่นนาน
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว
– ควรเลือกใช้ยาที่มีขนาดต่ำที่สุดหรือใช้ยาในช่วงระยะเลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
– ควรเลือกใช้ยาที่มีรูปแบบสูดพ่นหรือใช้ภายนอก แทนการใช้ยาแบบรับประทานหรือฉีด เช่นยาบรรเทาอาการคัดจมูก แบบสูตรพ่นแทนยาบรรเทาอาการคัดจมูกแบบรับประทาน
– ควรรับประทานยาทันทีหลังให้นมลูกเสร็จ เพื่อให้ระยะเวลาการรับยา ห่างจากการให้นมครั้งถัดไปนานที่สุด
– ในกรณีที่ต้องรับประทานยาวันละหลายครั้ง คุณแม่สามารถบีบน้ำนมเก็บไว้ก่อนที่คุณแม่จะรับประทานยา
– คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูก เช่น นอนหลับปกติไหม มีผดผื่นขึ้นหรือเปล่า หรือมีอาการผิดปกติอย่างไร เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
– หยุดให้นมลูกในกรณีที่เป็นยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตร
การกินวิตามินต่างๆ ในระหว่างการให้นมลูก
สำหรับวิตามินต่างๆ ที่คุณแม่มือใหม่รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย ยังไม่พบว่ามีผลกระทบต่อลูก นอกจากผลกระทบต่อคุณแม่โดยตรงหากรับประทานไม่ถูกต้อง โดยปกติในน้ำนมแม่จะมีแร่ธาตุหลักๆ เช่น แคลเซียม, แมกนีเซียม, โซเดียม, โปแตสเซียม, ฟอสเฟต และคลอไรด์ อยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้ว ยกเว้นลูกที่คลอดก่อนกำหนดจะต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากขึ้น คุณแม่อาจต้องรับประทานแร่ธาตุทั้งสองเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุนี้ในน้ำนมหรือเลือกให้แร่ธาตุทั้งสองแก่ลูกน้อยโดยตรงได้
เพราะว่าน้ำนมอุ่นๆ จากอกของแม่เป็นสุดยอดอาหารต่อลูกน้อยนะคะ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก ควรได้รับนมแม่ล้วนๆ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของแม่ที่ต้องใส่ใจในการให้นมลูก หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และยาต้องห้าม เพื่อจะได้ให้นมลูกน้อยอย่างสบายใจหายห่วงในทุกๆ วันค่ะ