วิ่งแบบไหนให้ถูกต้อง..ไม่เหนื่อยหอบง่าย!!
advertisement
การวิ่ง เป็นการออกกำลังที่ทำได้ง่าย วิ่งคนเดียวก็ได้ เป็นกลุ่มก็ได้ การวิ่งเป็นการออกกำลังที่เรียกเหงื่อได้ดี คนจึงนิยมวิ่งแถมยังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อหลายส่วน สำหรับคนวิ่งใหม่ๆๆ อาจมีปัญหาในการวิ่งเพราะอาจไม่มีการเตรียมร่างกายและเตรียมพร้อมที่ดี วันนี้ Kaijeaw.com มีวิธีการวิ่งที่ถูกต้อง ไม่ให้เหนื่อยหอบง่าย มาฝากค่ะ
advertisement
1. จัดสภาพร่างกายให้เหมาะสมก่อนวิ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่บางคนอาจมองข้ามไป แต่ที่จริงมันจะช่วยให้คุณพร้อมสำหรับการวิ่งได้มากเลยทีเดียว
– การเลือกรองเท้าวิ่ง : สิ่งนี้ทุกคนมองข้าม แต่รองเท้าที่ดีจะทำให้คุณวิ่งได้นานมากขึ้นเลยทีเดียว เราแนะนำให้คุณอ่านวิธีเลือกรองเท้าวิ่งอย่างถูกต้องที่นี่[ads]
– การรับประทานอาหารก่อนวิ่ง : หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องกินแป้งและน้ำตาลเยอะเพื่อสำรองพลังงานเพื่อจะได้วิ่งได้นานๆ แต่ที่จริงแล้วคุณควรกินมื้อที่ไม่หนักมากก่อนวิ่งเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายคุณย่อยอาหารและนำพลังงานไปใช้ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังทำให้คุณไม่จุกเวลาวิ่งหนักๆด้วย
– การเตรียมร่างกายก่อนวิ่ง : คุณควรพักก่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆอย่างสม่ำเสมอในแต่ละวันที่คุณจะออกกำลังกาย เพราะถ้าหากร่างกายคุณขาดน้ำแล้ว คุณจะไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มที่ได้
2. เช็คสุขภาพตัวเองให้ฟิตพร้อมวิ่ง เครื่องจักรกลที่อะไหล่ชำรุดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ แล้วนับประสาอะไรกับร่างกายของเราที่อาจจะมีความไม่พร้อมเล็ก ๆ น้อย ๆ ซ่อนอยู่บ้าง ซึ่งจุดนี้ก็อาจทำให้คุณวิ่งได้ไม่นานนัก วิ่งไปสักพักก็รู้สึกไม่ไหว เจ็บเท้าบ้าง เจ็บเข่าบ้าง ในที่สุดก็ถอดใจกลับบ้านไปนอนดีกว่า
ทว่าหากยังมีความฮึดอยากจะวิ่งเพื่อสุขภาพที่ดีหลงเหลืออยู่ในใจลึก ๆ แนะนำให้ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายของตัวเองให้เสร็จสรรพ เช่น เช็คความคล่องตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช็คสุขภาพเข่า หลัง เอว สะโพก ให้แน่ใจว่ามีความแข็งแกร่งและไม่เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บใด ๆ ได้ง่าย เพื่อที่เราจะได้ออกวิ่งอย่างสบายร่างกาย ไม่เหนื่อยง่ายจนเกินไปนัก
advertisement
3. วอร์มอัพก่อนวิ่ง สำหรับนักวิ่งมือใหม่ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลย ก่อนจะออกสตาร์ทก็ควรวอร์มอัพกันก่อน โดยอาจจะเดินเร็วสัก 5-10 นาทีในเบื้องต้น หรือลองทำ 10 ท่าวอร์มอัพร่างกายก่อนวิ่ง เพิ่มความฟิต วิ่งได้นานขึ้น ตามนี้
4. ขยันวิ่งเข้าไว้ แน่นอนว่าการวิ่งครั้งแรกจะต้องเหนื่อย ต้องหอบ แลtวิ่งได้แค่ไม่กี่นาที เพราะร่างกายเรายังไม่คุ้นชินกับการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอด้วยการวิ่งมาก่อน แต่หากเรายังไม่เลิกล้มความตั้งใจ วิ่งวันนี้เหนื่อยแล้ว พรุ่งนี้ก็ยังคงมาวิ่งใหม่อีกครั้ง ร่างกายก็จะค่อย ๆ ปรับตัวและทำให้เราวิ่งได้นานขึ้นแต่เหนื่อยน้อยลงได้ ฉะนั้นก็จงขยันวิ่งเข้าไว้ค่ะ อย่างน้อยวิ่งให้ได้วันละ 5-10 นาที ต่อเนื่องกัน 5 วันต่อสัปดาห์ก็ยังดี
5. ค่อย ๆ เพิ่มความอึดไปเรื่อย ๆ ถ้าได้วิ่งติดต่อกันสักระยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเราวิ่งได้ในระยะที่ไกลขึ้น นานขึ้น และมีความอึดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตรงนี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของนักวิ่งนะคะ เพราะแปลได้ว่าร่างกายของคุณเริ่มจะคุ้นชินกับคาร์ดิโอแบบวิ่งให้ใจเต้นตึก ๆ เข้าแล้วล่ะ !
อ้อ ! แต่แม้จะรู้สึกว่าวิ่งได้สตรองขึ้นแล้ว ก็อย่าได้ริลองเพิ่มความเข้มข้นให้การวิ่งแบบก้าวกระโดด เช่น สัปดาห์ที่แล้ววิ่งไม่เกิน 30 นาทีมาโดยตลอด แต่ในวีคนี้กะไว้ว่าจะวิ่งสักชั่วโมงไปเลย เฮ้อ…เจอแบบนี้สังขารคงอยากบอกว่าเกินกว่า (ร่าง) กายจะทนไหว ทำอะไรช่วยปรึกษากันหน่อยนะจ๊ะ เอาเป็นว่าค่อย ๆ เขยิบเวลาวิ่งไปทีละ 10-15 นาทีก่อนก็พอ
advertisement
6.หายใจให้ถูก การหายใจที่ถูกคือการหายใจเป็นจังหวะทางปาก เช่น “เข้า เข้า ออก ออก” (2:2 Rhythm) หรือ “เข้า เข้า เข้า ออก ออก ออก” (3:3 Rhythm) โดยเป็นการหายใจด้วยส่วนท้องไม่ใช่อก ในขณะที่การหายใจที่ผิดคือการหายใจ “เข้า ออก” รัวๆ (1:1 Rhythm) ซึ่งจะทำให้คุณไม่สามารถนำอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ระหว่างวิ่ง ทั้งนี้หากคุณหายใจถูกวิธี คุณจะสามารถพูดไประหว่างวิ่งได้
7. พกน้ำ เพราะน้ำจะช่วยให้คุณสดชื่นและพร้อมกับมาวิ่งได้อีก อีกทั้งยังทำให้การเผาผลาญพลังงานคุณดีขึ้น อย่างไรก็ดีคุณไม่ควรดื่มน้ำเยอะเกินไปเพราะจะทำให้จุก ควรจิบทีละนิดเพื่อให้ดับกระหายก็พอ
8. ลองวิ่งให้เร็วขึ้น แม้เราจะขอไม่ให้เพิ่มความเข้มข้นกับการวิ่งด้วยการยืดระยะเวลาวิ่งให้นานขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งก็เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้ และป้องกันความเหนื่อยที่น่าจะทบทวีคูณของคุณเอง แต่เราจะขอให้คุณเพิ่มความเร็วในการวิ่งแทน โดยวิ่งด้วยความเร็วปกติประมาณ 2-3 นาที สลับกับวิ่งแบบสปรินต์ (Sprint) ประมาณ 10 วินาที วนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ หรือหากจะประลองฝีเท้าวิ่งของตัวเองอาจเพิ่มรอบสปรินต์เป็น 30 วินาทีก็ได้ ทั้งนี้การวิ่งในลักษณะดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มขีดความสามารถของปอด ซึ่งจะช่วยให้คุณวิ่งได้นานขึ้น อึดมากขึ้น
9. วิ่งสลับเดินเร็ว หากวิ่งเต็มฝีเท้าไปได้สักพักแล้วรู้สึกเหนื่อยเหลือเกิน ลองลดความเร็วแล้วเดินเร็วดูบ้างก็ได้ โดยก้าวเดินยาว ๆ แบบเร่งสปีดให้เร็วกว่าเดินปกติสักหน่อย วิธีนี้ก็จะช่วยป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดความตึงเครียดมากเกินไป พอร่างกายเริ่มวิ่งไหวค่อยเร่งฝีเท้ากลับไปวิ่งปกติ
advertisement
10. ฟังเพลงเบา ๆ คลอไปด้วย นี่ไม่ใช่ทฤษฎีปฏิบัติที่นำเสนอมาเพื่อล้อเล่นขำ ๆ แต่มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sports Medicine and Physical Fitness ยืนยันเลยว่า การฟังเพลงจังหวะสบายหู หรือเพลงป๊อปช้า ๆ ในระหว่างที่วิ่ง จะช่วยให้อาสาสมัครวิ่งได้นานขึ้นได้ เมื่อเทียบกับอาสาสมัครกลุ่มที่ฟังเพลงจังหวะเร้าใจ หรือไม่ฟังเพลงใด ๆ ในขณะวิ่งเลย[ads]
11. สร้างสภาพแวดล้อมในการฝึก ไม่ว่าจะเป็นการชวนเพื่อนไปวิ่งหรือออกกำลังกายอื่นๆด้วยกัน เพราะมันจะดีกว่าคุณฝึกอยู่คนเดียว นอกจากนี้หากคุณมีเพื่อนเก่งๆเข้าร่วมการฝึกด้วย มันจะก่อให้เกิดสัญชาติญาณการแข่งขันซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และมันจะทำให้คุณเก่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องสงสัยเลย
การวิ่งที่ถูกวิธีนอกจากจะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายดีขึ้น เพราะได้รับการกระตุ้นการทำงานที่ถูกวิธี แถมยังทำให้เราไม่เหนื่อยง่ายมีความสนุกในการวิ่งทุกครั้ง นอกจากนี้การวิ่งอาจทำให้เราได้มิตรภาพที่ดีกลับมาด้วยนะค่ะ รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมเอาไปใช้ในการวิ่งนะคะ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com