ไขข้อสงสัย เหตุใดพระภูมิจึงชอบให้คนถวายม้าลาย
advertisement
หลายๆท่านคงจะเคยสังเกตเห็นว่าตามศาลพระภูมิ ที่มักจะมีคนเอามาลัย หรือน้ำแดง มาบนถวาย และสิ่งหนึ่งที่ศาลพระภูมิหลายๆที่ มักจะมีคือรูปปั้นม้าลาย ที่ล่าสุดคุณ Ramet Tanawangsri ได้ออกมาโพสต์ไขข้อสงสัยเรื่องนี้ว่า
advertisement
เท่าที่ผมทราบมาเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องขึ้นมาได้นี้เกิดจากการพูดเล่นแบบทีเล่นทีจริง ของพระโหราจารย์ท่านหนึ่ง มีผู้ให้ท่านพยากรณ์ชะตาชีวิตให้ ท่านทักว่าดวงชะตาแบบนี้ไม่ควรเดินทางไกล ระวังจะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ไม่ตายก็พิการเลี้ยงไม่โต แต่มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยจริงๆ
advertisement
เพราะ เจ้าของดวงชะตามีอาชีพขับรถสิบล้อขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดทั่วประเทศ ต้องขับรถสิบล้อเดินทางขึ้นลงเดือนละหลายเที่ยว เกิดวิตกจริตเครียดและกังวลต่อคำพยากรณ์เหตุร้ายนั้น ซักถามถึงวิธีการแก้ไขเรื่องที่เลวร้ายนั้นจากหลวงปู่ ท่านบอกว่าแค่เตือนว่าบนท้องถนนนั้นเป็นเสมือนสนามรบ พลาดเผลอเมื่อใดไม่ตายก็พิการหรือติดคุก ในสนามรบ ไม่ฆ่าเขา เขาก็ฆ่าเรา บนท้องถนน ไม่ชนเขา เขาก็ชนเรา
advertisement
บนถนนมีที่เดียวที่เท่านั้นที่ปลอดภัยมากที่สุด คือ ทางม้าลาย กลัวมากนักก็ไปแก้เคล็ดบนพระบนเจ้าท่านไว้ว่า ถ้าเดินทางไปกลับได้อย่างปลอดภัยจะถวายม้าลายสักตัวก็ได้ท่านพูดแบบ ขอไปที ทีเล่นทีจริง เป็นการชี้ทางออกให้ญาติโยมสบายใจขึ้น คนขับรถสิบล้อไม่รู้จะไปบนที่ไหนมองเห็นศาลพระภูมิก็เลยนึกขึ้นมาได้ บนม้าลายกับพระภูมินี่แหละวะ
advertisement
ตั้งแต่นั้นมาทุกครั้งที่คนขับรถสิบล้อเดินทางกลับได้โดยปลอดภัย ก็จะนำม้าลายปูนปั้นมาแก้บนถวายพระภูมิท่านครั้งละหนึ่งตัว เนื่องจากคนขับรถสิบล้อขับรถขึ้นล่องต่างจังหวัดเดือนละหลายเที่ยว พระภูมิท่านจึงได้รับม้าลายปูนปั้นแก้เคล็ดแก้บนเที่ยวละหนึ่งตัว จนกลายเป็นคอกม้าลายฝูงใหญ่
"แล้วแต่ละศาลเขาดูแลม้าลายที่ล้นออกมาอย่างไรกันคะ"
advertisement
"ถวาย ยีราฟ บ้าง แรด บ้าง เจ้าเบื่อแล้ว"
advertisement
"เป็นเครื่องชี้วัดที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ประชากรส่วนหนึ่งยังคงยึดมั่นในขนบการถือผีมากกว่าจะเข้าถึงแก่นของพุทธศาสนา ซ้ำร้ายสาวกของพระพุทธเจ้าหลายตนก็ยังช่วยเผยแพร่"
advertisement
เมื่อมีคนมาถามถึงสาเหตุที่นำม้าลายมาถวายพระภูมิ ก็มีผู้เลียนแบบทำตามๆกันจนกลายเป็นแฟชั่นยอดฮิตสำหรับพระภูมิไป ไม่เพียงแต่ศาลพระภูมิที่อยู่ริมถนนเท่านั้น ยังลามไปถึงพระภูมิตามบ้านเรือนของชาวบ้านด้วย
ขอขอบคุณที่มาจาก : Ramet Tanawangsri