“กระเจี๊ยบแดง- ขมิ้นชัน- ขิง ” ตัวท็อปลดไขมันในเลือด
advertisement
“กระเจี๊ยบแดง-ขมิ้นชัน-ขิง” ตัวท็อปลดไขมันในเลือด จ่อทำคู่มือสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรัง กรมแพทย์แผนไทยฯ เผยสมุนไพรหลายชนิดลดไขมันในเลือดได้ ชู “กระเจี๊ยบแดง – ขมิ้นชัน – ขิง” ตัวท็อป กินได้ทุกวัน แนะกินแบบหมุนเวียนหลากหลาย เร่งคลอดคู่มือสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรังสำหรับแพทย์แผนไทย – ปชช. ใช้รักษา ร่วมดูแลตัวเอง
“กระเจี๊ยบแดง-ขมิ้นชัน-ขิง” ตัวท็อปลดไขมันในเลือด จ่อทำคู่มือสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรัง
จากกรณี นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ หรือ หมอเบิร์ด แผนกประสาทและศัลยแพทย์ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จ.เชียงใหม่ ออกมาเปิดเผยสูตรสมุนไพรทางเลือก มีขิง พุทราจีน เห็ดหูหนูดำ มาตุ๋นรวมกันแล้วดื่มรักษาอาการหลอดเลือดสมองตีบจนไข้อาการดีขึ้น ซึ่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเตรียมตั้งคณะทำงานจัดทำคู่มือไกด์ไลน์สมุนไพรรักษาโรคเรื้อรัง เพื่อเป็นคู่มือการันตีแพทย์แผนไทย – แพทย์ทางเลือกนั้น[ads]
วันนี้ (23 ก.พ.) นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า ปัจจุบันการรักษาโรคด้วยสมุนไพรมีจำนวนมาก อย่างสูตรขิง พุทราจีนแห้ง และเห็ดหูหนูดำ ก็เป็นสูตรอาหารบำรุงสุขภาพของจีนที่ใช้กันมานาน โดยเฉพาะขิง มีการวิจัยมากในสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป พบว่า มีสารลดไขมันและน้ำตาลในเลือดได้ มีฤทธิ์ร้อนลดการอักเสบ และขยายหลอดเลือด โดยใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน หรือนำมาประกอบอาหารได้ จึงไม่แปลกที่พบว่าขิงเป็นส่วนผสมหลักในการรักษาโรคไขมันในเลือด หรือหลอดเลือดสมองตีบ อย่างไรก็ตาม ต้องดูปริมาณไขมันในเลือดด้วยว่ามากน้อยแค่ไหน หากคอเลสเตอรอลสูงกว่า 300 มิลลิกรัมต้องรักษาควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน
advertisement
“ขณะนี้กรมฯได้ตั้งทีมทำคู่มือการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ โดยมอบให้สถาบันการแพทย์แผนไทยเป็นผู้ดำเนินการ เบื้องต้นจะบรรจุว่ามียาและสมุนไพรอะไรในการรักษาโรคได้บ้าง แบ่งเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวน 76 รายการ ประกอบด้วย ยาสูตรเดี่ยว 26 รายการ และยาสูตรตำรับ 50 รายการ นอกนั้นจะเป็นยาสมุนไพรที่สามารถหาได้ในครัวเรือนในการรักษาโรคเรื้อรัง 6 โรค มีเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต และโรคภูมิแพ้ ซึ่งคาดว่าโรคเบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง น่าจะแล้วเสร็จก่อน” อธิบดีกรมพัฒน์ กล่าวและว่า คู่มือนี้จะจัดทำให้กับแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการประกอบการพิจารณา รวมทั้งประชาชนทั่วไปก็สามารถมาขอได้ที่กรมฯ หากจัดทำเสร็จแล้ว[ads2]
advertisement
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ สมุนไพรที่น่าสนใจอีกตัวคือกระเจี๊ยบแดง จากการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า มีสารแอนโทไซยานิน กรดอินทรีย์หลายชนิด วิตามินซี วิตามินเอ และแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งจากการสกัดสารเหล่านี้มาทดลองในสัตว์ทดลองและในคนบางกลุ่ม เมื่อตรวจปัสสาวะพบว่า ไขมันในเลือดลดลงได้ และความดันโลหิตก็ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้น การกินให้ใช้ดอกกระเจี๊ยบแดงตากแห้งแล้วบดเป็นผง ตักปริมาณปริมาณ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ทิ้งไว้ 5 – 10 นาที รินเฉพาะน้ำสีม่วงแดงใสดื่มได้ทุกวัน แต่หากดื่มมากเกินไปจะมีผลข้างเคียงเป็นยาระบาย[ads3]
advertisement
“ความจริงยังมีสมุนไพรหลายตัวที่มีสรรพคุณลดไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง อาทิ กระเทียม ใบกระเพรา ดอกคำฝอย อบเชย พริกชี้ฟ้า พริกไทยดำ ลูกเดือย หรือแม้กระทั่งขมิ้นชัน ซึ่งหาง่ายและนำมาเป็นประกอบอาหารกินได้ทุกวัน ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพียงแต่ต้องกินแบบหมุนเวียน ให้มีความหลากหลาย สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานต้องป่วยไม่มาก จะเห็นผล แต่หากมีระดับน้ำตาลในเลือด หรือไขมันในเลือดมากเกินไป ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาควบคู่กันแบบผสมผสาน และต้องหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอและเหมาะสม”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : facebook.com/ พระอธิการ นพดล กันตสีโล วัดหนองรั้ว