ไขความลับ!! สะพานเปิด-ปิดได้ แห่งเดียวในกรุงเทพ ที่แท้ทำไว้เพื่อสิ่งนี้ รู้แล้วต้องร้องอ๋อ
advertisement
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร คงเคยเจอกับปัญหาการจราจรติดขัด และหากใครที่ต้องสัญจรผ่าน "สะพานพระราม3" ในช่วงเช้า คงเคยสงสัยว่าทำไมรถถึงต้องจอดรออะไรบางอย่างจนทำให้การจราจรดูแออัด วันนี้ไข่เจียวจะพาไปไขข้อสงสัยนี้กันค่ะ
นายณรงค์ คู่บารมี ผู้อำนวยการกลุ่มบำรุงสะพานและถนน สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท ได้เปิดเผยว่าสะพานพระราม 3 เป็นสะพานแห่งเดียวในกรุงเทพฯที่ยังต้องคอยเปิดปิดให้เรือผ่านได้ ปัจจุบันสะพานแห่งนี้มีอายุราว 57 ปี ระยะทางยาว 350 เมตร มีช่องทางจำนวน 4 ช่องจราจร ทางเท้ากว้างฝั่งละ 2.50 เมตร ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 7.50 เมตร ถูกออกแบบให้สามารถเปิดปิดได้ตั้งแต่ต้น[ads]
สะพานเปิด-ปิด
advertisement
advertisement
ในการเปิดสะพานให้เรือผ่านจะมีหัวหน้าหมวดบำรุงทางและวิศวกรคอยดูแลภายในห้องควบคุมที่อยู่บนสะพาน กลไกการยกสะพานมี 3 รูปแบบ ได้แก่
1.ระบบไฟฟ้า เป็นกลไกหลักใช้เวลาในการยกสะพานขึ้นลงจริงไม่เกิน 10 นาที แต่ต้องมีการเตรียมการก่อน จึงเผื่อเวลาไว้ 20 นาที ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเรือด้วย
2.ระบบเครื่องยนต์ เป็นกลไกสำรอง ใช้เวลาในการยกสะพาน 30 นาที
3.ระบบมือ เป็นกลไกสำรองใช้สุดท้าย ใช้มือหมุนเกียร์และทดเฟืองกลไกการยกสะพาน ใช้เวลาในการยกสะพาน 60 นาที
advertisement
เรือที่แล่นผ่านสะพานแห่งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรือหลวงและเรือเอกชนขนาดใหญ่ เข้าไปซ่อมบำรุงที่ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกองทัพเรือ ในการนำเรือผ่านจะมีการแจ้งล่วงหน้ามายังกรมทางหลวงชนบทเพื่อขอให้เปิดสะพาน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการจราจรทางท้องถนน เช่น ตำรวจ สน.บุคคโล และ จส.100 เพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ใช้รถใช้ถนนให้หลีกเลี่ยงเส้นทาง ตามระเบียบกำหนดช่วงเวลาเปิดปิดไว้เฉพาะวันอังคาร เวลา 9 นาฬิกา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเคยชิน
advertisement
(ชมคลิปเพิ่มเติม) [ads]
ในอดีตเคยมีสะพานที่เปิดปิดได้เช่นนี้อีก 1 สะพาน คือ สะพานพุทธ แต่ถูกเชื่อมติดถาวรในครั้งที่มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพราะอายุของสะพานที่มากถึง 84 ปี และปัญหาด้านความแข็งแรง
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com ,ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : กรมทางหลวงชนบท ,js100.com