เผยเคล็ดลับน่ารู้เรื่องเขียง เลือกอย่างไรให้เหมาะกับงานครัว
advertisement
เขียง เป็นอุปกรณ์คู่ครัวไทยที่มีมาอย่างยาวนาน นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่นำไม้มาสรรสร้างเป็นของใช้ในครัวเรือน โดยทั่วไปแล้ว เขียงทำจากไม้มะขาม วันนี้เราเลยมีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเขียงไม้มาฝาก
ล่าสุด ทางด้านผู้ใช้ เฟสบุ๊ก Anik Raviyan ได้โพสต์เกี่ยวกับเขียงไม้แต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยระบุว่า…
advertisement
advertisement
ส่วนเขียงแบบ end grain จะใช้ด้านหัวของไม้มาทำเขียง ให้เข้าใจง่ายๆ คือเอาไม้มาตัดขวาง แล้วด้านตั้งมาทำเขียงแทนด้านนอน เขียงแบบ end grain นั้นจะมีราคาแพงกว่าแบบ edge grain เนื่องจากวิธีการผลิต และ ความหนาของเขียง จึงใช้ไม้ในปริมาณมากกว่า ที่เขียง end grain มีความจำเป็นต้องหนา เนื่องจากกว่าหากเขียงบาง ไม้อาจจะแตก ได้โดยทั่วไปเขียงแบบ end grain นั้นจะต้องมีความหน้า 3.5 cm. ขึ้นไป และควรเป็นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งแน่นอนว่า ไม้เนื้อแข็งย่อมแพงกว่าไม้เนื้ออ่อน ข้อดีของเขียงชนิดนี้ คือ เวลาใช้งานเขียงจะเป็นรอยน้อยกว่า มีดจะหมดคมช้ากว่า เพราะหั่นลงไปในร่องของเสี้ยนไม้ แต่ก็มีข้อด้อยตามมา คือ หนัก และราคาสูง
advertisement
ชนิดของไม้ที่นิยมเอามาทำเขียงนั้น มีทั้งไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็ง ข้อดีของไม้เนื้ออ่อนคือ ราคาถูก น้ำหนักเบา แต่ด้วยความที่ว่าไม้เนื้ออ่อนนั้น เนื้อไม้ไม่แน่น ดังนั้น เวลาใช้งาน เศษอาหารหรือของเหลวจากวัตถุดิบ จะแทรกเข้าไปอยู่ในเนื้อไม้ ทำให้เป็นที่สะสมของแบคทีเรียได้ รวมถึงรอยที่เกิดจากการหั่นบนเนื้อไม้มักจะลึกเป็นที่สะสมของแบคทีเรียได้เช่นกัน รวมถึงการเกิดเชื้อราก็จะเกิดได้ง่ายกว่า เพราะความชื้นจากการล้างจะแทรกเข้าไปในเนื้อไม้ได้ง่ายกว่า ส่วนไม้เนื้อแข็งนั้นก็ตรงข้ามจากที่กล่าวมาข้างบน คือ น้ำหนักมากกว่า เนื้อไม้แน่น เป็นที่สะสมของแบคทีเรียได้ยากกว่า อายุการใช้งานนานกว่า
advertisement
ก่อนที่ผมจะพูดถึงไม้ที่นิยมทำเขียงแต่ละชนิดนั้น อยากให้รู้จักกับหน่วยวัดความแข็งของไม้ที่เรียกว่า Janka scale ซึ่งมีหน่ยวเป็น lbf (pound force) ตัวเลขยิ่งเยอะยิ่งแข็งมาก ไม้ที่นิยมทำเขียงชนิดแรกคือ ไม้ Maple มีหน่วยความแข็งประมาณ 1450 lbf ไม้ชนิดนี้เป็นไม้เนื้อแข็งแต่ก็ไม่แข็งมากจนทำให้มีดทื่อ เนื้อไม้ละเอียด ป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย ความชื้น และคราบต่างๆ ได้ดี แต่เนื่องจากมันเป็นไม้เนื้อขาว ก็อาจจะเห็นคราบบนเนื้อไม้ได้ง่าย และด้วยความที่มันเป็นไม้ที่สูญเสียความชื้นในเนื้อไม้ได้ง่าย มันจึงหดตัวได้ง่าย จึงควรดูแลด้วยการลงน้ำมันบ่อยกว่าปกติ
advertisement
advertisement
advertisement
advertisement
“ของดีคุณภาพดี มาอีกแล้ว เขียงก็รายละเอียดเยอะเหมือนกันนะเนี่ย ขอแชร์ไปป้ายยาให้เพื่อนๆหน่อยนะคะ”
advertisement
“ของคนนี้ ฝีมือล้วนๆ custom made งานดีๆ แนะนำครับ”
จะเห็นได้ว่า เขียงไม้จะมีมากมายหลายชนิดมาก และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป สำหรับแม่บ้านคนใดที่กำลังมองหาเขียงไม้ดีๆ ลองนำความรู้นี้ไปใช้ดูนะคะ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Anik Raviyan