หมอเผยอุทาหรณ์จากกรณีเด็กตกทางด่วน คาร์ซีตไม่แพงเมื่อเทียบกับชีวิต

advertisement
จากกรณีที่เด็กอายุ 6 ขวบ ซึ่งนอนอยู่ตรงแคบรถกระบะ ทะลุกระจกตกจากทางด่วนตกลงมาเสียชีวิต โดยทางคนขับรถบอกว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากพวงมาลัยรถกระบะล็อก แต่ก็ยังเร่งหาสาเหตุกันต่อไป
advertisement

ขณะที่ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัย เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จำลองเหตุการณ์โดยเอาเด็กมานั่งคาร์ซีท พร้อมอธิบายว่า การคาดเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ ไม่ได้ออกแบบให้คาดพอดีกับความสูงของเด็กที่ต่ำกว่า 135 เซนติเมตร จึงมีความจำเป็นต้องใช้เบาะเสริม คาร์ซีท หรือที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุ
advertisement

โดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ เเสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เเละย้ำว่าที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยฯได้รณรงค์การใช้คาร์ซีทมาตลอด แม้จะมีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ในพ.ร.บ.จราจรทางบก วึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า “เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี รวมถึงผู้โดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องจัดที่นั่งคาร์ซีทให้ไม่ว่าตอนใดของรถ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท” แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนในการบังคับใช้ เพราะยังอยู่ระหว่างการร่างข้อกฎหมายรองรับส่วนอื่น ๆ จึงมองว่าระหว่างนี้ เพื่อความปลอดภัย ผู้ปกครองควรใช้คาร์ซีทเพื่อลดความสูญเสีย
advertisement

เพราะถ้าดูจากอุบัติเหตุล่าสุด จะเห็นว่ารถที่ขับมาด้วยความเร็วแล้วเกิดการกระแทก ผู้โดยสารภายในรถจะมีแรงขับ ทำให้เกิดการกระเด็นเท่าความเร็วรถ อย่างเคสเด็ก 6 ขวบ หากนั่งในคาร์ซีท เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกรุนแรง ร่างกายของเด็ก ก็จะยังคงถูกรัดไว้กับที่นั่ง ไม่พุ่งหรือกระเด็นออกนอกรถ
advertisement

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ยังแนะนำผู้ปกครอง ไม่ควรอุ้มเด็กนั่งตักในเบาะหน้า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ระยะห่างของตัวเด็กกับคอนโทรลรถ น้อยกว่า 25 เซนติเมตร จะเกิดการกระแทก ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ควรนั่งเบาะหลังเสมอ ผลการวิจัยพบว่า จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้ถึง 2 เท่า
advertisement

ส่วนรถยนต์ 4 ที่นั่ง สามารถติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยได้ทุกรุ่น ทั้งกระบะ 4 ประตู และรถเก๋ง แต่รถกระบะแคป แนะนำให้ติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กในส่วนเบาะหน้า แต่ต้องไม่มีถุงลมนิรภัยในจุดนั้น เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมทำงาน จะเกิดการกระแทกได้ ขณะผลสำรวจพฤติกรรมการโดยสาร พบว่า มีเด็กไทยเพียงร้อยละ 3.46 ที่ใช้คาร์ซีท
ขอขอบคุณที่มาจาก : ch3plus.com