แชร์เทคนิค!! จัดการกับ “เงินเดือน” ให้อยู่รอดตลอดเดือน แถมเหลือเงินเก็บอีกด้วย
advertisement
เป็นปัญหาหนักอกหนักใจมนุษย์เงินเดือนแทบทุกคนเลยจริงๆค่ะ สำหรับปัญหาของเงินเดือน ที่ไม่เคยครบเดือน ต้นเดือนก็จะมีกิเลสล่อตาล่อใจให้ต้องเสียเงิน แต่พอเริ่มกลางเดือน ก็ต้องเริ่มลากกันแล้วว่าเงินที่เหลือจะพอใช้ภึงสิ้นเดือนหรือไม่ หากไม่มีการวางแผนที่ดี ก็อาจจะมีปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังตามมาได้
advertisement
สำหรับคุณ UnidentifiedD~GirL สมาชิกพันทิปท่านนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งมนุษย์เงินเดือน ที่กังวลกับปัญหานี้เช่นกัน เธอจึงต้องมีการวางแผน จัดการกับเงินเดือนของเธอ ให้สามารถอยู่ได้ครบเดือน ซึ่งเธอก็ได้มาเผยเทคนิกดีๆ ที่ทำให้เธอใช้เงินได้อย่างมีระบบ หมดปัญหาเงินขาดมือและยังช่วยให้เก็บออมได้อีกด้วย เธอจะมีเทคนิกดีๆอะไรน่าสนใจ ไปติดตามกันเลยค่ะ
advertisement
สวัสดีค่ะขอเล่าแบบสั้น ๆ กระชับ ได้ใจความนะคะเนื่องจากพิมพ์บนมือถือค่ะ ค่อนข้างลำบาก
เริ่มเลยนะคะ
จขกท เป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วไปผ่อนบ้านหมดแล้ว ผ่อนรถหมดแล้ว 2 คันแต่ยังมีภาระ และ คชจ.ส่วนตัวอื่น ๆ อีก เช่นค่าอุปโภค บริโภคต่าง ๆ น้ำ ไฟ โทรฯ internetเสื้อผ้าหน้าผมขนมของกินจิปาถะ
มีบัตรเครดิตทั้งสิ้นประมาณ 20 ใบใช้จริง ๆ อยู่ประมาณ 8 ใบ
มีสมุดบัญชีเงินฝากอยู่ 6 ธนาคารมีประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ 1 เล่มกำลังจะซื้อประกันสุขภาพ อีก 1
มีโรคประจำตัวที่ต้องหาหมอทุกเดือน 1 โรคมีหมาที่ป่วยเช่นกัน 1 ตัว ต้องกินยาตลอดชีวิต ค่ารักษาแพงกว่าคนเท่าตัว
จะไม่ขอกล่าวในเรื่องของตัวเลขนะคะว่าเงินเดือนเท่าไร คชจ.ต่าง ๆ เท่าไรแต่จะขอเล่าวิธีการบริหารจัดการเงินที่มีให้พอใช้ และ เหลือเก็บ ค่ะ [ads]
จขกท .ขออนุญาตเพิ่มเติมในส่วนของการใช้บัตรฯ ค่ะตามที่หลาย ๆ ท่านติงมา
เห็นเรารูดและผ่อนอยู่หลายรายการ อาจจะดูน่าตกใจนะคะ
แต่จริงแล้ว เรื่องบัตรฯ เราไม่เสียดอกนะคะ 0% ค่ะ แล้วของเราจริง ๆ มีแค่ 4 รายการค่ะ
ที่เหลือจะเห็นว่า เป็น เตารีด ค.ชงกาแฟ ค.ซักผ้าอะไรพวกนั้น อันนี้ผ่อนให้ญาติค่ะ เค้าเอาไปทำธุกิจค่ะ ส่วนที่เป็นทอง ก็รูดทองแท่ง ตอนที่บัตรฯ มีโปรค่ะ คล้าย ๆ ใหญาติกู้เงินน่ะค่ะ เราเอาทองเก็บไว้ ญาติได้เงินสดไป แล้วผ่อนบัตรเอง ผ่อนเสร็จเมื่อไรก็มาเอาทองไปค่ะ ถ้าเบี้ยวเราก็ขายทอง ยังไงก็กำไรค่ะ
และ 4 รายการของเรานั้น รายการที่ 1 เป็นค่ารักษาพยาบาล 0% 10 เดือนค่ะ
ที่เหลือเป็นรายการ แอร์ ตั๋วค.บิน และ ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่โฮมโปร ทั้งหมด ไม่มีดอกเบี้ยจ้า
ขอบคุณที่เป็นห่วงเรื่องการใช้บัตรนะคะ
เราไม่ได้ทำ บช. รายรับ รายจ่าย ประจำวันนะคะแต่จะ สรุปรายการที่เราจะต้องจ่ายทุกอย่างในแต่ละเดือนออกมา ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละรายการ เป็นจำนวนเงินเท่าไร
สลิปบัตรเครดิต ทุกใบที่รูดใช้จ่ายไป จะเก็บเอาไว้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้ทราบว่า รูดอะไรไปบ้างในเดือนนั้นเราจะมีซองใส ไว้เก็บสลิปบัตร แบบนี้…
advertisement
มีรายการผ่อนของต่าง ๆ กับบัตรเครดิต ก็จะทำรายการแบบนี้เก็บไว้ค่ะว่าบัตรไหน ผ่อนอะไร ยอดเท่าไร กี่เดือน ต้องต่ายเดือนละเท่าไร ตอนนี้ผ่อนไปกี่เดือนแล้ว หมดเดือนไหน
advertisement
พอถึงวันที่เงินเดือนออก
เราจะกดเงินออกมาทั้งหมด แล้วแบ่งออกเป็นส่วน ๆ
1 ส่วนค่าใช้จ่าย
2 ส่วนของบัตรเครดิตที่รูดไป โดยดูจากสลิปที่เก็บไว้
3 ส่วนของ ยอดผ่อนบัตรเครดิต ตามที่จดไว้
4 ส่วนที่เหลือทั้งหมด
ข้อ 1 2 และ 3 เราจะจัดเงินออกเป็นกอง ๆ ว่าเงินไหน จ่ายอะไร แล้วใส่กระเป๋าไว้ แบบนี้……
advertisement
advertisement
กระเป๋ามันจะเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องจะเขียนระบุไว้ว่าต้องเอาเงินไปจ่ายให้บัตรไหน หรือ ธนาคารไหนบ้าง
ถ้าเป็นส่วนของบัตรที่รูดไป เราก็จะคลิปเงินไว้ ปะหน้าด้วยสลิปนั้น ๆ ป้องกันการสับสน
ถ้าเป็นรายจ่ายอื่น ๆ ก็คลิปเงิน แล้วเขียนโน็ตแปะไว้
แล้วรีบเอาเงินทุกบาทในนี้ที่มี ไปฝากเข้า ธ.ไว้ ซึ่ง ธ.เหล่านี้ เราจะไม่ทำ ATM นะคะแต่จะมี banking online ไว้สำหรับจ่ายบัตร และ คชจ.โดยเฉพาะ ดังนั้น บัญชีพวกนี้จะมีเงินหมุนเวียนอยู่ไม่มากนัก
พอถึงเวลาบิล ต่าง ๆ รียกเก็บหนี้ เราก็จะมีเงินที่กันเอาไว้แล้ว ไว้จ่ายอย่างสบายใจค่ะ ไม่กลัวว่าจะเอาเงินนั้นไปใช้ล่วงหน้า หรือ ลืมจ่สย
อ้อ ลืมบอกไปว่า เวลาที่เราจัดเงินเป็นส่วน ๆ สำหรับชำระแต่ละรายการนั้น เราจะปัดหลักสิบทั้งหมด ให้เป็นหลักร้อย ปัดหลักร้อยให้เป็นจำนวนเต็มที่ 500 หรือ 1000 นะคะ หลังจากหักหนี้ธ.แล้ว แต่ละครั้งเราก็จะมีเงินคงบัญชีอยู่ประมาณครั้งละเกือบ ๆ 1000 ค่ะ เป็นการออมไปในตัว
ทีนี้ มาดูเงิน ส่วนสุดท้าย ในข้อ 4 ที่เราเหลือจากการหัก คชจ.ทั้งหมดแล้วนะคะ
เราจะนำมันไปย่อยค่ะ ให้ได้แบงค์ย่อยมากที่สุดย่อย ๆ แบบนี้ค่ะ
advertisement
เอาแบงค์ใหญ่ไปทอนเป็นแบงค์เล็กกว่า แล้วแต่ละครั้งจะหักเศษที่เหลือ จากหลักต่าง ๆ ออกไปเก็บไว้ค่ะ เช่น มีแบงค์ 100 อยู่ 12 ใบ เราจะหักออก 2 ใบเก็บไว้ เวลาเหลือแบงค์ 500 เราก็จะนับให้ครบ หลัก 1000 ค่ะ หากเหลือเศษใบนึง เราก็จะเก็บไว้อีก
จากนั้น เราจะคำนวณ คชจ. แต่ละวัน ว่าเรามี คชจ. อะไรบ้าง (เฉพาะ คชจ.รายวัน คือ ค่ารถ ค่ากิน นะคะ เพราะเราหัก คชจ.หลักออกไปหมดแล้ว)
สมมุติว่า เราต้องมีค่าใช้จ่าย ค่ารถ 180 เราจะปัดขึ้น เป็น 200 ค่ารถ 160 เราก็จะปัดเป็น 200 เช่นกันแล้วบวกเพิ่ม พิเศษให้ตัวเองไปอีก 100 บาทเพราะฉะนั้น ตอนนี้ราจะต้องการเงินสำหรับใช้จ่ายวันละ 500 บาทนะคะ [ads]
เราก็จะมานับเจ้าเงินส่วนที่ 4 หลังจากตัดทอนแบงค์ยิบย่อยออกไปแล้ว ว่าเหลือเท่าไรนำมาหารด้วย 30 วัน ซึ่งแน่นอนว่าบางครั้งอาจจะเหลือมากกว่า 500 หรือบางครั้ง อาจจะเหลือ น้อยกว่า 500 ต่อวัน
หากเหลือมากกว่า เราจะนำส่วนที่เกินมา เก็บค่ะหากเหลือน้อยกว่า เราก็จะใช้ต่อวันเท่าที่เหลือจะพยายามคิดก่อนซื้อทุกครั้ง
จากนั้น แต่ละเช้า เราก็จะหยิบเงินตามจำนวนที่ราอนุญาตให้ตัวเองใช้ ใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ ถ้าตกเย็น เหลือกลับมา เราก็จะเอาไปเก็บแยกไว้ค่ะ เอารวมกันไว้หลาย ๆ วัน เราก็จะมีเงินไว้ช้อปปิงของที่อยากได้แต่…ถ้าใช้เกิน (เราจะมีสำรองในกระเป๋าไว้ 2000 ค่ะ) ตกเย็นกลับบ้าน เราจะทำการคำนวณยอดใหม่ทันทีว่า วันที่เหลือของเดือนนั้น เราสามารถใช้ได้อีกวันละเท่าไร
นี่คือกล่องเก็บเงินของเราค่ะแต่ละช่องก็เป็นเงินก้อนต่าง ๆ ที่แจกแจงไว้
แบงค์ 50 ก็เก็บกับเค้าเหมือนกันนะคะ
advertisement
แต่ก่อน เราเคยใช้วิธีเก็บเงินแบบฝากทวีทรัพย์ ดอกเบี้ยสูง แต่หลัง ๆ มาไม่ค่อยสูงเท่าไรเลยจะเปลี่ยนมาเป็นซื้อกองทุนค่ะ จะได้ไว้ลดหย่อนภาษีด้วย และกำลังลังเลเรื่องซื้อประกันสุขภาพ เป็นเบี้ยทิ้งไว้รักษาตัวตอนแก่ (แนะนำกันได้นะคะ)
ถามว่า ช้อปปิงมั้ย ช้อปค่ะ แต่ก็จะวางแผนในการซื้อเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า จะคิดไว้เลยว่า อยากได้ของแบบไหน สีอะไร ราคาประมาณเท่าไร ถ้าไม่เจอตามที่ตั้งใจอยากก็ไม่ซื้อค่ะ แต่อย่างแรกเลย
คือ ต้องสำรวจของที่ตัวเองมีก่อน จะได้ไม่ซื้อซ้ำ
เวลาที่ผีเข้าช้อกระจายก็มีนะคะ แต่จะเลือกแหล่งค่ะ จะไปดูแถวที่ไม่แพงมาก และจะกำเงินไปจำนวนนึงซื้อแหลก แต่ห้ามเกินเงินที่เอาไป ไม่มีกดเพิ่มนะจ๊ะ
เรื่องของกิน เรากินเก่งมาก แต่ก่อนซื้อก็ต้องพิจารณาว่า นอกจากจะดูหน้าตาดีแล้ว อร่อยแล้ว ต้องมีประโยชน์ด้วย แต่ก็จะมีวันกินแหลกอีกเช่นเดียวกันค่ะ วันนี้ห้ามพิจารณามาก
ส่วนเวลาซื้อของใช้เข้าบ้าน ก็จะดูความจำเป็น คุ้มค่า ราคาเทียบปริมาณ ของแถม ของลดราคา อะไรพวกนี้ค่ะ แต่ก็ยังเน้นคุณภาพนะคะ
เวลาจ่ายตลาดซื้อกับข้าว ก็จะคิดเมนูไว้ค่ะ ว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วก็พยายามจะทำอาหารที่สามารถใช้วัตถุดิบใกล้เคียงกันได้ ซื้อไม่กี่อย่าง แต่นำมาประยุกต์ได้หลายเมนู เช่น ทำซุปมักกะโรนีไก่ ก็ซื้อ แครอท มันฝรั่ง มะเขือเทศ หอมใหญ่ ส่วนที่เหลือ วันต่อไปก็ทำ ข้าวแกงกะหรี่ได้ แค่ซื้อหมูกัยเครื่องแกงเพิ่ม มักโรนีก็นำมาผัดใส่ผักอย่างเดิมได้อีก
ซื้อเห็ดรวมมาผัดน้ำมันหอย อีกวันทำต้มยำเห็ด อะไรแบบนี้ค่ะ
เป็นทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ
ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพียงแค่เราใส่ใจ และมีวินัยในการจัดการ เงินของเราก็จะสามารถอยู่ได้แบบเป็นระบบค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก : UnidentifiedD~GirL