ช้อปดีมีคืน กับ คนละครึ่ง ถ้ามีสิทธิ์ทั้งคู่ เลือกอะไรดี
advertisement
ในช่วงนี้ทางรัฐบาลได้ออกมามาตรการ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งโครงการ ช้อปดีมีคืน กับ โครงการ คนละครึ่ง ซึ่งหากมีสิทธิ์ทั้งคู่จะเลือกลงทะเบียนอันไหนดีวันนี้เรามีข้อมูลมาฝากกัน 'ช้อปดีมีคืน กับ คนละครึ่ง คนมีสิทธิทั้งคู่ แต่ต้องเลือกใช้ได้มาตรการเดียว เพื่อประโยชน์สูงสุด ต้องเลือกให้เหมาะสม คุ้มค่ามากที่สุดร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
advertisement
หลังจากภาครัฐ โดย กระทรวงการคลัง ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวม 3 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการ ช้อปดีมีคืน, โครงการคนละครึ่ง และ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะเห็นได้ว่า ช้อปดีมีคืน กับ คนละครึ่ง ผู้ที่สามารถใช้สิทธิได้ทั้งสองมาตรการ คือ ผู้ที่มีรายได้ และต้องเสียภาษี สามารถใช้ได้ทั้งสองมาตรการ แต่ต้อง เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
ก่อนอื่น มาดูกันก่อนว่า ทั้งสองมาตรการนี้ คืออะไร เหมาะกับใคร
ช้อปดีมีคืน มาตรการ ช้อปดีมีคืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นการบริโภค ในประเทศ โดยสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี และประชาชนผู้ที่มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารวมถึงการส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น ซึ่งเป็นเศรษฐกิจระดับฐานราก และส่งเสริมการอ่าน อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้น มาตรการช้อปดีมีคืน นอกจากจะมุ่งกระตุ้นให้เกิดการจับจ่าย เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเน้นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี โดยไม่มีข้อกำหนดใด ๆในเรื่องขนาด ผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่เพิ่มทุกราย ล้วนแล้วอยู่ในข่ายที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการทั้งสิ้น
โครงการช้อปดีมีคืน เป็นการใช้เงินตัวเอง ในการซื้อสินค้า จากร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษีฉบับเต็มได้ จากนั้น ให้นำใบเสร็จมาลดหย่อนภาษีในปีหน้า โดยสามารถเริ่มใช้จ่ายได้ ในวันที่ 23 ตุลาคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นีคนที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ คือคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือมีรายได้ทั้งปีเกิน 310,000 บาท และต้องการซื้อหนังสือ, สินค้าโอทอป, ซื้อสินค้าจากชูเปอร์มาร์เกต ห้างสรรพสินค รวมทั้งซื้อสินค้าและบริการ จากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้
คนที่มีฐานภาษีอัตราสูง จะได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะจะได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้ามากกว่า เช่น หากซื้อสินค้า 10,000บาท คนที่มีฐานภาษี 5% จะได้ลดหย่อนภาษีเพียง 500 บาท ขณะที่คนมีฐานภาษี 30% จะได้ลดหย่อนภาษี 3,000 บาท ดังนั้นคนที่มีฐานภาษีไม่สูงมาก เช่น 5% หรือ10% อาจยอมเลือกเสียภาษีตามปกติ แล้วพิจารณาลงทะเบียนเข้าโครงการ คนละครึ่งแทน [ads]
การเข้าร่วมโครงการข้อปดีมีคืน เพื่อลดหย่อนภาษี ควรพิจารณาว่า จำเป็นต้องซื้อสินค้าเพื่อรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีมากน้อยแค่ไหนเพราะก่อนจะนำไปลดหย่อนได้ ต้องจ่ายเงินชื้อสินค้ามากกว่าส่วนลดภาษีที่จะได้รับ ดังนั้น หากตั้งใจจะซื้อสินค้าอยู่แล้ว ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ลดหย่อนภาษีไปในตัว แต่ถ้าไม่มีแผนจะใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ การไม่เข้าร่วมโครงการแล้วยอมเสียภาษีตามปกติ น่าจะช่วยให้ประหยัดเงินได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น คนที่จะได้รับภาษีคืนจากโครงการช้อปดีมีคืน เกิน 3,000 บาท ต้องมีรายได้ตั้งแต่ 500,000 บาทต่อปี และสูงขึ้นไป หรือคิดเป็นรายได้เดือนละ 4,667 บาท และต้องมีเงินช้อปสินค้า 30,000 บาทด้วย
advertisement
คนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือพ่อค้าแม่ค้าขนาดเล็ก ที่ประกอบกิจการขายสินค้าหาบเร่แผงลอย ที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลด่าเพิ่ม สำหรับโครงการคนละครึ่ง รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายเป็นค่าสินค้าต่าง ๆ ให้ครึ่งหนึ่งวงเงินคนละ 3,000 บาท โดย ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน "เป้าตัง" กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้จ่ายได้วันละ 150 บาทคิดเป็นมูลค่าสินค้า 300 บาท (อีก 150รัฐบาลออกให้)
ล่าสุดโครงการนี้ เปิดให้ร้านค้าลงทะเบียนไปแล้วเมื่อวันที่ ตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิ เตรียมลงทะเบียนได้ในวันที่ 16 ตุลาคม นี้ คนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด จากโครงการนี้คือ คนที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดเล็ก หาบเร่แผงลอย ตลาด ร้าน โชห่วย เป็นประจำ คนที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฯ หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ ต้องเสียภาษี คือ มีรายได้รวมทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาท หรือมีเงินเดือนเฉลี่ยไม่เกิน 25,833.33 บาท คนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือมีรายได้รวมทั้งปีเกิน 310,000 บาท แต่มีค่าลดหย่อนส่วนอื่น ๆ ที่ทำให้มีรายได้สุทธิไม่ถึง150,000บาท จึงไม่ต้องเสียภาษีในปี 2563 และเมื่อไม่ต้องเสียภาษี จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะใช้สิทธิมาตรการ ช้อปดีมีคืน ได้
ซึ่งจากโพสต์นี้ก็หวังว่าจะมีประโยชน์ สำหรับประชาชนหลายๆท่านที่มีสิทธิ์ในการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ ยังไงก็ลองพิจารณาดูกันนะคะว่าจะเลือกลงทะเบียนอันไหน ที่เหมาะกับเรามากที่สุด
ขอขอบคุณที่มาจาก : THE BANGKOK INSIGHT EDITORIAL TEAM