“สธ.”ห่วงประชาชนฉลองคริสต์มาส-ปีใหม่ กิน“ซีฟู๊ด-อาหารพื้นบ้าน”ไม่สุก ไม่สะอาด เสี่ยงท้องเสีย!!!
advertisement
กระทรวงสาธารณสุข ห่วงใยประชาชนที่จะฉลองคริสต์มาส เทศกาลปีใหม่ 2560 การรับประทานอาหารทะเลดิบหรือซีฟู๊ด อาหารพื้นบ้านที่ปรุงไม่สุก อาจป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง ในปี2559 พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ 1.2 แสนคน แนะอาหารต้องสะอาด ปรุงให้สุก สะอาด โดยเฉพาะยำหรือลาบแบบสุกๆ ดิบๆ ระหว่างเดินทางควรเลือกร้านที่อาหารสะอาด “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ควรพกยาแก้ท้องเสีย เช่น ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ยาลดกรดชนิดน้ำ ช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้
advertisement
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วงประชาชนในเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อร่วมฉลองวันคริสต์มาส วันหยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2560 ซึ่งส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้ออาหารจากตลาดสดมาปรุงเอง ซื้อจากร้านอาหาร หรือออกไปรับประทานนอกบ้าน โดยเฉพาะอาหารทะเลหรือซีฟู๊ด เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ปู หากกินแบบสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารพื้นบ้านตามท้องถิ่น หากปรุงไม่สุกพอ อาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ง่าย และโรคอาหารเป็นพิษตามมาได้[ads]
advertisement
นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารและน้ำ รวมถึงการตรวจสภาพสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการล้างตลาด แพปลา เรือหาปลา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรค ในกรณีที่เกิดการระบาดของโรค ได้ขอความร่วมมือให้จังหวัดเปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาติดตามสถานการณ์ และการดำเนินการควบคุมได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนได้ฉลองเทศกาลปีใหม่อย่างมีความสุข สุขภาพปลอดภัย
ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้ปรุงอาหาร ให้คำนึงความสะอาดและปรุงสุกด้วยความร้อนทั่วถึง อาหารที่เหลือเก็บต้องอุ่นให้ร้อนก่อนเสิร์ฟทุกครั้ง ผักผลไม้ ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้มีด เขียง หั่นวัตถุดิบและอาหารปรุงสุกร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค ดูแลภายในครัวให้สะอาด สำหรับผู้บริโภคขอให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ” หากกินอาหารประเภทปิ้งย่าง เช่น หมูกระทะ กุ้งกระทะ ขอให้ปิ้งให้สุกก่อน รวมถึงเมนูที่มักเป็นต้นเหตุของโรคอุจจาระร่วงเช่น ลาบ ก้อยหมูดิบ ก้อยปลาดิบ ยำกุ้งเต้น ยำหอยแครง ข้าวผัดโรยเนื้อปู อาหารหรือขนมที่ราดด้วยกะทิสด ขนมจีน ข้าวมันไก่ ส้มตำ สลัดผัก และน้ำแข็ง เป็นต้น โดยอาหารที่ปรุงใหม่ต้องไม่เกิน 4 ชั่วโมงก่อนรับประทาน
advertisement
สำหรับผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวหรือเดินทางกลับบ้าน หากแวะรับประทานอาหาร ขอให้เลือกร้านที่สะอาด รสชาติอร่อยที่ผ่านการรับรองโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และควรพกยาแก้ท้องเสียจำพวก ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ผงเกลือแร่ ยาลดกรดชนิดน้ำ ซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิดเม็ดติดตัวไปด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้[ads]
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2559-17 ธันวาคม 2559 พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ 128,558 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โรคอุจจาระร่วง 1,134,591 ราย เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้จะมีอาการใกล้เคียงกัน คือ มีอาการอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีไข้ได้ สามารถดูแลเบื้องต้นได้โดยให้ดื่มผงละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส ที่หาซื้อได้ง่ายในร้านขายยาทั่วไปโดยให้ดื่มแทนน้ำ หรืออาจปรุงดื่มเองโดยใช้น้ำต้มสุก 1 ขวดน้ำปลาใหญ่ประมาณ 750 ซีซี. ผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือแกงครึ่งช้อนชา ผสมให้เข้ากันทิ้งให้เย็นดื่มแล้วดื่มแทนน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ขอให้รีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข