ใครบ้าง..ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน!!
advertisement
โรคเบาหวาน นับเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เป็นสาเหตุให้เกิดอีกหลายโรคแทรกซ้อนตามมา อีกทั้งก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดงได้ แต่ก็น่าแปลกใจไม่น้อยว่าถึงแม้ทุกคนจะรู้ว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่น่ากลัว และมีผลแทรกซ้อนมากมาย แต่ในปัจจุบันสถิตการพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย ก็ไม่ได้น้อยลงแต่อย่างใดเลย ดังนั้นหากท่านคิดว่าโรคเบาหวานเป็นโรคไกลตัวแล้วนั้น ท่านคิดผิด เพราะเกือบทุกคนเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ใครบ้างไปดูกัน
[ads]
advertisement
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะมีลักษณะหรือปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
1. กรรมพันธุ์ คือมีพ่อแม่ หรือพี่น้อง หรือญาติสายตรง มีประวัติเคยป่วยเป็นโรคเบาหวาน
2. อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเช็คค่าของเลือดเป็นประจำ
3. อ้วน โดยมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 27 และ/หรืออ้วนลงพุง
4. เคยตรวจพบว่า มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงกว่าปกติ (IGT) หรือระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (IFG)
5. ความดันโลหิตมีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป หรือกำลังรับยาลดความดันโลหิตอยู่
6. มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ/หรือเอชดีแอลคอเลสเตอรอล น้อยกว่า 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
7. มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือมีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด แท้งบุตร บุตรเสียชีวิตในครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม ซึ่งอาจมาจากสาเหตุของโรคเบาหวานโดยที่ไม่รู้ตัว
8. มีประวัติของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดของขาและแขนตีบตัน
9. มีการใช้ยาที่อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ (thiazide) ยากันชักฟีนีโทอิน (phenytoin)
advertisement
10. มีภาวะดื้ออินซูลินที่พบร่วมกับโรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง (polycystic ovarian syndrome) หรือพบมีลักษณะดื้ออินซูลิน คือ ผิวหนังบริเวณลำคอหรือรักแร้ มีปื้นหนาสีคล้ำ (acanthosis nigrican)
11. มีนิสัยชอบทานของหวานๆ มันๆ รวมไปถึงอาหารรสจัดต่างๆ และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
12. ผู้ที่ดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด
แนวทางในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวานที่สำคัญ
– ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้ระดับแป้งและน้ำตาลในกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อจะย่อยสลายแป้งที่สะสมไว้ และดึงน้ำตาลจากเลือดเป็นแหล่งพลังงาน ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
– ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี ความอ้วนหมายถึง มวลไขมันที่มากเกิน ซึ่งจะมีผลทำให้ปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้ตัวรับอินซูลิน (insuline receptors) ที่ผนังเซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง)
– ระวังภาวะอ้วนลงพุง ควยคุมรอบเอวที่อยู่ในเกณฑ์ปกติพอดี คือ ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร เมื่อคีบหนังหน้าท้องไม่ควรเกิน 1 นิ้ว
– รับแสงแดดอ่อน ในช่วงตอนเช้า (ก่อน 8.30-9.00 นาฬิกา) หรือตอนเย็น (หลัง 16.00-16.30 นาฬิกา) วันละ 10-15 นาที หรือ ดื่มนมไขมันต่ำ เพื่อได้รับวิตามิน D หรือวิตามินรวมที่มีวิตามิน D เพื่อป้องกันภาวะวิตามิน D ต่ำ ภาวะวิตามิน D ต่ำ ทำให้ระดับแคลเซียมชนิดแตกตัวเป็นประจุ (ionized calcium) ในเลือดลดลง ซึ่งอาจกระตุ้นให้ต่อมพาราธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนมากขึ้น (พบว่า ฮอร์โมนนี้ในระดับสูงเพิ่มเสี่ยงภาวะดื้อต่ออินซูลิน)
advertisement
– ทานอาหารจำพวกแป้งขัดสี ควรเลือกกินข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท หรือแป้งที่ไม่ขัดสีมากกว่า ข้าวขาว เพราะร่างกายย่อยและดูดซึมได้ช้ากว่า ระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่ขึ้นสูงเร็ว ที่สำคัญต้องระวังปริมาณที่กินอย่าให้มากเกินไป โดยทั่วไปไม่ควรเกินมื้อละ 2-3 ทัพพี ยกเว้นในคนที่ทำงานหนักต้องใช้แรงมาก หรือเล่นกีฬา
– เน้นการกินผักและผลไม้ (รสไม่หวาน)ให้มากขึ้น เพราะใยอาหารสูงจึงช่วยให้กระบวนการย่อยและการดูดซึมเกิดขึ้นช้าๆ ร่างกายดูดซึมน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากนี้อาหารที่มีใยอาหารสูงทำให้อิ่มท้อง กินอาหารได้น้อยลง จึงช่วยในการลดน้ำหนัก ส่งผลให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น
– ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ และระวังไม่ใช้น้ำมันในการประกอบอาหารมากเกินไป การลดอาหารไขมันจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้อินซูลินทำงานดีขึ้น จึงควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น
– งดดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงโรคตับอ่อนอักเสบ (เป็นอวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้กินมาก และอ้วนลงพุงง่าย
– ไม่สูบบุหรี่
– กินอาหารให้ครบทุกหมู่
[ads]
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกิน การอยู่และการใช้ชีวิต ดังนั้นหากต้องการห่างไกลจากโรคเบาหวานแล้วล่ะก็ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้เป็นโรคเบาหวาน รวมถึงกระตุ้นโรค ดังที่เรามีมาแนะนำกันนั้น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานนะค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com